ลองใช้งาน AWS Trusted Advisor

ลองใช้งาน AWS Trusted Advisor

บทความนี้จะมาแนะนำบริการ AWS Trusted Advisor คืออะไร และพาไปสำรวจวิธีใช้งานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

AWS Trusted Advisor คือ

เป็นเครื่องมือที่ AWS จัดเตรียมไว้เพื่อให้คำแนะนำแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยให้เราปรับใช้งานทรัพยากรบน AWS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหมวดหมู่ที่ให้คำแนะนำนั้นอิงมาจาก Best prectices มีดังนี้

การตรวจสอบ 6 หมวดหมู่

  • การเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน (Cost Optimization)
  • ประสิทธิภาพการทำงาน (Performance)
  • ความปลอดภัย (Security)
  • ความทนทานของระบบ (Fault Tolerance)
  • ขีดจำกัดการบริการ (Service Limits)
  • ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน (Operational Excellence)

หากต้องการเข้าถึงการตรวจสอบทั้งหมดจำเป็นเลือกแผนเป็น Business หรือ Enterprise Support

ประโยชน์ที่ได้รับ:

  • ลดค่าใช้จ่ายโดยการระบุทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
  • เพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบ
  • ป้องกันการเกินขีดจำกัดของบริการ
  • พัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น

โดยในแต่ละหมวดหมู่จะมีผลการตรวจ (check summary) อยู่ 4 ระดับ

AWS Trusted Advisor-0

  • Action recommended (red) – Trusted Advisor แนะนำให้ดำเนินการแก้ไขสำหรับรายการที่ตรวจสอบ
  • Investigation recommended (yellow) – Trusted Advisor ตรวจพบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นสำหรับรายการที่ตรวจสอบ
  • No problems detected (green) – Trusted Advisor ไม่พบปัญหาสำหรับรายการที่ตรวจสอบ
  • Excluded items (gray) – จำนวนรายการตรวจสอบที่มีการยกเว้น เช่น ทรัพยากรที่คุณต้องการให้ข้ามการตรวจสอบ

สำรวจแต่ละหมวดหมู่

Cost Optimization

หมวดหมู่นี้จะเน้นไปที่การทำให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย
สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับหมวดหมู่นี้เลยคือ มีการบอกค่าใช้จ่ายที่สามารถประหยัดได้ ในกรณีที่เราทำตามคำแนะนำ

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Amazon RDS Idle DB Instances : Database ที่สร้างมาไม่ได้ถูกใช้งาน
  • Inactive VPC interface endpoints : VPC ที่ไม่ได้ใช้งาน

AWS Trusted Advisor-6

Performance

เป็นหมวดหมู่ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำให้มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Amazon EFS Throughput Mode Optimization : การเพิ่มประสิทธิภาพรับส่งข้อมูลของ Amazon EFS
  • Amazon Route 53 Alias Resource Record Sets : ตั้งค่า record set ให้เหมาะสม

AWS Trusted Advisor-7

Security

หมวดหมู่นี้ให้คำแนะนำเรื่องการทำให้บัญชีมีความปลอดภัย

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Amazon Inspector Lambda code scanning should be enabled : เปิดใช้งาน Amazon Inspector Lambda code scanning
  • Amazon RDS storage encryption is turned off : การ encryption ของ RDS ถูกปิดใช้งาน

AWS Trusted Advisor-8

Fault tolerance

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความทนทานของระบบในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Amazon EBS Snapshots : Snapshot มีอายุมากเกินไป
  • Amazon RDS DB instances have storage autoscaling turned off : storage autoscaling ถูกปิดการใช้งาน

AWS Trusted Advisor-10

Service Limits

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับขีดจำกัดของแต่ละบริการ

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Auto Scaling Groups : มีการใช้งาน Auto Scaling Group ถึงขีดจำกัด
  • Auto Scaling Launch Configurations : ใช้งาน Auto Scaling Launch Configuration ถึงขีดจำกัด(Auto Scaling Launch Configurations เป็น template ที่ใช้สร้าง EC2 ไว้ใช้งานใน Auto Scaling Group)

AWS Trusted Advisor-9

Operational Excellence

ให้คำแนะนำเพื่อให้ดำเนินงานไปอย่างดีเยี่ยม

ตัวอย่างของคำแนะนำที่ปรากฏในหมวดหมู่นี้ก็จะมี

  • Amazon RDS Enhanced Monitoring is turned off : RDS Enhanced Monitoring ถูกปิดใช้งาน
  • Amazon S3 Server Access Logs Enabled : S3 ไม่ได้เปิดใช้งานการเข้าถึง log

AWS Trusted Advisor-11

ทดลองทำตาม Check summary

เข้ามาที่คอนโซลของ AWS Trusted Advisor
ในหน้านี้จะเป็นการสรุป Checks summary จากทั้ง 6 หมวดหมู่ และบอกค่าใช้จ่ายที่จะประหยัดเพิ่มเติม หากทำตามคำแนะนำของ AWS Trusted Advisor ด้วย

AWS Trusted Advisor-1
ในหน้านี้จะเป็นการสรุป Checks summary จากทั้ง 6 หมวดหมู่ และบอกต้นทุนที่จะประหยัดเพิ่มเติม หากทำตามคำแนะนำของ AWS Trusted Advisor ด้วย

ซึ่งในบทความนี้ผมจะทดลองทำในหมวดหมู่ Cost optimization

AWS Trusted Advisor-2

เลือกหัวข้อที่ต้องการจะแก้ไข โดยในบทความนี้จะเลือกเป็น Unassociated Elastic IP Addresses ซึ่งมีสถานะเป็น Investigation recommended

ในหน้านี้จะบอก

  • Alert Criteria : สาเหตุที่ไม่ตรงตามเกณฑ์
  • Recommended Action : คำแนะนำเพื่อแก้ไข โดยคำแนะนำบอกว่าให้นำ EIP ไปเชื่อมกับ EC2 ที่กำลังทำงานอยู่ หรือไม่ก็ลบทิ้ง
  • Additional Resources : resource ที่ไม่ตรงตาม Best practice

AWS Trusted Advisor-3

ทดลองลบ EIP ที่ AWS Trusted Advisor แจ้ง แล้วกลับมาตรวจสอบที่หัวข้อ Unassociated Elastic IP Addresses

AWS Trusted Advisor-4

จะเห็นว่า หัวข้อ Unassociated Elastic IP Addresses เปลี่ยนสถานะเป็น No problems detected แล้ว

AWS Trusted Advisor-5

สรุป

บริการ AWS Trusted Advisor ถือว่าเป็นบริการที่สำคัญมากๆ ซึ่งจะคอยให้คำแนะนำตาม Best practice ทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และการทำให้ security ตาม compliance ทำให้บัญชีของเรามีประสิทธภาพและลบช่องโหว่ลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.