AWS Knowledge ติวเข้ม Lesson 1

AWS Knowledge ติวเข้ม Lesson 1

เริ่มต้นจาก AWS คืออะไร ? AWS เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล สร้างโปรแกรม รันโปรแกรม มาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ เปรียมเสมือนว่า เราสร้างร้านกาแฟขึ้นมา ร้านกาแฟ คือ โปรแกรม ลูกค้า คือ Client (เรียกใช้งานข้อมูล) พนักงาน คือ Server (ตอบรับการเรียกใช้งานของ Client)
Clock Icon2021.09.01

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีครับตอนนี้ผมกำลังศึกษาเพื่อที่จะเตรียมสอบ AWS Certified Cloud Practitioner เลยคิดว่าอยากจะใช้การเขียนบล็อกเป็นช่องทางในการทบทวนความรู้และสรุปเนื้อหา พร้อมกับแบ่งปันให้กับคนที่สนใจเหมือนกันได้มาศึกษาเพิ่มเติมด้วย

Introduction to Amazon Web Services

เริ่มต้นจาก AWS คืออะไร ? AWS เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผล สร้างโปรแกรม รันโปรแกรม มาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ เปรียมเสมือนว่า เราสร้างร้านกาแฟขึ้นมา

  • ร้านกาแฟ คือ โปรแกรม
  • ลูกค้า คือ Client (เรียกใช้งานข้อมูล)
  • พนักงาน คือ Server (ตอบรับการเรียกใช้งานของ Client)

ทั้ง 3 อย่างนี้ถูกสร้างและใช้งานอยู่บน AWS โดยมี AWS ทำหน้าที่ให้จัดการระบบในการทำงานต่างๆ ซึ่งมีการประมวลผลที่อยู่ในรูปแบบ Cloud หรือเรียกว่า Cloud computing นั้นเอง

Cloud computing คืออะไร ?

คือพื้นที่ให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บข้อมูล หรือ การประมวลผลข้อมูล ทุกอย่างจะถูกใช้งานอยู่บนอินเทอร์เน็ต(On-Cloud) เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้งเครื่องมือต่างๆ รวมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานอีกด้วย และที่สำคัญคือมีความยืดหยุ่นในการใช้งานทำให้ในปัจจุบัน Cloud computing กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จุดเด่นของ Cloud computing คือ

  • Access services on demand (สามารถเพิ่มพื้นที่การใช้งานได้ตามปริมาณความต้องการของผู้ใช้)
  • Avoid large upfront investments (ลดค่าใช้จ่ายในลงทุน)
  • Provision computing resources as needed (มีการติดตั้งง่ายกว่า ถ้าเทียบกับแบบ On-premise)
  • Pay only for what you use (เสียค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงไม่ใช่แบบเหมาจ่าย)

โดยสามารถแบ่งการใช้งานออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้เรียกว่า Cloud computing deployment models

Cloud computing deployment models

จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

  • Cloud (ประมวลผลโปรแกรมและ Website ทั้งหมดบน Cloud)
  • On premise (คือเซิฟเวอร์ทั่วไปที่มีการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆอยู่ภายในไซต์งานหรือพื้นที่ที่กำหนดไว้)
  • Hybrid (บางส่วนใช้งานอยู่บน Cloud บางส่วนอยู่ใน On premise เช่น Front-end อยู่บน Cloud แต่ Back-end ทำงานอยู่ใน On premise)

และ AWS ก็ใช้ระบบ Cloud เป็นหลักจึงเกิดเป็น AWS Cloud ขึ้นมา

Cloud computing benefits

สรุปข้อดีทั้งหมดของ Cloud computing

Variable expenses

มีต้นทุนการใช้งานต่ำและยืดหยุ่น จ่ายตามการใช้งานจริงใช้งานมากน้อยแค่ไหนก็จ่ายเท่านั้น ต่างกับ Upfront expenses แบบที่เรารู้จักกันซึ่งจะเป็นการจ่ายและคำนวนพื้นที่ก่อนการใช้งานจริง ยกตัวอย่าง เช่น เราต้องการจะติดตั้งเซิร์ฟเวอร์มาใช้งานในบริษัท เราจำเป็นต้องเลือกสเปคและขนาดของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อที่จะซื้อและติดตั้ง แต่ในการใช้งานจริงอาจจะมีการใช้งานแค่ 20%-30% ของพื้นที่ทั้งหมดก็เป็นได้ นั้นเท่ากับว่าเงินที่เราเสียไปไม่คุ้มค่ากับที่เราใช้งานจริงเลย

Cost optimization

มีการจัดการค่าใช้จ่ายที่ดีและมีประสิทธิภาพด้วยการใช้งานบนระบบ Cloud ทำให้คุณสามารถนำเงินส่วนใหญ่มาพัฒนาโปรแกรมและการบริการลูกค้าให้บริษัทได้ แทนที่เราจะเสียเงินไปกับการดูแลรักษาเซิร์ฟเวอร์ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟ,ค่าสถานที่,และค่าบำรุ่งรักษาเซิร์ฟเวอร์ค่าใช่จ่ายทั้งหมดนี้จะหายไปเมื่อคุณใช้งาน Cloud computing

Capacity

ไม่จำเป็นต้องคาดเดาพื้นที่หรือปริมาณที่จะใช้งานจริง เพราะตัวระบบจะทำการคำนวนขนาดและพื้นที่พร้อมกับเพิ่มและลดขนาดพื้นที่ไปตามการใช้งานจริงหรือตามจำนวนการเข้าถึงของ client

Economies of scale

มีต้นทุนในการใช้งานถูก เพราะไม่จำเป็นต้องมีการซื้ออุปกรณ์และเช่าพื้นที่มาติดตั้ง เพราะทุกอย่างทำอยู่บนระบบ Cloud ทั้งหมดแล้ว

Speed and agility

มีความเร็วในการใช้งานสูง สามารถปรับเปลี่ยนขนาดพื้นที่การใช้งานได้ในหลักนาที กลับกันถ้าเรามีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองและต้องการใช้ขยายพื้นที่การใช้งาน เราจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์หรือ Hard disk มาติดตั้งเพิ่มเติมซึ่งจะใช้เวลามากในการติดตั้ง

Global in minutes

สามารถ Deploy เว็บไซต์หรือโปรแกรมมาใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ด้วย AWS ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก ถึงแม้ว่าตัวเว็บเราจะอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ที่ไกลจากผู้เรียกใช้ก็ตาม

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.