AWS Region, Availability Zone และ Edge Location คืออะไร

บล็อกนี้จะอธิบายถึงคอนเซ็ปต์ของ Region, Availability zone และ Edge location แบบง่าย ๆ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ AWS ว่าคืออะไรและเกี่ยวข้องอย่างไรกับการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ของ AWS ค่ะ

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีค่ะทุกคน ปีใหม่ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้างคะ วันนี้หยกจะพาทุกท่านมารู้จักกับ AWS หรือ Amazon Web Service กันมากขึ้น โดยเฉพาะหลาย ๆ คนที่เพิ่งเริ่มทำความรู้จักกับ AWS นั้นคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ของรีเจี้ยน (Region), Availability Zone และ Edge Location ดังนั้นในวันนี้หยกจะมาอธิบายคอนเซ็ปต์คร่าว ๆ ของสามสิ่งนี้ให้ฟังกันค่ะ

Region คืออะไร

Region หรือ รีเจี้ยน คือ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ AWS ได้กำหนดขึ้นมาเอง แต่ละรีเจี้ยนนั้นได้ถูกแบ่งกระจายออกไปทั่วโลก ปัจจุบันมีรีเจี้ยนทั้งหมด 26 แห่งโดยรีเจี้ยนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุดคือ รีเจี้ยนสิงคโปร์ นอกจากนั้นแล้ว AWS มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนรีเจี้ยนให้มากขี้นอีกในอนาคต

ตัวอย่าง Region ที่มีในปัจจุบัน

  • London, United Kingdom
  • Tokyo, Japan
  • Sydney, Australia
  • Mumbai, India
  • Cape town, South Africa
  • Oregon, United Stage

จะเห็นได้ว่ามีรีเจี้ยนอยู่เกือบทั่วทุกทวีปในโลกเลยค่ะ เมื่อเริ่มต้นใช้งานหรือเปิดบัญชีของ AWS แล้วนั้น ผู้ใช้สามารถเลือก
รีเจี้ยนที่ต้องการเพื่อใช้บริการของ AWS ได้อีกด้วย การที่มีรีเจี้ยนหลายแห่งนั้นเป็นเพราะ AWS ต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้อย่างยืดหยุ่นและรวดเร็ว รวมไปถึงในแต่ละพื้นที่นั้นค่าบริการก็จะแตกต่างกันไปตามเศรษฐกิจและค่าเงินของแต่ละประเทศอีกด้วยค่ะ ยกตัวอย่างในรีเจี้ยนเวอร์จีเนียนั้นมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่ารีเจี้ยนสิงค์โปร์เป็นต้นค่ะ

Availability Zone คืออะไร

Availability Zone หรือ AZ คือ ศูนย์ข้อมูล (Data centers) ที่อยู่ในรีเจี้ยนอีกที โดยในหนี่งรีเจี้ยนนั้นจะมีโซนอย่างน้อย 3 โซนหรือมากกว่านั้น ขณะนี้มี Availability zones ทั่วโลกทั้งหมด 84 โซน และแต่ละโซนจะอยู่ห่างกัน 50 – 200 กิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกันแบบ Low Latency หรือก็คือแแบบเวลาแฝงต่ำ ซึ่งทำให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเกิดการดีเลย์น้อยมากขณะใช้งาน นอกจากนั้นแล้วในกรณีที่มีโซนใดโซนหนึ่งเกิดความเสียหาย อีก 2 โซนที่เหลือก็ยังสามารถใช้งานได้โดยไม่กระทบต่อการรันระบบต่าง ๆ และลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของข้อมูลได้อีกด้วยค่ะ

Edge Location คืออะไร

Edge location นั้นถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือศูนย์เซิร์ฟเวอร์ของ AWS ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยจะถูกติดตั้งให้กระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใกล้ศูนย์เซิร์ฟเวอร์นี้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในเมืองสำคัญของประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงกรุงเทพในประเทศไทยของเราด้วยค่ะ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ในปัจจุบันมี Edge location มากกว่า 300 แห่งบนโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มกราคม 2022) นอกจากนั้นแล้ว Edge Location ยังเชื่อมต่อไปยังโซนและรีเจี้ยนด้วยเครือข่ายแบบ private ของ AWS เกิดเป็นระบบเครือข่ายของ AWS ที่ชื่อว่า AWS Global Network ซึ่งเป็นการเชื่อมกันระหว่างรีเจี้ยน โซน และ Edge Location ด้วยความเร็วสูง และยังมีช่องทางเชื่อมต่อสำรองเอาไว้เพื่อความมั่นคงเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจทำให้กระทบต่อการรับส่งข้อมูลอีกด้วย

มีบริการของ AWS หลายอย่างที่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของ Edge location ยกตัวอย่างเช่น Amazon CloudFront เป็นเครื่องมือแสดงเว็บไซต์ (Web cash server) ซึ่งทำงานโดยการเก็บข้อมูลไฟล์เว็บไซต์ไว้ที่ Edge location ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก เมื่อผู้ใช้งานเว็บไซต์เข้าถึงเว็บไซต์จากที่ใดก็ตาม จะสามารถเรียกนำข้อมูลจาก Edge location ที่ใกล้ที่สุด มาแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน วันนี้ที่หยกมาอธิบายเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ Region, Availability Zone และ Edge Location ของ AWS ทุกคนเริ่มเข้าใจภาพรวมของสามสิ่งนี้กันมากขึ้นมั้ยคะ หยกเองก็เพิ่งเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับ AWS เมื่อไม่นานมานี้เอง เลยอยากจะมาแชร์ให้ทุกคนอ่านและเข้าใจแบบง่าย ๆ ไปด้วยกันค่ะ หยกคิดว่าสามสิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญหลัก ๆ ของ AWS ที่ทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงและรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยค่ะ และเพื่อการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้นในประเทศไทย ในอนาคตหยกก็หวังว่า AWS จะเปิดตัวจีเรี้ยนกรุงเทพเร็ว ๆ นี้นะคะ

แหล่งอ้างอิง

aws.amazon.com (Global Infrastructure)

techtalkthai.com (ทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการเปิดตัว AWS EDGE LOCATION ในประเทศไทย)

youtube.com (AWS Training Center: EC2 – Video 1 – Understanding Regions and Availability Zone (AZ))

doc.aws.amazon.com (Regions and Availability Zones)

aws.amazon.com (Amazon CloudFront Key Features)