“Web 3.0 คืออะไร”คำถามสำคัญสำหรับเทคโนโลยีในวันนี้

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

ทุกวันนี้มีการพูดคุยกันมากมายเกี่ยวกับ Web 3.0 และในอนาคตอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงแม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้อยู่ในวงการเทคโนโลยีแต่ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ WEB 3.0 ว่าทำไมถึงได้รับการพูดถึงมากมายขนาดนี้ เพราะสิ่งที่ใหม่กว่ามักเกิดขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของสิ่งที่เก่ากว่า ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องของ Web 3.0 เรามาทำความรู้จักรุ่นก่อนหน้ากันว่ามีอะไรบ้าง

Web1.0

เริ่มตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2004 เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคแรก โดยนักพัฒนาเว็ปไซต์จะนำเสนอบริการทางออนไลน์ได้แล้ว เว็บไซต์จะประกอบด้วยเนื้อหาคงที่เท่านั้น (static content) เช่น ข้อความ และ รูปภาพ โดยผู้ใช้งานจะสามารถดูเนื้อหาได้อย่างเดียวเท่านั้น

ตัวอย่าง Web 1.0 : เว็ปไซต์กับข่าวสาร , เว็ปไซต์เกี่ยวกับข้อมูลบริษัท เป็นต้น

Web2.0

อินเทอร์เน็ตยุคนี้เป็นยุคที่เรากำลังใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน Web 2.0 จะเน้นการสื่อสารในรูปแบบชุมชน (community) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสื่อสาร ระหว่างกันได้โดยนอกจากจะเป็นผู้อ่านแล้วผู้ใช้งานยังสามารถสร้างคอนเทนต์ผ่านผู้ให้บริการในแพลตฟอร์มต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักพัฒนาก็ได้อย่างเช่น คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าวิดีโอที่คุณลงไว้จะถูกจัดเก็บไว้ที่ไหนคุณแค่ลงเนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆเท่านี้เนื้อหาของคุณก็พร้อมส่งไปยังผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกแล้ว

ตัวอย่าง Web 2.0 : facebook , youtube เป็นต้น

หลายท่านอาจจะบอกว่า "ฉันไม่มีปัญหาอะไรกับเว็บในปัจจุบันมันให้อิสระกับทุกคนในการสร้างสิ่งต่างๆทำให้การโต้ตอบกันง่ายขึ้นแถมยังใช้งานง่ายมากแล้วทำไมฉันถึงต้องใช้ Web 3.0" จากคำถามนี้ต้องบอกว่ามีข้อบกพร่องใน Web 2.0 บางอย่างที่อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นฟังก์ชันที่ขาดไม่ได้ แต่เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่มีการควบคุมในส่วนนี้ และโลกในปัจจุบันก็มีการตระหนักถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากขึ้นซึ่ง Web 3.0 คือความหวังใหม่สำหรับเรื่องนี้ นอกจากนี้ด้วย Web 2.0 เป็นระบบการรวมศูนย์ (centralized) ทำให้มีความกังวลอยู่เสมอว่าเนื้อหาของเราอาจถูกเข้าถึงจากองค์กรบางแห่งที่สามารถควบคุมได้ (เช่น รัฐบาล เป็นต้น) ซึ่งทำให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์มีความซับซ้อนมากขึ้น

Web 3.0 คืออะไร?

Web 3.0 มีการกระจายอำนาจเป็นแกนหลัก นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณสมบัติที่มุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้วยเช่น

Verifiable : ตรวจสอบได้
Trustless : ไม่พึ่งพาตัวกลาง
Self-governing : อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วม
Permissionless : ทุกคนสามารถเข้าถึงเครือข่ายและข้อมูลด้วยสิทธิ์เท่ากัน
Distributed and robust : เป็นระบบกระจายข้อมูลหากมีใครในระบบขัดข้องระบบก็ยังทำงานต่อได้
Stateful : การเก็บสถานะ
Native built-in payments : มีระบบชำระเงินพร้อมอยู่แล้วในระบบ

บน Web 3.0 นักพัฒนาจะไม่ปรับใช้แอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์คลาวด์รายเดียวหรือไม่จัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวและอาจไม่ได้เก็บไว้ในฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมอีกเลย โดยแอปพลิเคชัน Web 3.0 จะทำงานบน Blockchain ที่เป็นเครือข่ายกระจายอำนาจที่มีโหนดเพียร์ทูเพียร์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนี่เป็นโปรโตคอลการเข้ารหัสที่อยู่นอกขอบเขตและการควบคุมของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แอปพลิเคชันเหล่านี้จึงถูกเรียกว่า " dapps " (Decentralized applications : แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ)

เนื่องจากนักพัฒนาต้องการให้ผู้ใช้หันมาใช้โปรโตคอลของตนเองมากขึ้นจึงต้องการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการแก่ผู้ใช้ สิ่งจูงใจเหล่านี้มาในรูปแบบของ *cryptocurrencies (หรือ Token)ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละโปรโตคอลว่าจะมีการใช้งานอย่างไร โดยผู้ใช้บริการจะชำระเงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้โปรโตคอลนี้และค่าธรรมเนียมจะส่งไปถึงผู้สนับสนุนเครือข่ายโดยตรงโดยไม่ผ่าน **CSPs (ที่มักเกิดขึ้นใน web2.0) โดยพื้นฐานโครงสร้างของโปรโตคอลส่วนมากจะมี สิ่งที่เรียกว่า ***utility token ซึ่งกำหนดวิธีการทำงานของระบบ โดยจะเป็นให้รางวัลแก่ผู้ร่วมให้ข้อมูลของระบบ โดยผู้ที่มี token ก็จะสามารถมีสิทธิออกเสียงในการพัฒนาและข้อเสนอต่างๆได้และเมื่อผู้คนสามารถออกเสียงก็หมายความว่าแพลตฟอร์มจะไม่ขึ้นอยู่กับคนใดคนหนึ่ง แต่จะขึ้นอยู่กับผู้คนที่ถือ token ด้วยเหตุนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า Web 3.0 คือการกระจายอำนาจที่แท้จริง

*cryptocurrencies คือ สกุลเงินที่ถูกเข้ารหัสเพื่อป้องกันและยืนยันธุรกรรมผ่านระบบ Blockchain เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

**CSPs (content hosting or application-service providers)
คือ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น หรือ บริการจับคู่เนื้อหา ตัวอย่างเช่น Google, Facebook, Flickr เป็นต้น

***utility token คือ เป็นแต้มหรือเหรียญชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือในการรับบริการเช่น บางโปรเจคหรือบางแอพลิเคชั่นกำหนดว่าจำเป็นต้องใช้โทเค่นตามที่กำหนดในการแลกสินค้าบริการ

การชำระเงินในเว็บ 3.0

ในปัจจุบันหากคุณต้องการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้บริการที่ไม่ใช่ของธนาคาร คุณต้องใช้แอปยอดนิยม เช่น PayPal เป็นต้น แต่แอปเหล่านี้ไม่สามารถโอนเงินของคุณได้จนกว่าจะมีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ แต่ถ้าอยู่ใน Web 3.0 คุณสามารถซื้อ Token ที่คุณเลือกและใช้กระเป๋าเงิน (เช่น *metamask) เพื่อจัดเก็บ Token ของคุณเมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการรับเงินเพียงแค่ระบุที่อยู่กระเป๋าเงินของคุณซึ่งจะไม่เปิดเผยตัวตนและจะไม่จำเป็นต้องมีแอปเพื่อเข้าถึงบัญชีธนาคารของคุณอีกด้วย

*MetaMask เป็นกระเป๋าเงินสินทรัพย์ดิจิทัล เป็น Wallet สำหรับเก็บเหรียญคริปโต

ข้อมูลประจำตัวในเว็บ 3.0

เนื่องจาก Web 3.0 ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และการปกป้องข้อมูลเป็นอย่างมาก ใน Web 2.0 เราใช้วิธีการตรวจสอบสิทธิ์ เช่น*OAuth สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลประจำตัว ฯลฯ ใน Web 3.0 ข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้คือที่อยู่ของกระเป๋าเงิน โดยกระเป๋าเงินจะไม่เปิดเผยหรือจัดเก็บข้อมูลของเจ้าของ ดังนั้นผู้ใช้สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตัวตนได้ตราบเท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม หากมีการเชื่อมต่อข้อมูลประจำตัวกับกระเป๋าเงินข้อมูลนี้จะถูกแชร์ผ่านเครือข่ายและหาก Dapp ใดเข้าถึงกระเป๋าเงินของคุณได้แล้วพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวตนจริงของคุณในโลกแห่งความเป็นจริงได้เช่นกัน

*OAuth (Open Authentication) คือมาตรฐานที่ใช้ในการยืนยันตัวตนและการตรวจสอบสิทธิ์โดยเป็นการให้เจ้าของข้อมูล ยินยอมให้แอพพลิเคชั่นเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น การล็อกอิน JOOX ด้วย Facebook หรือ ล็อกอิน CANVAS ด้วย Gmail account เป็นต้น

สรุป

หัวข้อที่เกี่ยวกับ Web 3.0 ยังมีอีกมากมายกว่านี้ครับ ในปัจจุบันอาจยังไม่เห็นภาพชัดเท่าไหร่แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในทุกๆวัน ยุคของ Web 3.0 ที่แท้จริงก็อาจจะอยู่อีกไม่ไกลแล้วครับ