การสร้าง Microsoft Windows Server ใน Amazon EC2

Amazon EC2 ที่รัน Microsoft Windows Server เป็นสภาพแวดล้อมที่รวดเร็วและเชื่อถือได้สำหรับการปรับใช้แอปพลิเคชันโดยใช้ Microsoft Web Platform Amazon EC2 ช่วยให้คุณสามารถเรียกใช้โซลูชันที่ใช้ Windows ที่เข้ากันได้บนแพลตฟอร์มการประมวลผลบนระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อถือได้ คุ้มค่าต่อการใช้งานด้วย AWS

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

โดยสามารถดูบทความใหม่ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ ↓ (Updated 2022.11.08)

ครั้งนี้ ผมจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับการสร้าง Windows Instance

การสร้าง Key Pairs

ค้นหา?︎ EC2» เลือกEC2
Search-EC2

คลิกKey Pairs
KP-1

คลิกCreate key pair
KP-2

ใส่ชื่อที่ต้องการในช่อง Name เช่นwindows-tinnakorn» คลิกCreate key pair
KP-3

หลังจากสร้าง Key Pair เสร็จแล้ว ไฟล์.pemจะถูกดาวน์โหลดมาที่คอมพิวเตอร์และชื่อไฟล์จะเปลี่ยนไปตามที่เราได้ตั้งชื่อไว้โดยอัตโนมัติ
KP-4-2

การสร้าง Windows Instance

ค้นหา?︎ EC2» เลือกEC2
Search-EC2

คลิกInstance
Instance-select

คลิกLaunch instances
Ins-win-1

Step 1: Choose an Amazon Machine Image (AMI) คือ Instance จะมีเซิร์ฟเวอร์ให้เลือกใช้มากมาย เช่น macOS, Red Hat, SUSE Linux, Ubuntu, Microsoft Windows, Debian เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะใช้ Microsoft Windows Server 2019 Base ในการติดตั้ง

» คลิกSelect
Ins-win-2

Step 2: Choose an Instance Type คือ เราสามารถเลือก Type CPU Memory ที่จะนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ ไม่ว่าเว็บไซต์จะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถเลือกขนาดความจุของ CPU Memory ได้ตามความเหมาะสม

» เลือก Family =>t3a| Type =>t3a.medium| vCPUs =>2| Memory =>4(สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ)
» คลิกNext: Configure Instance Details
Ins-win-3

Step 3: Configure Instance Details » คลิกNext: Add Storage
Ins-win-4

Step 4: Add Storage คือ ในส่วนของ Size (GiB) เราสามารถเพิ่ม Storage ได้ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 30GB

» คลิกNext: Add Tags
Ins-win-5

Step 5: Add Tags » คลิกNext: Configure Security Group
Ins-win-6

Step 6: Configure Security Group คือ การตั้งค่า My IP เพื่อจำกัดการเชื่อมต่อ RDP จากทุกตำแหน่ง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้สามารถเชื่อมต่อ RDP จาก My IP (ที่อยู่ IP ปัจจุบันของคุณ) ได้เท่านั้น

» เปลี่ยนชื่อ Security group name เพื่อไม่ให้สับสนกับผู้ใช้ของคนอื่น เช่นwindows-tinnakorn(ค่าเริ่มต้นจะเป็นชื่อlaunch-wizard-1)
» เลือก Source:My IP
» คลิก Review and Launch
Ins-win-7

Step 7: Review Instance Launch » คลิกLaunch
Ins-win-8

ในส่วนของ POPUP ให้ทำตามขั้นตอนด้านล่าง
» Select a key pair:windows-tinnakorn | RSA(ให้เลือก key pair ที่สร้างไว้ตอนแรก key pair)
» คลิก Checkbox
» คลิกLaunch Instances
Ins-win-9

ถ้ามีข้อความแจ้งเตือนสีเขียวเหมือนรูปภาพด้านล่างนี้ เท่ากับว่าการสร้าง Instance เสร็จสิ้น จากนั้นให้คลิกView Instances
Ins-win-10

หลังจากสร้าง Instance เสร็จแล้ว ให้สังเกตคำว่า Status Checks จะเห็นว่ามีสถานะเป็น? Initializingคือ Instance กำลังทำการสตาร์ทระบบขึ้นมานั่นเอง
Ins-win-11

ขั้นตอนต่อไปให้ตั้งชื่อ Instance ตามขั้นตอนด้านล่าง
» คลิกที่สัญลักษณ์ ? ตามรูป
» Edit Name:windows-tinnakorn(ใส่ชื่ออะไรก็ได้)
» คลิกSave
Ins-win-12

การเชื่อมต่อกับ Instance เพื่อเข้าใช้งาน Windows ผ่านไฟล์ RDP

คลิกInstance IDของเรา
Ins-win-13

คลิกConnect
Ins-win-14

ในส่วนของConnect to instanceจะเป็นการ Download remote desktop file และ Get password
» เลือกหัวข้อRDP client
» คลิกDownload remote desktop fileแล้วตัวไฟล์จะถูกดาวน์โหลดมาที่คอมพิวเตอร์และเป็นชื่อตาม Instance ของเราโดยอัตโนมัติ
» คลิกGet password
Ins-win-15

ในส่วนของ Get Windows password ต้องรอประมาณ 5 นาทีจนกว่าการเริ่มต้นระบบของ Windows จะเสร็จสมบูรณ์ จึงจะสามารถทำขั้นตอนถัดไปได้
Get windows password

คลิกBrowse(เป็นการเพิ่มไฟล์.pemเข้ามายัง Instance เพื่อ Generate Password ขึ้นมา)
Ins-win-16

มาที่ไฟล์.pemที่สร้างมาจาก Key pair (ของผมจะเป็นชื่อwindows-tinnakorn.pem) จากนั้นคลิกOpen
Ins-win-17

คลิกDecrypt Password
Ins-win-18

จะเห็นว่ามี Password ขึ้นมาแล้ว
Ins-win-19

กลับมาที่ไฟล์remote desktopที่ดาวน์โหลดมาจาก Instance ของเรา (ของผมจะเป็นชื่อwindows-tinnakorn.rdp) จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ได้เลย
Ins-win-20

คลิกConnect
Ins-win-21

ในส่วนนี้เราต้องใส่ Password ที่ Generate ใน Instance เมื่อสักครู่นี้
Ins-win-22

กลับมาที่ Instance ของเรา จากนั้น Copy Password ตามรูปได้เลย
Ins-win-23

นำ Password ที่ Copy มาจาก Instance แล้ววางในช่อง Administrator เพื่อ Login เข้ามาใน Windows Server
Ins-win-24

คลิกYes
Ins-win-25

เมื่อทำการ Login เข้ามาแล้ว ก็จะมีหน้าตาเป็น Windows Server 2019 เหมือนกับรูปด้านล่าง
Ins-win-26

การ Terminate Instances และ Delete Security Groups กับ Key Pairs

การลบ Instance จะเป็นการลบโดยการ Terminate แล้วภายใน 1 ชั่วโมงสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ แต่ถ้าครบ 1 ชั่วโมงแล้ว Instance ก็จะหายไปจาก EC2

เมื่อทำการ Terminate Instance เสร็จแล้วก็ต้องไปลบ Sercurity Group ที่ถูกสร้างมาจาก Instance และต้องลบ Key pair ที่เป็น Key หรือกุญแจของ Instance ออกด้วย

วิธีการลบง่ายๆ ให้ทำตามหัวข้อถัดไปได้เลย

Terminate Instance

ค้นหา?︎ EC2» เลือกEC2
Search-EC2

คลิกInstance
Instance-select

» ค้นหาชื่อ Instance ของเรา เช่น ?︎ windows-tinnakorn+ Enter
» คลิก Checkbox
» คลิกInstance state ▼
» เลือกTerminate instance
T-I-1

คลิกTerminate
T-I-2

รอจนกว่าจะขึ้นคำว่าTerminatedจึงจะเสร็จสิ้น
T-I-3

Delete Security Groups

* ต้องรอให้การ Terminate เสร็จสิ้นก่อน จึงจะทำการ Delete Security Groups ได้

เลือกSecurity Groups
T-I-4

» ค้นหาชื่อ Security Groups ของเรา เช่น ?︎ windows-tinnakorn+ Enter
» คลิก Checkbox
» คลิกActions ▼
» เลือกDelete security groups
T-I-5

คลิกDelete
T-I-6

Delete Key Pairs

» ค้นหาชื่อ Key Pairs ของเรา เช่น ?︎ windows-tinnakorn+ Enter
» คลิก Checkbox
» คลิกActions ▼
» เลือกDelete
T-I-7

พิมพ์ในช่องว่า Delete จากนั้นคลิกDelete
T-I-8

สรุป

เราสามารถเลือกใช้งาน EC2 Instance ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Amazon Linux 2 มาเพื่อแสดงเว็บไซต์ หรือจะเป็นการสร้าง Windows Server ที่เป็น Visual Windows หรือวินโดว์เสมือน ก็สามารถทำได้เช่นกัน และการทำงานของ EC2 Instance นั้น ก็มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากๆ