4 เทคนิคลดค่าใช้จ่าย AWS แบบไม่ต้องปรับโครงสร้างระบบ

4 เทคนิคลดค่าใช้จ่าย AWS แบบไม่ต้องปรับโครงสร้างระบบ

อยากใช้ AWS ราคาประหยัดแต่ไม่รู้จะต้องทำยังไง เชิญรู้จักกับเทคนิคลดค่าใช้จ่าย AWS แบบไม่ต้องปรับโครงสร้างระบบทั้งหมด

สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาเจอกันอีกแล้วในบทความ AWS นะคะ ในครั้งนี้แพรจะมาแนะนำเทคนิคลดค่าใช้จ่าย AWS ภายในองค์กรให้กับผู้ใช้งาน AWS ที่ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายพุ่งสูงขึ้นแบบไม่รู้สาเหตุค่ะ โดยบทความนี้แปลมาจากภาษาญี่ปุ่นในหัวข้อ AWSのコストを削減するための4つの方法~システム構成を変えない対策術~ ซึ่งมีการปรับเนื้อหา รวมถึงภาษาบางส่วนให้เข้าใจง่ายขึ้น และอาจมีบางจุดที่แตกต่างจากเนื้อหาต้นฉบับเล็กน้อย

ถ้าอยากรู้วิธีใช้งาน AWS ในราคาประหยัดแล้วละก็ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ!

องค์กรที่ใช้ระบบคลาวด์ กับค่าใช้จ่าย AWS ที่ต้องเผชิญ

ในปัจจุบัน กระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือ Digital Transformation (DX) กำลังเร่งให้ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐานสำหรับการพัฒนา และดำเนินงานไปสู่ระบบคลาวด์
AWS เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่พร้อมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย อย่าง AI และ IoT ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเปิดตัวบริการใหม่ๆ และการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบ Agile

แต่ภายหลังจากใช้งาน AWS ไปแล้ว ผู้ใช้อาจประสบปัญหาค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวได้ ทั้งๆที่เลือกย้ายจากระบบ On-Premise มาใชระบบคลาวด์ ก็เพื่อที่จะลดต้นทุนลง และสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายบานปลายมักเกิดจากการที่ผู้ใช้ไม่ได้ปรับโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน จนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่คาดไว้นั่นเอง

ดังนั้น เพื่อที่จะลดต้นทุน AWS อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างจากการใช้ Amazon EC2 เป็นศูนย์กลาง ไปสู่การใช้บริการการจัดการของ AWS ที่มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนสูงแทน (เช่น Amazon RDS สำหรับ Database และ AWS Lambda สำหรับบริการรันโค้ดแบบ Event-driven)

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงข้างต้น จำเป็นจะต้องมีการออกแบบระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยน และอาจเกิดความเสี่ยงค่อนข้างเยอะ ทำให้การดำเนินการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

ในบทความนี้ แพรเลยอยากจะมาแนะนำถึงวิธีลดค่าใช่จ่าย โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบในปัจจุบัน ดังนั้นแล้ว สำหรับใครที่กำลังคิดไม่ตกกับค่าใช้จ่ายที่พุ่งสูงอยู่ บทความนี้ช่วยคุณได้แน่นอนค่ะ

วิธีควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างง่าย โดยใช้โครงสร้างระบบเดิมทั้งหมด

แม้ว่าผู้ใช้งานจะยังคงใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบเซิร์ฟเวอร์เสมือนเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายได้โดยการใช้ประโยชน์จากตัวเลือกส่วนลดต่างๆ จาก AWS และลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลงได้
ก่อนอื่นผู้ใช้ควรวิเคราะห์ และเข้าใจค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ต่อมาจึงพิจารณาว่าสามารถปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแผนการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ได้หรือไม่

1. เข้าใจค่าใช้จ่ายปัจจุบัน

ก่อนอื่นเลย การ Visualization หรือการทำให้เห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน จะช่วยให้เราเห็นถึงปัญหา และจุดที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้
ต่อจากนี้จะอธิบาย 4 ฟังก์ชันสำหรับการตรวจสอบค่าใช้จ่ายบน AWS ให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

Billing and Cost Management

Billing and Cost Management เป็นฟังก์ชัน Dashboard แสดงค่าใช้จ่าย ซึ่งถือเป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการต้นทุนได้ในแต่ละบัญชี (แต่ในบางองค์กร อาจไม่มีการมอบสิทธิ์การเข้าถึงให้กับผู้รับผิดชอบ)
คอนโซลนี้ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่าย และสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของแต่ละบริการได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ระบุรายการที่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นเอง

image (7)

Add a heading

Cost Explorer

Cost Explorer คือฟังก์ชันการประมาณการณ์ราคาโดยพิจารณาถึงงบประมาณการใช้ AWS ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้งานในแต่ละเดือนได้โดยง่าย ซึ่งในระหว่างการใช้งาน ผู้ใช้สามารถประเมินค่าใช้จ่ายในอนาคตและวางแผนลดค่าใช้จ่ายลงได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ฟังก์ชัน Filtering ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย จากหลายๆ มุมมองได้ด้วยเช่นกัน

3

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cost Explorer และวิธีการตั้งค่าได้ใน วิธีการแจ้งเตือนค่าใช้จ่ายการใช้งาน AWS ใน Slack ทุกวัน

AWS Cost Allocation Tags

ผู้ใช้สามารถจัดระเบียบทรัพยากรภายในบัญชีได้อย่างละเอียด และสามารถดูค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้ตามแท็ก (Tag) การจัดสรรต้นทุนในฟังก์ชัน Cost Explorer

4

AWS Budget

AWS Budget เป็นฟังก์ชันช่วยจัดการดูแลงบประมาณค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถวางแผนงบประมาณได้อย่างชัดเจน โดยจะเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับงบประมาณที่มี
ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้อีกด้วย แถมยังมีฟังก์ชันแจ้งเตือนเมื่อค่าใช้จ่ายเกินกว่างบที่ตั้งค่าเอาไว้

ศึกษาการตั้งค่า AWS Budget เพิ่มเติมได้ที่ การตั้งค่าแจ้งเตือน AWS Budgets ไปที่ slack

2. การปรับเปลี่ยน EC2 Instance ได้อย่างยืดหยุ่น

การปรับเปลี่ยน Instance Type ใน AWS ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าใช่จ่ายลงได้ เพราะการที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างยืดหยุ่นนั้น ถือเป็นจุดเด่นของ AWS ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ช่วงเวลาที่มี หรือไม่มีแคมเปญ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุดของระบบ (Peak time) รวมถึงการตรวจสอบเป็นประจำว่า Instance ในปัจจุบันเหมาะสมแล้วหรือไม่ ถือเป็นวิธีการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการปรับขนาดตามช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด การหยุดทำงานในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน และการปรับแต่งระบบให้เหมาะสมกับความเป็นจริง จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนของ AWS ได้เป็นอย่างดี

บทความเพิ่มเติม

3. การใช้ประโยชน์จาก Reserved Instance

วิธีการชำระเงินของบริการ EC2 Instance มีอยู่หลักๆ 3 ประเภท ผู้ใช้ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับช่วงเวลา และสถานการณ์การใช้งาน

  • On-Demand Instance
    การซื้อแบบมาตรฐาน โดยคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนวินาทีที่ใช้งาน
  • Spot Instance
    การซื้อ Instance ล่วงหน้าในราคาถูก
  • Reserved Instance
    การจอง และซื้อ Instance ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1-3 ปีในราคาส่วนลด

Reserved Instance เป็นการซื้อ Instance แบบจองล่วงหน้าในปริมาณมาก ทำให้ได้รับส่วนลดมากตามไปด้วย โดยจุดเด่นของระบบคลาวด์ ก็คือความยืดหยุ่นในการปรับแต่งระบบ และลบ Instance ได้ตามต้องการ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใช้มักจะใช้งาน Instance ขนาดเดียวกันเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการซื้อ Instance แบบจองล่วงหน้า (Reserved Instance) จะคุ้มค่ากว่าการซื้อแบบ On-Demand Instance

นอกจากนี้ ระบบการจัดการค่าใช้จ่ายของ AWS ยังสามารถแนะนำปริมาณ และประเภทของ Instance ที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ได้ โดยระบบจะคำนวณค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อเดือน โดยประเมินจากการใช้ Reserved Instance เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่อยากเข้าใจ Reserved Instances ให้มากขึ้นสามารถเข้าไปเยี่ยมชมบทความ แนะนำวิธีใช้ AWS ให้ถูกลงด้วย Reserved Instances ได้เลยนะคะ

4.Savings Plans

นอกจาก Reserved Instance แล้ว ยังมีแผนการใช้งานที่คล้ายกันคือ Savings Plans ซึ่งเป็นแผนการใช้งานที่ให้ส่วนลดสำหรับค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมง โดยอิงจากการใช้งานปัจจุบัน ผู้ใช้จะต้องเลือกจองเวลาในการใช้งานล่วงหน้า ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 ถึง 3 ปี
ระบบจัดการค่าใช้จ่ายของ AWS จะแสดงคำแนะนำเกี่ยวกับ Savings Plans โดยจะแสดงค่าใช้จ่ายต่อเดือน และจำนวนค่าใช้จ่ายส่วนที่ลดลง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจว่าตัวเองเหมาะสมที่จะใช้ Savings Plans หรือไม่

สำหรับความแตกต่างระหว่าง Reserved Instance และ Saving Plan สามารถอ่านได้ในบทความ Saving Plan vs. Reserved Instance บน AWS ต่างกันยังไง บล็อกนี้มีคำตอบ!

ลดต้นทุน AWS กับ Classmethod

จัดระเบียบค่าใช้จ่าย AWS ในปัจจุบัน ลดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก สนับสนุนการใช้งาน AWS อย่างเต็มรูปแบบ บริการเหล่านี้มีที่ "Classmethod Members" หรือ บริการสนับสนุนการใช้งาน AWS อย่างครอบคลุมจาก Classmethod

เราจะวิเคราะห์การใช้งาน AWS ของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในส่วนที่เปล่าประโยชน์ และเสนอแนวทางการปรับปรุงแผนการใช้ การปรับขนาด Instance การปรับโครงสร้าง ฯลฯ
สำหรับผู้ที่กังวล หรือมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย AWS Classmethod เรายินดีให้คำแนะนำเสมอเลยค่ะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ

この記事をシェアする

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.