Generative AI กับการรักษา ที่แม้แต่โรงพยาบาลสมิติเวชก็เลือกใช้ – AWS Summit Bangkok 2024

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากเราสามารถนำเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ประโยนช์ในทางการแพทย์ได้คงจะดีไม่น้อย

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ทาง Classmethod Thailand ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน AWS Summit Bangkok 2024 ในฐานะ Sponsor ค่ะ และแพรก็มีโอกาสได้เข้าร่วมฟังบรรยาย Session ต่าง ๆ มา บทความนี้เลยจะขอแบ่งปันเรื่องราวที่ได้ฟังค่ะ ว่าเทคโนโลนีของ AWS เข้ามามีบทบาททางด้านการแพทย์ได้ยังไงบ้าง โดยหัวข้อที่แพรได้เข้าร่วมฟังบรรยายคือ “Improving patient outcomes using generative AI in healthcare”

เป้าหมาย

AWS มีเป้าหมายที่อยากจะทำให้เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถเข้าถึง และส่งมอบข้อมูลทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยต้นทุนที่ต่ำลง รวมถึงเปลี่ยนข้อมูลด้านการดูแลสุภาพทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความรวดเร็วมากขึ้น

ความท้าทาย

  • การกระจายตัวของระบบดูแลสุขภาพ (Healthcare Fragmentation) ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันก่อให้เกิดความผิดพลาด
  • โรงพยาบาลขาดประสิทธิภาพ (Hospital Inefficiencies) คนเยอะจนรองรับผู้ป่วยไม่ทัน
  • ความต้องการของคนไข้ (Patient Demands) ในการเข้ารับการรักษาจำนวนมาก

Generative AI เข้ามาช่วยยังไง

AWS ได้สร้างเครื่องมือเพื่อเข้ามาช่วยให้การแพทย์นั้นมีความรวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้นในการประมวลผล การรักษา และการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น “AWS HealthLake” ที่ทำหน้าที่ เก็บ แปลง จัดการ และวิเคราห์ข้อมูลสุขภาพภายในไม่กี่นาที หรือ “AWS HealthScribe” เปลี่ยนคำพูดทางการแพทย์เป็นรูปแบบอักษรโดยอัตโนมัติ ฯลฯ

โดยเฉพาะเครื่องมืออย่าง “Amazon Q” และ “Amazon Bedrock” ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาคนไข้แบบ Remote หรือการรักษาจากที่ไหนเมื่อไรก็ได้ เครื่องมือทั้งสองตัวนี้จะช่วยพัฒนาแอฟพลิเคชันทางการแพทย์ที่สร้างสำเนาบันทึกสรุป และบันทึกข้อมูลเชิงลึกทางการแพทย์โดยอัตโนมัติจากการพูดคุยระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ เพื่อนำไปหากลุ่มบุคลากรที่เหมาะสมต่อไป และยังช่วยลดระยะเวลา รวมถึงสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ทันทีอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการรวบรวมประวัติทางการแพทย์ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์หาวิธีการรักษาที่รวดเร็ว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จให้มากขึ้นอีกด้วย

Used Case

NHSO (สปสช.) ลดระยะเวลาในการสร้างโมเดลกว่า 85% ทำให้สามารถนำไป Deploy ต่อได้ทันที และยังลดค่าใช้จ่ายไปได้กว่า 90%


โรงพยาบาลสมิติเวช นำ infrastructure มาใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชันวางแผนสุขภาพ เพื่อให้บริการคนไข้ได้อย่างรวดเร็วด้วยฟีเจอร์ที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีการนำข้อมูลสุขภาพมาใช้ประมวลผล และออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น


สรุป

จะเห็นได้ว่า AWS ได้สร้างเทคโนโลยีที่ทำให้การแพทย์นั้นมีความรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และในอนาคตก็เชื่อว่าทาง AWS จะสามารถพาวงการแพทย์ไปสู่มิติใหม่ ๆ ได้เรื่อย ๆ อย่างแน่นอนค่ะ