AWS Local Zones ของกรุงเทพ เปิดให้ใช้งานแล้ว! เลยลองสร้าง EC2 Instance ดู (ap-southeast-1-bkk-1a)
ด้านล่างนี้เป็นลิ้งค์ประกาศของ AWS เกี่ยวกับการเปิดตัว Local Zone ของกรุงเทพ(Bangkok)ครับ
Instance Type ที่ใช้ได้ในกรุงเทพ และ ค่าใช้จ่าย
ก่อนอื่นมาดู Instance Type ที่ใช้ได้ในกรุงเทพ และ ค่าใช้จ่าย กันครับ
https://aws.amazon.com/ec2/pricing/on-demand/
รายละเอียดในหน้าค่าใช้จ่าย
key | value |
---|---|
Location Type | AWS Local Zone |
Local Zone | Thailand (Bangkok) |
Operating system | Linux |
จะเห็นว่ามี m5.2xlarge, c5.2xlarge, g4dn.2xlarge, r5.2xlarge ที่สามารถใช้งานได้ครับ
เมื่อลองเปรียบเทียบราคา m5.2xlarge ของ Singapore ดู จะเห็นได้ว่าของกรุงเทพ(Bangkok) แพงกว่าของ Singapore ครับ
แต่ว่ามีประกาศจาก AWS ว่าในอนาคตจะมี Thai Region ผมก็หวังว่าเรื่องราคาน่าจะถูกลงกว่านี้นะครับ
นอกจากนี้เมื่อดู Local zone ของ US จะเห็นได้ว่าสามารถใช้ง่าน Instance ขนาดอื่นๆอย่าง t3.medium, t3.xlarge ได้ด้วย ก็หวังว่าอนาคตจะใช้ Instance Type เหล่านี้ใน Local Zone หรือ Region ของไทยได้นะครับ
การตั้งค่าให้สามารถใช้ Local Zone ได้
ก่อนอื่นให้เปิดหน้าต่าง EC2 ใน AWS Management Console แล้วไปที่หัวข้อ EC2 Dashboard ที่อยู่ด้านซ้ายมือ แล้วกดที่ Zones
ที่อยู่ด้านขวามือครับ
จะเห็นว่า Thailand (Bangkok) - ap-southeast-1-bkk-1a เป็น Disable อยู่ ให้ทำการเปลี่ยนโดยเลือกที่ปุ่ม Manage
ครับ
แล้วเลือก Enable
ตามในภาพแล้วกด Update Zone Group
ครับ
จะมีหน้าต่างตรวจสอบเด้งขึ้นมาให้พิมพ์ Enable แล้วกด OK
เมื่อกลับมาที่หน้าเมื่อกี้อาจจะเห็นว่าเป็น Disabel อยู่ต้องรอสักพักแล้วทำการ Reload หน้าเว็บอีกครั้งจะเห็นว่าเป็น Enable แล้วครับ
การสร้าง subnet สำหรับ Local Zone ใน VPC
เข้าไปที่ VPC แล้วเลือก Subnet จากเมนูด้านซ้าย ให้ตรวจสอบว่ามี Subnet ที่เป็น default VPC อยู่ 3 อัน แล้วกด Create Subnet
ครับ
VPC ID ให้เลือก default VPC ครับ
ในช่อง Subnet name จะใส่อะไรก็ได้ ซึ่งในที่นี้ผมจะใส่เป็น "default-subnet-bkk-1a" ครับ
Availability Zoneให้เลือกเป็น "Thailand (Bangkok) / ap-southeast-1-bkk-1a" ครับ
IPv4 CIDR Block ให้ใส่ "172.31.48.0/20" ครับ ซึ่งนี่เป็น Address ที่ไม่ได้ซ้ำกับ Subnet ที่เป็น default VPC ทั้ง 3 อันเมื่อกี้ครับ
กด Create subnet
ครับ
ให้ตรวจสอบ Subnet ของ ap-southeast-1-bkk-1a ที่สร้างเสร็จแล้ว
สร้าง EC2
ในหน้า EC2 ให้กด Launch Instance ครับ
รายละเอียดของ Instance ผมใส่ตามด้านล่างนี้ครับ
key | value |
---|---|
Name | keisuke-localzone-test |
AMI | Amazon Linux 2 AMI |
Instance Type | m5.2xlarge |
KeyPair | keisuke-localzone-test |
Instance Type จะสามารถเลือกได้แค่ Instance Type ที่แสดงอยู๋ในหน้าค่าใช้จ่ายของ Thailand (Bangkok) เท่านั้นครับ (m5.2xlarge, c5.2xlarge, g4dn.2xlarge, r5.2xlarge)
ในส่วนของ Network Setting จะขออธิบายอย่างละเอียดครับ
ในหัวข้อ Network Setting ให้กด Edit ครับ
VPC เลือก Default
Subnetให้เลือก ap-southeast-1-bkk-1a Subnet ที่สร้างเมื่อกี้
Auto Assign Public IPให้เลือก Enable ครับ
Securiuty Group กับ Descriptionให้เขียนตามที่ต้องการซื่งผมจะเขียนเป็น "keisuke-localzone-test" ครับ
แล้วให้ตั้งค่า IP Address ในการเชื่อมต่อ SSH เป็น IP Address ของตนเองครับ
Type: ssh
Source type: My IP
การตั้งค่าอย่างอื่นให้เป็น Default ที่มีอยู่แล้ว แล้วกด Create Instance ครับ
ทำการตรวจสอบ EC2 Instance ap-southeast-1-bkk-1a ที่เราสร้างขึ้นครับ
ตรวจสอบว่า EC2 Instance อยู่ที่ไหนจาก IP Address
ให้ใช้เว็บด้านล่างนี้ ในการตรวจสอบ IP Address โดยก็อบปี้ Public IP ของ EC2 Instance ที่เราสร้างขึ้นไปวาง
โดยที่เห็นในภาพ เป็น Public IP ของ EC2 Instance ap-southeast-1-bkk-1a ที่เราสร้างขึ้นครับ จะเห็นได้ว่า Instance อยู่ที่กรุงเทพครับ
เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ภาพด้านล่างนี่เป็น Public IP ของ EC2 Instance ที่สร้างใน Singpore ครับ
ใช้ Ping ตรวจสอบความเร็ว
เพื่อลองวัดความเร็ว เราจึงใช้ command Ping
ในการตรวจสอบความเร็วจากคอมพิวเตอร์เราไปถึง EC2 Instance ครับ
โดยต้องทำการอนุญาต ICMP Access ใน SecurityGroup ของ EC2 Instance ก่อน ถึงจะสามารถทำได้ครับ
โดยที่เห็นอยู่ด้านล่างนี้เป็น Ping จาก Office ของ Classmethod Thailand ที่อยู่ในกรุงเทพครับ
ap-southeast-1-bkk-1a (Bangkok)
ap-southeast-1-bkk-1a ใช้เวลา 5ms ap-southeast-1a ใช้เวลา 30ms ในการเข้าถึง ซึ่งก็เห็นได้ชัดนะครับว่า เร็วขึ้นเยอะเลย
การที่ Bangkok Local Zone ของ AWS เปิดอยู่ ก็ทำให้มีแนวโน้มที่ไทยจะใช้ AWS ได้ง่ายขึ้นครับ เดี๋ยวสักพัก Region ของไทยก็มา ผมคิดว่าคงจะได้เห็นอะไรที่น่าสนใจกันต่อจากนี้อีกครับ(แล้วถ้ามีก็จะเอามาเขียนเป็นบทความแบบนี้อีกครับ)