รีวิวงาน AWS re: Invent Recap 2023 – The Frugal Architect and Update
สวัสดีครับ ทุกคนสบายดีไหมครับ กลับมาเจอกันอีกครั้งกับเบนจ์—เบนจามิน โดยในวันนี้ครับผมจะมาเล่าถึงพาร์ทที่เหลือของงาน AWS re: Invent Recap 2023 ซึ่งได้แก่
- Modern Application and Development
- Data Analytics & GEN AI
- Infrastructure and Security
ต้องบอกก่อนเลยครับว่าทั้ง 3 หัวข้อด้านบนนี้มีแต่เนื้อหาเชิงเทคนิคทั้งนั้นเลย เซลล์ผู้ยังไม่เจนจัดเรื่อง Cloud อย่างผมจึงขออนุญาตแนะนำเซอร์วิสใหม่ ๆ ของแต่ละช่วงแบบรวบรัดครับ เพราะถ้าเล่าแบบละเอียดทั้งหมดบล็อกคงยาวมากแน่ ๆ ครับ ^-^' แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในมุมมองของธุรกิจมากเลยครับ นั่นคือ Frugal Architect ซึ่งผมจะขอเน้นเนื้อหาส่วนนี้เป็นพิเศษครับ อนึ่ง ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนยังไม่ได้อ่านพาร์ทแรกสามารถย้อนอ่านได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ครับ
รีวิวงาน AWS re: Invent Recap 2023 – Top Cloud Computing Trends 2024
ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนอ่านแล้ว เราไปต่อกับเนื้อหาส่วนที่เหลือกันดีกว่าครับ!!!
Modern App and Development
ในเซสชั่นนี้จะมีเนื้อหา 3 ส่วนครับคือ
- Design: Frugal Architect (ที่เราจะเน้นกันในบทความนี้)
-
Build: Tools to boost automation & developer productivity
-
Run: Containers and Serverless updates
Design: Frugal Architect
เป็นหลักกการในการออกแบบแอปพลิเคชันที่ดร.เวอร์เนอร์ โวเกลส์—Dr. Werner Vogels CTO ของ AWS ได้ออกแบบขึ้นมาครับ โดยส่วนตัวของผมคิดว่านอกจากจะนำมาใช้ในการออกแบบแอปพลิเคชันแล้ว เรายังสามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้เช่นกันครับ โดย Frugal Architect นี้มีองค์ประกอบ 3 ส่วนครับคือ 1.Design, 2.Measure, 3.Optimization
1.Design
แรกเริ่มของการ Design จะมี 3 ข้อที่เน้นในเรื่องความสำคัญและการจัดสรรต้นทุน (Cost) ให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชัน
- Cost is a Non-Functional Requirement: บ่อยครั้งเวลาเรารันแอปบนคลาวด์เรามักจะไม่ได้คิดเรื่องต้นทุน เราออกแบบระบบอย่างดี มีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม มีการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ แต่เราลืมคิดเรื่องต้นทุน นั่นจึงทำให้แอปเราเป็นแอปที่ดีจริงแต่ก็ต้องเจอกับภาระต้นทุนที่อาจสูงเกินคาดด้วยเช่นกัน ดังนั้นเวลาออกแบบระบบในทุกครั้ง อย่าลืมคิดเรื่องต้นทุนด้วยเพิ่มเข้าไปด้วยนะครับ
-
Systems that Last Align Cost to Business: แอปพลิเคชันที่เราออกแบบนั้นต้องจัดเรียง(สอดคล้อง)กับ Business ซึ่งหมายความว่าตุ้นทุนและรายได้ (Revenue) ต้องสอดคล้องไปในทางเดียวกัน หากเราสร้างระบบที่มีต้นทุนกับรายได้สวนทางกันก็จะทำให้เกิดในส่วนของ Loss นั่นเอง อาทิ เราตัดสินใจเพิ่มเซอร์วิสใหม่เข้าไปในแอปแต่เจ้าเซอร์วิสนั้นกลับไม่ได้มีส่วนเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ นั่นจึงทำให้ธุรกิจมีต้นทุนที่สูงกว่ารายได้ (ว่าง่าย ๆ ก็ขาดทุน) นั่นเองครับ ดังนั้นแอปหรือระบบที่มีการจัดสรรปันส่วนรวมถึงวางแผนต้นทุนไว้อย่างรัดกุม ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นใช้ทรัพยากรไปกับสิ่งเหมาะสมและคุ้มค่านั่นเองครับ
-
Architecting is a Series of Trade-Offs: ในส่วนของการออกแบบแอป เซอร์วิสแต่ละตัวที่เรานำมาใช้คือต้นทุนที่เราเสียไป ดังนั้นก่อนที่จะ Trade-Offs สิ่งใดในระบบก็ตามเราควรใคร่ครวญให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกใช้เซอร์วิสหรือทรัพยากรใด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต้นทุนที่จะเสียไปกลับมาเป็นแอปหรือระบบที่เหมาะสมกับธุรกิจและต้นทุนของเรามากที่สุดครับ
2.Measure
หลังจากการออกแบบระบบแล้ว การวัดค่าและตรวจสอบระบบแอปที่เราออกแบบไปนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันครับ ว่าผลลัพธ์ที่ได้มาจะแม่นยำตามที่เราออกแบบไว้จริงหรือเปล่า และถ้าไม่ จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง?
- Unobserved Systems Lead to Unknown Costs: ในส่วนนี้คือตรงตัวเลยครับ ระบบที่ไม่มีการตรวจสอบจะนำไปสู่ต้นทุนนิรนาม! เพราะบ่อยครั้งการออกแบบระบบมักจะมีต้นทุนที่ไม่รู้จักงอกออกมาให้กังวลอยู่เสมอเลยใช่ไหมครับ “เอ๊ะ มันมายังไงนะ, ก็ตั้งค่าถูกนี่นา” ซึ่งมันจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหมหากมีเครื่องมือที่คอยลดข้อกังวลใจในส่วนนี้ให้กับเรา
-
Cost-Aware Architectures Implement Cost Controls: จาก pain point ในข้อที่แล้ว เราต้องสร้างวิธีในการที่จะรู้ให้ได้ว่าต้นทุนที่ใช้สร้างแอปพลิเคชั่นนั้นจะมีปริมาณเท่าไร ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราสามารถควบคุมต้นทุนเหล่านั้นได้นั่นเองครับ แหม่ ปูทางมาขนาดนี้ใช่เลยครับ AWS เขาออกเซอร์วิสใหม่เพื่อคอยตรวจสอบดูแลการเกิดต้นทุนนิรนามอย่างรัดกุมซึ่งนั่นคือ
-
Amazon Management Console myApplication เครื่องมือที่คอยสังเกตการณ์ต้นทุนของแอปให้อยู่ในภาพเดียว โดยมีทั้งข้อมูลในส่วนของต้นทุน health security posture, performance ของแอป
- Amazon CloudWatch Application Signals เป็น Dashboard ที่คอยติดตามประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันให้ตรงตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เช่น หากในระบบของเรามี operation หนึ่งที่ทำงานไม่ถูกจุด เราสามารถตรวจสอบและแก้ไขให้ดีขึ้นผ่านการเครื่องมือนี้เพื่อให้ Operation นั้นทำงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
3.Optimization
หลังจากที่เราสามารถตรวจสอบระบบได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการลดต้นทุนในระบบที่ไม่จำเป็นออกให้เหลือเพียงแค่ต้นทุนที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของเราเท่านั้นครับ
- Cost Optimization is Incremental: หลังจากที่เราสามารถตรวจสอบต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการสร้างแอปพลิเคชันได้แล้ว สิ่งที่เราจะทำต่อไปคือการตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น (Waste) ออกจากการออกแบบของเราครับ ซึ่งขอย้ำครับว่า เราไม่ได้นำออกเพียงเพราะให้ค่าใช้จ่ายของเราถูกลง แต่คอนเซปต์ของการ Optimization นั้นคือการคัดสรรครับ คัดแยก และจัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับระบบของเรา ซึ่งสามารถช่วยให้เรามั่นใจได้เลยว่าต้นทุนที่ใช้ไปในแอปพลิเคชันนั้นถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเองครับ โดย AWS เขาก็มี Service ที่ชื่อว่า Unified Billing and Cost management ที่ช่วยสรุปการทำ Cost Optimization Task ว่ามีจุดไหนที่สามารถลดต้นทุนได้บ้างให้ผู้ใช้งานได้เลือกพิจารณาด้วยครับ
- Unchallenged Success Leads to Assumption: ในส่วนของหัวข้อนี้ฟังดูอาจจะงง ๆ หน่อยครับแต่ว่าการมีใครสักคนหนึ่งคอยให้คำแนะนำในการทำ Cost Optimization ก็ดีกว่าไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ เพราะบางครั้งการคิดคนเดียวอาจจะทำให้เราพลาดในบางส่วนหรือลืมคิดในบางส่วนไป ซึ่ง AWS เขาเตรียม Cost Optimization Hub ที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยคอยให้คำแนะนำสำหรับการทำ Cost optimization, การ Rightsizing ให้กับทรัพยากรบนระบบแอปพลิเคชันของธุรกิจเรานั่นเองครับ
Build: Tools to boost automation & developer productivity
ในส่วนนี้พูดถึงเซอร์วิสใหม่ ๆ ที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับการออกแบบแอปพลิเคชันให้ง่ายยิ่งขึ้นครับ อาทิ
- CodeWhisperer ที่ช่วยในการเขียน Code ได้ง่ายขึ้น
- Console to Code ที่เหมาะzผู้ที่ยังไม่ชำนาญกับ AWS CDK เพราะ Service นี้จะช่วยในการเปลี่ยนข้อมูลจาก Console ให้เป็น Code ครับ
Run: Containers and Serverless updates
จะเป็นการอัปเดตถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ของเซอร์วิสที่ให้บริการ Container และ Serverless ครับ
โดยในส่วนของ Container จะมีการอัปเดตเซอร์วิสจำพวก
- ECS Runtime Monitoring ช่วยในเรื่องของการสร้างความปลอดภัยให้กับ ECS Cluster ผ่านการทำงานร่วมกับ Amazon GuardDuty
- EKS Pod Identity จะช่วยในการสร้าง IAM สำหรับแอปที่รันบน cluster ของ Amazon EKS
ในฝั่งของ Serverless เองก็จะมีเซอร์วิสที่คุ้นชื่ออย่าง Lambda Scales ที่เร็วขึ้นอีก 12 เท่า และเพิ่มการสเกลได้มากถึง 1,000 ตัว/10วินาทีเมื่อเทียบกับฟังก์ชันก่อนที่ทำได้แค่ 500 และยังลดปัญหา noisy neighbour อีกด้วยครับ
Data Analytics & GEN AI
เนื้อหาในส่วนนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ครับคือ Data Analytics และ GEN AI
โดยในส่วนของ Data Analytics มีการนำเสนอ Service ใหม่ ๆ อาทิ
- Amazon RDS for Db2
-
Amazon Aurora Limitless Database ที่เน้นเรื่อง Comprehensive
-
Amazon Neptune Analytics ในฝั่งของการ Integrated
-
Amazon Redshift Serverless with AI-driven scaling and optimization ทางด้านของ Deep Learning
-
Amazon DataZone จากด้าน Governed
ในด้านของ GEN AI จะมีการแนะนำให้เรารู้จักกับ Service มากมายที่มีการนำ AI มาใช้ อาทิ
- Amazon Bedrock ที่มีฟังก์ชันในการทำ Image Generator เช่น การทำ text-to-image alignment ที่เป็นการ generate ภาพจากการเขียน code หรือการทำ Image Customization เพื่อปรับรูปภาพให้มีรูปแบบตรงตามที่เราต้องการ
- Amazon Q ซึ่งเป็น AI Service ที่คอยทำหน้าที่เหมือนผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำและข้อมูลต่าง ๆ บน AWS Service และที่สำคัญเลยคือ Amazon Q มีฟังก์ชันที่จะไม่ตอบหรือเสนอข้อมูลที่เป็นความลับให้กับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงอีกด้วย! เรียกได้ว่าเป็นการใช้ AI ที่คำนึงถึงเรื่อง Governance เป็นอย่างดีเลยนะครับ
Infrastructure Innovation
ในส่วนของเซสชั่นนี้จะเน้นในเรื่องของการแนะนำเครื่องมือตัวใหม่ ๆ สำหรับด้าน Infrastructure จาก AWS ครับ ซึ่งมีทั้ง Instance สำหรับการประมวลผล, Networking, Storage, Security เป็นต้นครับ
โดยในส่วนของ Instance ใหม่ ๆ จะมีอาทิ
- Graviton 4 ที่มี Core มากกว่า Graviton 3 ถึง 50%
-
Intel-Based Instance ที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ เช่น M7i-Flex เน้นในเรื่อง Cost optimization เป็นต้น
-
AMD-Based Instance มีความเหมาะสมสำหรับระบบที่ต้องใส่ใจเรื่องราคาเป็นพิเศษ อาทิ C7a, G4ad เป็นต้นครับ
และที่สำคัญ งานในครั้งนี้ AWS เริ่มมีการเอ่ยถึง New Region ที่กำลังจะมีในประเทศไทยบ้างแล้วนะครับ (ใคร ๆ ต่างก็รอคอยเธอ)
ก่อนจากกันไป
ขอบคุณทุกท่านมากครับที่อ่านมาจนจบ และนี่คือเนื้อหาของงาน AWS re: Invent Recap 2023 ที่ผมพยายามจะแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้เห็นถึงมุมมองธุรกิจที่แฝงอยู่ในการทำงานของพวกเขาชาว AWS ต้องบอกจากใจจริงเลยครับว่าแม้ว่างานจะจัดเพียงแค่ 2 ชั่วโมงแต่ก็มีเนื้อหาที่อัดแน่นขนาดนี้ แล้วงาน AWS re: Invent ของจริงล่ะจะมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่พรั่งพรูออกมามากขนาดไหนกัน! (พูดแล้วก็อยากหาโอกาสไปงานจริงที่ Las Vegas บ้างนะครับ แฮะๆ ^-^) พนักงานขายอย่างผมที่ยังไม่เข้าใจ AWS Cloud มากเท่าไรยังว้าวขนาดนี้ ผมว่าวิศวกรที่ศึกษา AWS อยู่น่าจะโปรดปรานงานนี้ยิ่งกว่าผมเป็นแน่เลยครับ ในท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณทางทีม true IDC และ AWS ที่จัดงานดี ๆ แบบนี้ให้กับคนที่กำลังศึกษาคลาวด์อย่างผมให้เข้าใจและว้าวมากยิ่งขึ้นกับ AWS Cloud ครับ
สำหรับวันนี้ ขอพระเจ้าอวยพรทุกคนครับ ^-^