ทดลองสร้าง VMware ESXi 8 บน Windows 11 โดยใช้ VMware Workstation 17 Pro
สำหรับในบทความนี้ ผมจะมาทดลองสร้าง VMware ESXi 8 บน Windows 11 โดยใช้ VMware Workstation 17 Pro กัน สำหรับทุกท่านที่อยากจะลองทำตาม สามารถใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ
เตรียมตัวก่อนเริ่ม
สำหรับในการทดลองใช้งานครั้งนี้ ผมจะใช้อุปกรณ์ที่มีรายละเอียดตามด้านล่างนี้
- Edition : Windows 11 Home
- Version : 22H2 (OS Build 22621.1992)
- Experience : Windows Feature Experience Pack 1000.22644.1000.0
- VMware : VMware Workstation 17 Pro
สำหรับท่านใดที่ยังไม่มีโปรแกรม VMware Workstation 17 Pro สามารถดูวิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่บทความด้านล่างนี้ครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอแนบภาพที่อธิบายถึงโครงสร้างคร่าว ๆ ของการทดลองในครั้งนี้ เผื่อจะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการทดลองครั้งนี้ได้มากขึ้นครับ
ซึ่งการนำ ESXi ไปใส่ไว้ใน VM อื่นอีกทีหนึ่งในลักษณะนี้จะเรียกกันว่า Nested ESXi ครับ
เริ่มทดลองสร้าง VMware ESXi 8
ดาวน์โหลด VMware ESXi 8 ISO
ก่อนอื่นเราจะเริ่มจากการดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของ VMware ESXi มาก่อนครับ สามารถดาวน์โหลด VMware ESXi ISO ได้ที่ลิงก์นี้
เมื่อเข้าไปที่ลิงก์ดังกล่าวแล้วจะเจอกับเว็บไซต์หน้าตาแบบรูปด้านล่าง ซึ่งก่อนจะดาวน์โหลดไฟล์ ISO ได้ เราต้องทำการสร้างบัญชีและล็อกอินก่อนครับ
ให้คลิกที่ Create an Account
เพื่อสร้างบัญชี
ในหน้า Register กรอกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสร้างบัญชี
เมื่อสร้างบัญชีเสร็จเรียบร้อย ให้ทำการล็อกอินด้วยบัญชีดังกล่าว จากนั้นกลับมาที่หน้าดาวน์โหลดไฟล์ ISO อีกครั้งแล้วเลือก License & Download
จากนั้นหาไฟล์ที่ชื่อว่า VMware vSphere Hypervisor (ESXi ISO) image คลิก Manually Download
สร้าง VMware ESXi 8
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เรียบร้อย ให้เปิดโปรแกรม VMware Workstation 17 Pro ขึ้นมา แล้วคลิก Create a New Virtual Machine
เลือก Custom (advanced)
ในส่วนของ Hardware เลือก Workstation 17.5.x
เลือก I will install the operating system later
- Guest operating system : VMware ESX
- Version : VMware ESXi 8 and later
- Virtual machine name : ตั้งชื่อ virtual machine ตามต้องการ
- Location : เลือกสถานที่ที่ต้องการเก็บ virtual machine นี้ไว้
- Number of processors : 2
- Number of cores per processor : 1
- Total processor cores : 2
ในส่วนของ Memory for this virtual machine ผมจะตั้งให้ใกล้เคียงกับค่า Maximum recommended memory (6.1 GB)
ให้มากที่สุด ซึ่งในที่นี้ก็คือ 6248 MB
Note : จริง ๆ แล้ว memory ขั้นต่ำที่จำเป็นในการใช้งาน ESXi 8 จะอยู่ที่ 8GB ครับ แต่ในการทดสอบนี้ถึงแม้ว่าเราจะใช้สเปคที่ต่ำกว่า (6.1 GB) แต่ ESXi ก็ยังคงสามารถทำงานได้อยู่ครับ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับ Requirements ของ ESXi 8 สามารถดูได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
- Network connection : Use network address translation (NAT)
- SCSI Controller : Paravirtualized SCSI
- Virtual disk type : SCSI
- Disk : Create a new virtual disk
ในส่วนของ Specify Disk Capacity ผมจะเลือกใช้เป็นค่า default (142.0 GB) และเนื่องจากครั้งนี้ผมไม่มีแผนจะย้าย virtual machine ไปที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผมจึงเลือกที่จะเก็บ virtual disk ไว้รวมกันเป็นไฟล์เดียวครับ
- Disk file : ตั้งชื่อ disk file ตามต้องการ และกำหนดสถานที่ที่ต้องการเก็บ disk file นี้ไว้
เช็คการตั้งค่าให้เรียบร้อย จากนั้นคลิก Finish
จากนั้นเราจะเห็น virtual machine ของเรา ให้เลือก Edit virtual machine settings
ที่เมนู CD/DVD (IDE) ให้ตั้งค่าตามนี้
- Device status : Connect at power on
- Connection : Use ISO image file
- คลิก Browse แล้วเลือกไฟล์ VMware ESXi ISO ที่ดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้คลิก OK
คลิก Power on this virtual machine
จากนั้นรอระบบโหลดตัว installer ซักครู่
เมื่อตัว installer พร้อมแล้ว จะขึ้นหน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้กด Enter เพื่อเริ่มการติดตั้ง
กด F11 Accept and Continue
เลือก storage disk ขนาด 142.0 GB ที่สร้างไว้ในตอนตั้งค่า แล้วกด Enter Continue
เลือกภาษาที่ต้องการ แล้วกด Enter Continue
ตั้งค่า root password แล้วกด Enter Continue
กด F11 Install
แล้วรอระบบติดตั้ง ESXi ซักครู่
เมื่อการติดตั้งเสร็จสิ้นจะขึ้นหน้าจอดังรูปด้านล่าง ให้กด Enter Reboot
เมื่อ reboot เสร็จ ระบบจะทำการเริ่มต้นระบบ ESXi โดยอัตโนมัติ ในตอนนี้ผมจะ shut down ออกมาก่อน เพื่อทำการแก้ไขการตั้งค่าเพิ่มเติมก่อนที่จะเริ่มใช้งาน ESXi ครับ ให้ทำการ shut down ออกมาโดยคลิกที่ปุ่มตามรูปด้านล่าง
เลือก virtual machine ของเรา แล้วคลิกที่ Edit virtual machine settings
ที่เมนู CD/DVD (IDE) ให้ตั้งค่าตามนี้ เพื่อนำไฟล์ ISO ออก
- Device status : ให้ทำการ uncheck Connect at power on
- Connection : Use physical drive
จากนั้นเราจะทำการเพิ่ม hard disk เข้าไปอีก 1 ลูก โดยเริ่มจากคลิกที่ Add...
Hardware types : Hard Disk
Virtual disk type : SCSI
Disk : Create a new virtual disk
Disk ลูกใหม่นี้ผมจะกำหนดความจุไว้ที่ 100 GB และเลือกเก็บ virtual disk ไว้รวมกันเป็นไฟล์เดียวเหมือนเดิมครับ
- Disk file : ตั้งชื่อ disk file ตามต้องการ และกำหนดสถานที่ที่ต้องการเก็บ disk file นี้ไว้
เมื่อทำการแก้ไขทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ให้กด OK
Note : จริง ๆ แล้วการเพิ่ม disk ลูกที่ 2 สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มสร้าง virtual machine แล้วครับ แต่เนื่องจากการเพิ่ม disk ลูกที่ 2 ตั้งแต่แรกจะทำให้การติดตั้งทำได้ช้ากว่า ผมจึงค่อยมาเพิ่มหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ส่วนการนำไฟล์ ISO ออกนั้น เนื่องจากเราต้องการใช้งานไฟล์นี้สำหรับการติดตั้งแค่ครั้งแรกเพียงครั้งเดียว หากไม่นำไฟล์ออก จะทำให้การเปิดใช้งาน ESXi หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วกินเวลามากขึ้น
คลิก Power on this virtual machine
อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นตัว ESXi จากนั้นรอซักครู่
เมื่อ ESXi พร้อมใช้งาน จะเห็นหน้าจอดังรูปด้านล่าง ซึ่งจะมีเลข ipv4 ชุดหนึ่งปรากฎอยู่ เราจะใช้เลข ip นี้สำหรับเข้าใช้งาน ESXi
เปิด internet browser ขึ้นมา แล้วเข้าไปที่เลข ip ดังกล่าว เลือก Advanced
แล้วคลิกที่ Continue to [ip] (unsafe)
จะเห็นหน้า login ของ ESXi ให้กรอก user name และ password ลงไป
- user name : root
- password : password ที่ตั้งค่าไว้ตอนติดตั้ง ESXi
เมื่อ login เข้ามาแล้วจะพบกับหน้าจอดังรูปด้านล่าง
คลิกเลือก Storage
จะพบว่าเรามี datastore อยู่แค่อันเดียว ให้ทำการสร้าง datastore อีกอันโดยใช้ disk ลูกที่ 2 ที่เราเพิ่มเข้าไปก่อนหน้า
ให้คลิก Devices
แล้วคลิกเลือก disk ลูกที่ 2 ที่เพิ่มไปใหม่ก่อนหน้านี้ (กรณีนี้คือ mpx.vmhba0:C0:T1:L0 ขนาด 100 GB)
คลิก New datastore
Datastore name : ตั้งชื่อ datastore ตามต้องการ
Select partitioning options : Use full disk | VMFS 6
ตรวจสอบการตั้งต่า แล้วกด FINISH
จะมี pop-up เด้งขึ้นมา กด YES
จะพบว่าตอนนี้เรามี datastore 2 อัน เป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งหลังจากนี้เราก็สามารถสร้างและใช้งาน virtual machine ต่าง ๆ บน ESXi ได้อีก โดยวิธีการสร้างและใช้งาน virtual machine บน ESXi นั้นผมจะขอยกไปเขียนไว้ในบทความครั้งหน้าต่อไปครับ