รวมแหล่งข้อมูล AWS Tutorial ต่างๆ สำหรับเรียน AWS ด้วยตนเอง

2022.07.20

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สำหรับใครที่อยากจะลองใช้งานหรือเรียนรู้เกี่ยวกับ AWS แต่ว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มเรียนที่ไหน
วันนี้ ผม ต้า จะมาแนะนำแหล่ง Tutorial สำหรับเรียนเกี่ยวกับ AWS ด้วยตนเองครับ
สำหรับใครที่เป็นมือใหม่อยากได้แหล่งข้อมูล Tutorial สำหรับเรียนเกี่ยวกับ AWS ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณครับ
(บทความนี้เป็นเนื้อหาของ วันที่ 20 เดือน กรกฎาคม 2022 ครับ)

อันที่แนะนำสำหรับมือใหม่สุดๆ แบบไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับ AWS เลย คืออันนี้ครับ ของดีแถมท้าย
ส่วนใครที่อยากลองลงมือทำด้วยตัวเองตาม Tutorial ผมขอแนะนำอันนี้เลย dev.classmethod.jp #thai-language

AWS hands-on tutorials

Hands-On Tutorials for Amazon Web Services (AWS) English
บทแนะนำสอนการใช้งานสำหรับ Amazon Web Services (AWS) Thai

  • มีแบบเรียนภาษาไทยมีทั้งหมด 76 หัวข้อ
  • มีแบบเรียนภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 165 หัวข้อ
  • มีการแบ่งแบบเรียน(hands-on) ออกเป็น Theme ต่างๆ ในหมวดภาษาอังกฤษ จะมี Content Type: Getting Started Guides ที่จะสอนวิธีการเริ่มใช้งาน Service ต่างๆ ตั้งแต่การสร้าง Account AWS(เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ไหนดี) และ Content Type: How-To Guides ที่จะสอนวิธีการใช้งาน Service ต่างๆ ตามหัวข้อ และสุดท้ายจะมี Content Type: Video
  • ในหมวดภาษาไทยจะมีแบ่งประเภทเนื้อหาออกเป็น การฝึกปฏิบัติจริง(How-To Guides) และวิดีโอ เท่านั้น
  • มีการเขียนบอกระยะเวลาในการทำ(มีตั้งแต่ 10 นาที จนถึง หลายชั่วโมง)
  • มีการเขียนว่า FREE TIER ซึ่งทำให้เราทราบว่า จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำ Tutorial หรือไม่
  • เหมาะสำหรับมือใหม่
  • สำหรับมือใหม่ๆสุด ผมแนะนำให้ลองดู How to Setup Your Development Environment for AWS | Introduction ซึ่งเป็นวิธีการเริ่มต้นตั้งแต่การสร้าง Account AWS และหลังจากเสร็จแล้วให้ลองดู Deploy a Web Application on Amazon EC2 | Introduction ซึ่งเป็นวิธีการสอนวิธีการใช้งาน EC2 ซึ่งเป็น Serivce เบสิกของ AWS (2 ตัวนี้ไม่มีภาษาไทย)
  • หรือใครอยากทำแบบภาษาไทย ก็ขอแนะนำ เปิดใช้งาน Linux Virtual Machine ด้วย Lightsail ซึ่ง Tutorial นี้ใช้เวลาแค่ 10 นาทีก็เสร็จแล้ว
ชื่อ:
AWS hands-on tutorials
จำนวนเนื้อหา: เยอะมาก
ภาษาที่สอน: ส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษ, บางอันภาษาไทย
ความละเอียดในการสอน: มีภาพมีขั้นตอน ถ้าอ่านดีๆไม่น่าพลาด แต่ภาพประกอบบางอย่างเก่าแล้ว ตอนทำอาจจะงงๆ
UX ต่างๆ: มีบอกว่าใช้เวลาเท่าไร ฟรีไหม ค้นหาได้ง่าย
เหมาะสำหรับ: มือใหม่

Free Tier

Free Tier คือ ส่วนการทดลองใช้งาน Service ของ AWS ที่เปิดให้ใช้งานฟรี ซึ่งจะมี Service อะไรกันบ้างสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง

AWS Thai Blog

AWS Thai Blog

  • เหมาะสำหรับสายอ่านที่ต้องการอัพเดทข่าวสารของ AWS ในรูปแบบภาษาไทย
  • ไม่ค่อยมี Tutorial
  • มีภาษาไทย (หากต้องการภาษาอื่นสามารถกดปุ่มขวาบนเพื่อเปลี่ยนภาษาได้ (ภาษาอื่นอาจจะมีเนื้อหาเยอะกว่า))
  • ความยากง่ายคละกันไป
  • อาจจะไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะไม่รู้ว่าต้องเริ่มที่ไหน
ชื่อ:
AWS Thai Blog
จำนวนเนื้อหา: ค่อนข้างเยอะ อัพเดทเรื่อยๆ
ภาษาที่สอน: ภาษาไทย
ความละเอียดในการสอน: เป็นการอัพเดทข่าวสารมากกว่าการสอน
UX ต่างๆ: สามารถ Search ค้นหาได้
เหมาะสำหรับ: คละระดับ

AWS Workshops

AWS Workshops

  • แบบฝึกแบบจริงจัง เนื้อหาอัดแน่น ทำแล้วเอาไปใช้จริงได้เลย
  • มีแค่ภาษาอังกฤษ
  • มีจำนวนแบบฝึก ณ ปัจจุบันคือ 350 Workshop
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ AWS อยู่แต่เดิมแล้ว มีความรู้ระดับกลางจนถึงสูง (มีบางส่วนที่เหมาะสำหรับมือใหม่บ้าง)
  • แบบฝึกแต่ละอย่างถูกสร้างเองโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนง
  • ใช้เวลาทำหลักชั่วโมงขึ้นไป
ชื่อ:
AWS Workshops
จำนวนเนื้อหา: เยอะมากๆ
ภาษาที่สอน: ส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษ, ไม่มีภาษาไทย
ความละเอียดในการสอน: มีภาพมีขั้นตอน สอนค่อนข้างละเอียดมาก มีการเขียนอธิบายไว้ทุกขั้นตอนว่าต้องกดตรงไหนทำอะไร มีความหมายอย่างไร(โดยส่วนตัวคิดว่าละเอียดว่า AWS hands-on tutorials ด้วยซ้ำ)
UX ต่างๆ: มีบอกว่าใช้เวลาเท่าไร ค้นหาได้ง่าย ในทุกแบบฝึกที่เช็คมาจะมีเขียนบอกไว้ด้วยว่าเมื่อทำเสร็จแล้วจะลบ Resource ได้อย่างไร
เหมาะสำหรับ: ระดับกลางจนถึงสูง (มีบางส่วนที่เหมาะสำหรับมือใหม่บ้าง)

Modernization Workshops


AWS Modernization Workshops

  • มีความคล้ายกับ AWS Workshops
  • ขึ้นชื่อว่า Modernization เลยจะมี hands-on ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Partner เยอะ ยกตัวอย่างเช่น hands-on ที่เกี่ยวกับ Sumo Logic Snyk หรือ PagerDuty
  • มีจุดเด่นที่มีแบ่งหมวดหมู่เป็น Observability, Containers, DevOps, Security, IAC, Serverless, Testing
  • มีแบบฝึก ณ ปัจจุบัน จำนวน 65 Workshops
  • ใช้เวลาทำหลักชั่วโมงขึ้นไป
  • เป็นแบบฝึกที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่
ชื่อ:
Modernization Workshops
จำนวนเนื้อหา: เยอะ
ภาษาที่สอน: ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ, ไม่มีภาษาไทย
ความละเอียดในการสอน: มีภาพมีขั้นตอน สอนค่อนข้างละเอียด เนื้อหาด้านในเกี่ยวกับการใช้ ผลิตภัณฑ์ของ Partner เยอะ ที่ค่อนข้างเฉพาะทาง
UX ต่างๆ: มีบอกว่าใช้เวลาเท่าไร ค้นหาได้ง่าย ในทุกแบบฝึกที่เช็คมาจะมีเขียนบอกไว้ด้วยว่าเมื่อทำเสร็จแล้วจะลบ Resource ได้อย่างไร
เหมาะสำหรับ: ระดับกลางจนถึงสูง (อาจจะมีบางส่วนที่เหมาะสำหรับมือใหม่บ้าง)

Awesome AWS Workshops


Awesome AWS Workshops - Build On! - Awesome AWS Workshops

  • เว็บรวบรวม Workshop ต่างๆ ของ AWS ที่อยู๋บน Internet มาไว้ที่เว็บไซด์นี้
  • เนื้อหาทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ
  • ความยากง่ายมีการคละกันไป แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่แนะนำสำหรับมือใหม่เท่าไร
  • หากหา Workshop ที่ตัวเองสนใจแล้วไม่เจอ มาลองค้นดูเว็บนี้อาจจะเจอก็ได้
ชื่อ:
Awesome AWS Workshops
จำนวนเนื้อหา: เยอะ
ภาษาที่สอน: เป็นภาษาอังกฤษ
ความละเอียดในการสอน: ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เจอ
UX ต่างๆ: มีการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ให้ค้นหาได้
เหมาะสำหรับ: ระดับกลางจนถึงสูง (อาจจะมีบางส่วนที่เหมาะสำหรับมือใหม่บ้าง)

dev.classmethod.jp #thai-language


บทความ AWS Thai Language | DevelopersIO

ชื่อ:
dev.classmethod.jp #thai-language
จำนวนเนื้อหา: มากกว่า 200 บทความ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ภาษาที่สอน: ภาษาไทย (บทความญี่ปุ่นเป็นของบริษัทญี่ปุ่น เราใช้เว็บไซต์เดียวกัน)
ความละเอียดในการสอน: โดยรวมแล้วค่อนข้างละเอียดมากๆ โดยเแพาะบทความของ Tinnakorn Maneewong | DevelopersIO
UX ต่างๆ: มี Tag มีปุ่มค้นหา มีการเขียนเน้นย้ำ เป็นสีๆ ไว้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นจุดที่สำคัญ
เหมาะสำหรับ: มือใหม่ ผู้เริ่มต้นสดๆร้อนๆ

ของดีแถมท้าย AWS Skill Builder

ลิ้งค์สมัครสมาชิก(ฟรี)
AWS Cloud Practitioner Essentials (Thai)

ผมเกือบลืม!!!
สำหรับใครที่อยากจะเข้าใจตั้งแต่ Cloud คืออะไร แล้วก็ลงไปที่ว่า AWS คืออะไร มันเจ๋งยังไง
ผมมีคอสเรียนฟรี 6 ชั่วโมง(ระยะรวม 6 ชั่วโมง มีวิดีโอแบ่งเป็นตอนๆ ตอนละประมาณ 10 นาที)
ที่มีชื่อว่า AWS Cloud Practitioner Essentials (Thai) ของ AWS Skill Builder


ที่นำเนื้อหาของ AWS มาเปรียบเทียบเป็น ร้านกาแฟให้เข้าใจง่ายๆ

ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ถ้ามือใหม่จะเริ่มเรียนเกี่ยวกับ AWS นี่เป็นแบบเรียนที่ผมแนะนำที่สุด

ถ้าใครสนใจก็เข้าไปลองเรียนกันได้ครับ ต้องสมัครสมาชิก(ฟรี)ก่อนถึงจะเข้าไปเรียนได้นะครับ

ปล. ใน AWS Skill Builder ยังมีแบบเรียนอื่นๆ ที่เราสามารถเลือกเรียนได้อีกกว่า 200 แบบ
ปล2. Cloud Practitioner คือ Certificate นึงของ AWS ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของ Cloud AWS

อื่นๆ

สำหรับใครที่อ่านเฉยๆ แล้วไม่เข้าใจอยากจะลองดูคลิป หรือ เข้าร่วมกิจกรรมที่มีการสอน
ทาง Classmethod เองก็มีการเปิดสัมมนาเกี่ยวกับ AWS อยู่เรื่อยๆ โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

สรุป

เป็นไงกันบ้างครับกับแหล่งข้อมูลฝึก AWS หวังว่าท่านผู้อ่านบทความนี้น่าจะได้แหล่งข้อมูลที่ต้องการติดไม้ติดมือกันกลับไปบ้างนะครับ
สำหรับบทความนี้ก็จบเพียงเท่านี้ แล้วเจอกันในบทความต่อไปครับ สวัสดีครับ / ต้า