Array พื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้น

อาเรย์ (Array) คือ ประเภทของข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลประเภทเดียวกันแบบเป็นลำดับได้ โดยข้อมูลนั้นจะอยู่ในตัวแปรตัวเดียวกันที่เรียกว่า ตัวแปรอาเรย์ ข้อมูลแต่ละตัวของอาร์เรย์ จะเรียกว่า อีลีเมนต์(Element) และข้อมูลแต่ละอีลีเมนต์จะมีหมายเลขเพื่อใช้ในการอ้างอิงถึงเรียกตัวเลขนี้ ว่า เลขดัชนี (Index) จะเป็นตัวแปรที่ชื่อ เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงหมายเลข
2020.09.17

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

Array คืออะไร

อาเรย์ (Array) คือ ประเภทของข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลประเภทเดียวกันแบบเป็นลำดับได้ โดยข้อมูลนั้นจะอยู่ในตัวแปรตัวเดียวกันที่เรียกว่า ตัวแปรอาเรย์ เปรียบเสมือนว่าเราสร้างห้องขึ้นมาห้องนึงเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆในปริมาณมาก โดยข้อมูลแต่ละตัวของอาร์เรย์ จะเรียกว่า อีลีเมนต์(Element) และข้อมูลแต่ละอีลีเมนต์จะมีหมายเลขเพื่อใช้ในการกำกับตำแหน่งคือ เลขดัชนี (Index) ทำให้ถึงจะเป็นตัวแปรที่ชื่อเหมือนกัน แต่ก็จะแตกต่างกันตรงหมายเลขดัชนีที่กำกับไว้ จึงทำให้ตัวแปรอาเรย์นั้นมีประโยชน์อย่างมากในกรณีที่ต้องเก็บข้อมูลปริมาณมากเพราะสามารถเก็บทีละได้หลายจำนวน บวกกับง่ายต่อการนำออกไปใช้งานเพราะแต่ละข้อมูลถึงจะเป็นข้อมูลที่เหมือนกัน แต่มีตัวเลข index กำกับไว้อยู่เสมอดังนั้นจึงไม่ทำให้เกิดการสับสนของข้อมูล

ตัวอย่างเช่น

  • เราสร้างข้อมูล 3 ตัว โดยปกติจะต้องสร้างตัวแปร 3 ตัว เพื่อที่จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ดังรูปต่อไปนี้
    ซึ่งในกรณีที่ถ้าเราต้องเก็บข้อมูลทั้งหมด 10 รายการ การสร้างตัวแปรมาเก็บแยกในแต่ละตัวนั้นก็ดูจะเป็นวิธีที่ลำบากเกินไปและสิ้นเปลืองทรัพยากรโค้ดอีกด้วย ดังนั้นจึงมีการใช้งาน array เกิดขึ้นโดยผมจะยกตัวอย่างการเก็ฐข้อมูล 3 ข้อมูลนี้ โดยใช้ตัวแปรอาเรย์แทนนะครับ

    จะสังเกตได้ว่า ถ้าเทียบกับโค้ดก่อนหน้านี้แล้ว การใช้งานตัวแปรอาเรย์นั้น ง่ายและสะดวกในการเก็บข้อมูลมากกว่าในกรณีที่ข้อมูลเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน โดยใช้แค่การเขียนเพียง 1 บรรทัดเท่านั้น
  • ที่นี้เราจะมาดูโครงสร้างของตัวแปรอาเรย์กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถนำไปใช้งานได้


    จากที่เห็นดังรูปข้อมูลอาเรย์นั้น จะกำกับเลขดัชนีโดยเริ่มต้นจากเลข 0 ในกรณีที่มี element อยู่ในตัวแปรอาเรย์ทั้งหมด 3 ตัว ก็จะมีเลขดัชนี(index)ทั้งหมดในตัวแปรนั้นอยู่ด้วยกัน 3 ตำแหน่ง โดยเริ่มนับจาก 0->1->2 โดยกำกับว่า 0 คือค่า Rose , 1 คือ Violet และ ตำแหน่งที่ 2 คือ Tulip นั้นเอง

  • ที่นี้เราจะทำการดึงข้อมูลหรือ element ในตัวแปรอาเรย์ออกมาใช้งานกัน โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการกำหนดตัวเลขดัชนี (index) ให้กับข้อมูลอาเรย์นั้นๆ เพื่อเป็นการกำกับว่าต้องการดึงข้อมูลขนิดไหนออกมา ดังตัวอย่างตามภาพต่อไปนี้

สรุป

  • ทั้งหมดนี้ต้องการที่จะให้ผู้ที่สนใจในการเขียนโปรแกรมหรือการเก็บข้อมูล เข้ามาศึกษา และ ทำความเข้าใจตัวแปรอาเรย์ให้มากขึ้น โดยเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ของตัวอาเรยย์ เพื่อที่จะสามารถมองออกได้ว่า ในการเก็บและการดึงข้อมูลอาเรย์ไปใช้งานนั้น จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างและรูปแบบการเก็บข้อมูลของมันด้วย โดยเนื้อหาในบล้อคนี้อาจจะเป็นแค่เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับอาเรย์ แต่ในอนาคตข้างหน้าผมก็คาดหวังอย่างยิ่งว่าจะ สร้างบล็อกเกี่ยวกับอาเรย์ขึ้นมาในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นครับ หวังว่าเนื้อหานี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ขอบคุณครับ