เรื่องพื้นฐานที่โปรแกรมเมอร์มือใหม่ควรรู้
Indentation การเว้นวรรคและย่อหน้า
ในการเขียนโค้ด รูปแบบการเว้นวรรคหรือย่อหน้านั้น จะช่วยให้ผู้อื่นสามารถอ่านและทำความเข้าใจโค้ดเราได้ง่ายมากขึ้นและเป็นสิ่งที่นักพัฒนาต้องให้ความสำคัญในเรื่อง Readability เนื่องจากเราไม่ได้เขียนโค้ด เพื่อตัวเราเองเท่านั้น แต่เพื่อให้คนอื่นในทีมที่ร่วมพัฒนาโค้ดกับเราอ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นด้วย ดังนั้นเรื่องของรูปแบบในการเขียน code จำเป็นต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
- การใช้ Tab และ Indent
- ขนาดความยาวของบรรทัด
- การตั้งชื่อตัวแปร
- การจัดการ Exception ต่าง ๆ
รูปแบบการเขียนโค้ดที่ควรปรับเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น
ปรับรูปแบบให้ถูกหลักในการเขียนโค้ด จะสังเกตว่าแท็ก < table > เป็นแท็กใหญ่ที่สุด ครอบคลุมโค้ดและเนื้อหาแต่ละชั้นดังนั้นควรจะมีย่อหน้าน้อยที่สุด และ แท็กต่อไปที่อยู่ภายใต้แท็ก < table > นั้นจำเป็นที่จะต้องขยายย่อหน้าให้มากขึ้น เพื่อทำให้สังเกตเห็นได้ง่าย และ ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแท็กนี้ อยู่ในเนื้อหาของแท็ก < table >
Variable ตัวแปร
ในการพัฒนาโค้ด การสร้างตัวแปรมาใช้งานนั้นสำคัญมาก ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเราต้องทำงานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล มีการเชื่อมต่อกับข้อมูลต่างๆที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ และ ต้องการที่จะนำออกมาแสดงผล หรือ คำนวนนั้น การสร้างตัวแปร ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่นำมาใช้จะทำให้ เราและผู้อื่นในทีม มีความเข้าใจตรงกัน ว่าแต่ละตัวแปรนั้น มีข้อมูลอะไรบ้างและกำลังจะเอาไปใช้งานแบบไหน
- ตัวอย่างการสร้างตัวแปรที่ไม่ควรทำ ในกรณีที่มีการใช้งานตัวแปรหลายตัวแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างตัวแปรที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆด้วยไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดความสับสนและยากต่อการใช้งาน ทั้งกับตัวเองและผู้อื่นที่ทำงานร่วมกับเราด้วย
- ตัวอย่างการสร้างตัวแปรที่ถูกต้อง ควรสร้างตัวแปรที่ชัดเจนและสื่อความหมายตรงตัวว่าข้อมูลนี้ใช้ทำอะไรหรือเกี่ยวกับเรื่องอะไร ?
DRY (Don’t Repeat Yourself) อย่าทำอะไรซ้ำซากจำเจ
ถ้าในการเขียนโค้ดก็หมายถึง อย่าเขียนโค้ดที่มีการทำงานเหมือนกันและเอามาใช้ทุกที่ (ภาษาชาวบ้านก็คือ อย่าก๊อปวางแบบไม่รู้เรื่อง) เพราะฉะนั้นเวลาเขียนโค้ด จะต้องพยายามดูว่าสิ่งที่เราเขียนนั้นสามารถ เอาไปเรียกใช้ฟังก์ชั่นอื่นได้ไหม ถ้าได้ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนซ้ำหรือมีการทำซ้ำให้เกิดความยุ่งยากในตัวโปรแกรม หรือ ถ้าไม่ได้เขียนขึ้นมาใหม่แล้วจะมีใครเรียกใช้ไหม ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ด้วย เพราะไม่งั้นสิ่งที่เราเขียนมานั้น จะไม่ได้ใช้งานจริงในการทำงาน และ กลายเป็นโค้ดที่ปลืองเนื้อที่ในการทำงาน
- ตัวอย่างการเขียนโค้ดที่มีการทำซ้ำ
- ซึ่งเราสามารถเขียนในรูปแบบที่สั้นและกระชับได้มากกว่านี้โดยไม่ต้องเสียเวลาทำซ้ำใหม่
โดนรวมแล้ว เรื่องพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมนั้น อาจจะต้องใช้เวลาและประสบการณ์สักระยะ เพื่อทำให้ชินกับการเขียนโค้ด อาจจะดูเป็นเรื่องที่ยุุ่งยากและละเอียดอ่อน แต่เมื่อเราฝึกฝนจนชินแล้ว สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายและเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาโปรแกรมของเราในอนาคตต่อไปครับ