ทดลองคำนวณราคา EC2 Instance โดยใช้ AWS Pricing Calculator

หากคุณกำลังสงสัย ว่าสร้าง EC2 Instance มาใช้งานแต่ละครั้งจะมีราคาเท่าไหร บทความนี้จะมาแนะนำวิธีการคำนวณราคาสำหรับมือใหม่ให้ได้รู้จักกันค่ะ

สวัสดีค่ะทุกคน แนนเองค่ะ 

วันนี้จะมาแปลบทความเกี่ยวกับ AWS ในหัวข้อ 【AWSでEC2インスタンスを立てたい!料金の目安はどう計算する?】 ต้นฉบับมาจากของคุณ サイトウ ฝ่ายขาย AWS ประจำ Classmethod Japan โดยจะปรับเนื้อหาและภาษาบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจนะคะ

*บทความต้นฉบับลงไว้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2022 นะคะ

ในบทความนี้ ผู้เขียนอยากจะมาแนะนำราคาโดยประมาณเมื่อตั้งค่าอินสแตนซ์บน AWS EC2

โดยเครื่องมือหลัก ๆ ที่เราจะใช้วันนี้ก็คือ AWS Pricing Calculator ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน AWS และต้องการประเมินราคาด้วยตัวเองค่ะ

ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาทดลองใช้งานกันเลยยยย ( •̀ .̫ •́ )ノ✧

การเข้าใช้งาน

คลิกที่ลิงก์เพื่อเข้าสู่หน้า Calculator ได้เลยค่ะ

AWS Pricing Calculator

การประเมินราคา

1. คลิกที่ Create estimate

2. พิมพ์ EC2 ตรง Find Service

3. จากนั้นก็จะมีหน้าจอแบบนี้ขึ้นมาค่ะ ให้เราเลือกเป็น Amazon EC2

4. คลิก Configure ในช่อง EC2

มาลองคำนวณกัน!

เราจะกำหนดค่า Spec ตามด้านล่าง⬇️เพื่อเป็นตัวอย่างในการคำนวณ ดังต่อไปนี้

  • CentOS
    • Amazon Linux เมื่อย้ายไปยัง AWS
  • CPU 4 core
  • Memory : 16GB
  • HDD/SSD:200GB
  • สำหรับ website ในประเทศไทย
    • จำนวนการเข้าถึงประมาณ 1000 page view ต่อวัน

การตั้งค่า Region

1. ตั้งชื่อใบเสนอราคา (optional) ที่ช่อง Description

2. กำหนด Region เป็น Asia Pacific (Singapore)

EC2 specifications

ขั้นตอนนี้เราจะมากำหนดสเปคของ EC2 เพิ่มเติมกันค่ะ

ให้ใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้

  • Operation System :Linux
  • vCPU:4
  • Memory(GiB):16
  • Number of Instance :1

Payment option

สำหรับวิธีการชำระเงิน เราสามารถเลือกจ่ายแบบ On-Demandหรือจองใช้งานระยะยาว 1 หรือ 3 ปี เพื่อรับส่วนลดค่าบริการเพิ่มเติมผ่าน Savings Plans หรือ Reserved Instancesก็ได้เช่นกัน

สามารถอ่านเกี่ยวกับ Saving Plan และ Reserve Instance เพิ่มเติมได้ที่
- ชวนมาประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากขึ้นด้วยการใช้ EC2 Reserved Instances!
- Saving Plan vs. Reserved Instance บน AWS ต่างกันยังไง บล็อกนี้มีคำตอบ!

สำหรับในบทความนี้ เราจะเลือกเป็นแบบ On-Demand ค่ะ

  • Usage :100
  • Usage Type : Utilization percent per month

※ในส่วนของ Usage หากไม่ได้ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง (อย่างเช่น เปิดใช้งานเฉพาะช่วงกลางวัน หรือไม่ได้เปิดใช้งานในวันหยุด ฯลฯ) เราสามารถปรับเปลี่ยน Usage เพื่อให้ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากขึ้น

อย่างเช่น หากเราต้องการสร้าง EC2 ให้รันตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 18.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ (5 วัน) หรือก็คือต้องการัน EC2 10 ชั่วโมงในช่วง 5 วัน ในกรณีนี้ ให้เราใส่ตรง Usage เป็น 50 และเลือก Usage Type เป็น hour/week ค่ะ


แต่เดี๋ยวก่อน!!!

ก่อนจะไปสรุปยอดกัน อยากให้มาลองย้อนคิดกันดูก่อนว่า ในความเป็นจริงแล้ว เราจำเป็นต้องเปิดใช้งานเซิร์ฟเวอร์ 4 core 16GB เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วันรึเปล่า?

คำตอบก็คงเป็น "ไม่" ใช่ไหมละคะ

หากเราใช้งาน physical server (on-premise) ภายในองค์กร เราอาจต้องซื้อเซิร์ฟเวอร์ที่มีสเปคเกินกว่าการใช้งานจริง เพื่อรองรับการใช้งานให้ได้มากที่สุด แต่ด้วย EC2 เราสามารถปรับเปลี่ยนสเปคได้อย่างอิสระ!

ดังนั้น เราจึงแนะนำให้เริ่มใช้งานจากทีละน้อย แล้วค่อยปรับขนาดขึ้นไปเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นค่ะ

ทีนี้ เราลองมาแก้ไข Calculator กันอีกครั้งค่ะ


อ้างอิงจากสภาพการทำงานตอนที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน เราจะปรับสเปคให้ลดลงครึ่งหนึ่งของที่เราตั้งค่าไปเมื่อสักครู่นะคะ

แก้ข้อมูลให้เป็นตามด้านล่างนี้แทน⬇️

  • Operation System :Linux
  • vCPU:2
  • Memory(GiB):8
  • Number of instances:1
  • Usage :100%

✨นอกการวิธีการสร้างอินสแตนซ์โดยการใส่ข้อมูลสเปคตามด้านบนแล้ว เรายังสามารถเลือกอินสแตนซ์จากประเภทได้อีกด้วย
หากเราพอจะรู้จักประเภทอินสแตนซ์มาก่อน และสามารถคาดการณ์ได้ว่าอินสแตนซ์ประเภทใดที่อาจนำใช้งานได้ เราก็สามารถค้นหาจากประเภทอินสแตนซ์ตรงช่อง Search instance type ได้ค่ะ

Storage

สำหรับพื้นที่จัดเก็บ จะใช้ Amazon Elastic Block Store (EBS) เพื่อเชื่อมต่อกับอินสแตนซ์

✨เพิ่มเติม
AWS มีบริการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon S3 หรือ Amazon Elastic File System (EFS) เราสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมได้ โดยพิจารณาจากวิธีการจัดเก็บข้อมูลของเราค่ะ

โดยทั่วไปแล้ว Physical Server ที่เราใช้งานภายในองค์กรมีความจุข้อมูล 200 GB ในครั้งนี้เราจะลองใช้ขนาดเดียวกันดูค่ะ

ในครั้งนี้เราเลือก Storage ประเภท General purpose SSD (gp2) เพราะคำนวณราคาได้เข้าใจง่าย

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Storage Type ประเภทอื่น ๆ ได้👉🏻ที่นี่👈🏻

Save and view summary

เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วค่า สุดท้ายให้เราคลิกที่ Save and view summary

ค่าบริการรายเดือนและรายปีจะแสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติค่ะ

แก้ไข

หลังจากที่เราสร้างใบประเมินราคาเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขภายหลัง ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ

ให้คลิกเครื่องหมายกรอบสี่เหลี่ยมและปากกาข้าง ๆ ใบประเมินราคาที่เราสร้างเมื่อสักครู่นี้

เมื่อคลิกแล้ว เราจะกลับไปยังหน้าจอการตั้งค่าตามที่แนะนำไปด้านบน และสามารถแก้ไขได้เลยค่ะ

เพิ่มข้อมูล

คลิก Add Service เพื่อเพิ่มอินสแตนซ์ใหม่ หรือ เพิ่มบริการอื่น ๆ ภายในใบเสนอราคาเดียวกัน

Share URL

เราสามารถแชร์ข้อมูลได้โดยคลิก Share ที่มุมขวาบนของหน้าจอ

คลิก OK เพื่อยืนยัน

จากนั้นจะมี URL ขึ้นมา ให้เราคลิก Copy public Link เพียงแค่นี้ก็สามารถ copy และส่งต่อไปให้คนที่ต้องการแชร์ข้อมูลด้วยได้เลยค่ะ

Export CSV/PDF

บริเวณมุมขวาบนของหน้าจอ จะมีปุ่ม Export เราสามารถ Export ข้อมูลการประเมินราคานี้ในรูปแบบไฟล์ CSV หรือ PDF ก็ได้

สรุป

เป็นยังไงกันบ้างคะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถประเมินราคาด้วยตนเองได้ง่าย ๆ เลย

ทั้งผู้เขียนและแนนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้เริ่มต้นที่ต้องการคำนวณราคา AWS ด้วยตนเองนะคะ

ไว้พบกันใหม่บทความหน้าค่า🙏🏻✨