การติดตั้ง WordPress ใน Amazon Linux 2 บน EC2

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เขียนบล็อกหรือจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ต่างๆ เราสามารถนำมาติดตั้งใน Amazon Linux 2 และเชื่อมต่อกับ EC2 Instance ด้วย Command Line ได้

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

ครั้งนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการติดตั้ง WordPress ด้วย Command Line ใน Amazon linux 2

WordPress คืออะไร

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เขียนบล็อกหรือจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ประเภท CMS (Contents Management System) ซึ่งเขียนด้วยภาษา PHP และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL โดยมีส่วนประกอบหลักๆ เช่น WordPress Core, Theme, Plugin เป็นต้น

สิ่งที่ต้องมี

ให้ทำการติดตั้ง EC2 Instance ก่อน สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้ทำการติดตั้ง สามารถดูขั้นตอนได้ที่ลิงก์ วิธีติดตั้ง Amazon Linux บน EC2 และเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรแกรม PuTTy นี้ได้เลย

เมื่อทำการติดตั้ง EC2 Instance เรียบร้อยแล้ว ให้ทำ วิธี Install PHP 8.0 and Apache ใน Amazon Linux 2 ของ EC2 นี้

และทำ การติดตั้ง MySQL (MariaDB) และสร้าง Database ใน Amazon Linux 2 นี้

เมื่อทำการติดตั้ง EC2 Instance, PHP and Apache และ MySQL (MariaDB) เรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มติดตั้ง WordPress ในหัวข้อถัดไปได้เลย

ขั้นตอนการติดตั้ง WordPress ใน Amazon Linux 2

ติดตั้ง wordpress ด้วยคำสั่งนี้

wget https://wordpress.org/latest.zip

wp-1

แตกไฟล์ latest.zip ด้วยคำสั่งนี้

unzip latest.zip

wp-2

ตรวจสอบไฟล์ wordpress ด้วยคำสั่งนี้
จะเห็นว่ามีโฟลเดอร์ wordpress ถูกแตกไฟล์ออกมา

ll

wp-3

ย้ายไฟล์ข้อมูลในโฟลเดอร์ wordpress ทั้งหมดไปที่โฟลเดอร์ html ด้วยคำสั่งนี้
* = ข้อมูลที่อยู่ในโฟลเดอร์ wordpress ทั้งหมด จะถูกย้ายไปที่โฟลเดอร์ html

mv wordpress/* /var/www/html/

wp-5

ตรวจสอบไฟล์ wordpress ทั้งหมดในโฟลเดอร์ html ด้วยคำสั่งนี้
จะเห็นว่าไฟล์ทั้งหมดถูกย้ายเข้ามาที่ html แล้ว

ll /var/www/html/

wp-6

เข้ามาที่โฟลเดอร์ html ด้วยคำสั่งนี้

cd /var/www/html

wp-7

สร้างโฟลเดอร์uploadsใน wp-content ตามคำสั่งนี้

mkdir wp-content/uploads

wp-upload-2

เปิดโหมดการใช้งานขั้นสูงสุดให้กับโฟลเดอร์uploadsตามคำสั่งนี้

chmod 777 wp-content/uploads

wp-upload-2

สร้างโฟลเดอร์upgradeใน wp-content ตามคำสั่งนี้

mkdir wp-content/upgrade

wp-12

เปิดโหมดการใช้งานขั้นสูงสุดให้กับโฟลเดอร์upgradeตามคำสั่งนี้

chmod 777 wp-content/upgrade

wp-13

เปิดโหมดการใช้งานขั้นสูงสุดให้กับโฟลเดอร์ plugins ตามคำสั่งนี้

chmod 777 wp-content/plugins

wp-14

ตั้งค่าไฟล์ wp-config.php

ต่อไปเราจะเปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php ให้เป็น wp-config.php
ตรวจสอบไฟล์ด้วยคำสั่งนี้ และหาคำว่า wp-config-sample.php ตามที่มาร์คไว้

ll

wp-15

เปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php ให้เป็น wp-config.php ด้วยคำสั่งนี้

mv wp-config-sample.php wp-config.php

wp-16

ตรวจสอบไฟล์ด้วยคำสั่งนี้อีกครั้ง
จะเห็นว่าชื่อไฟล์ที่มาร์คไว้ เปลี่ยนเป็น wp-config.php เรียบร้อยแล้ว

ll

wp-17

ทำการแก้ไขไฟล์ wp-config.php ด้วยคำสั่งนี้

vi wp-config.php

wp-18

แก้ไขไฟล์ wp-config.php ตามนี้
» กดปุ่มiให้ขึ้น-- INSERT --
» เปลี่ยน 'database_name_here' ให้เป็น'tinnakorn'
» เปลี่ยน 'username_here' ให้เป็นroot
» ลบ 'password_here' ให้เป็น''
wp-19

ต่อมาให้เลื่อนลงมาประมาณตรงกลาง และลบ code ตามนี้ออกให้หมด

define( 'AUTH_KEY',         'put your unique phrase here' );
define( 'SECURE_AUTH_KEY',  'put your unique phrase here' );
define( 'LOGGED_IN_KEY',    'put your unique phrase here' );
define( 'NONCE_KEY',        'put your unique phrase here' );
define( 'AUTH_SALT',        'put your unique phrase here' );
define( 'SECURE_AUTH_SALT', 'put your unique phrase here' );
define( 'LOGGED_IN_SALT',   'put your unique phrase here' );
define( 'NONCE_SALT',       'put your unique phrase here' );

เมื่อลบ Code ออกไปแล้ว ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ Secret Key นี้
WordPress-API

จากนั้น Copy Code Secret Key มาทั้งหมด และวางในส่วนที่ลบไปเมื่อสักครู่นี้ตามรูปภาพ
wp-20

ต่อมาเลื่อนลงมาด้านล่างสุดและหาคำว่า
/* Add any custom values between this line and the "stop editing" line. */
จากนั้นให้เพิ่ม Code ด้านล่างนี้ในบรรทัดถัดไป

define( 'FS_METHOD', 'direct' );

wp-21

เมื่อแก้ไขไฟล์ wp-config.php เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำตามนี้
» กดปุ่มEscเพื่อให้-- INSERT --หายไป
» พิมพ์:wqหรือ:xได้เลย
» กด Enter
wp-22

ตั้งค่า WordPress ในหน้าเว็บเบราว์เซอร์

มาที่หน้า Instance ของเรา และทำการ Copy IP Instance จากนั้นนำไปเปิดในเว็บเบราว์เซอร์ที่เราใช้งานอยู่
wp-23

ถ้าแสดงหน้าเว็บแบบนี้คือสามารถใช้งาน IP Instance ได้แล้ว จากนั้นเริ่มตั้งค่า WordPress ตามนี้ได้เลย
» เลือกภาษาที่ต้องการ ครั้งนี้ผมจะเลือกเป็นEnglish (United States)
» คลิกContinue
wp-24

ในส่วนของ Information needed ให้ตั้งค่าตามนี้
» Site Title:wp-tinnakorn(ใส่ชื่อที่ต้องการ)
» Username:admin(ใส่ username ตามต้องการ)
» Password: เราสามารถกำหนดเองได้ ครั้งนี้ผมจะใช้ Password ที่เว็บไซต์นี้ Generate มาให้ (ห้ามลืม Copy Password เตรียมไว้)
» Your Email: ใส่ Email ของเราเอง
» กดInstall WordPress
wp-25

คลิกLog In
wp-26

ใส่ Username กับ Password ของเรา
wp-27

ทดสอบการเขียน Posts

เลือกPosts
wp-28

คลิกAdd New
wp-29

ใส่ข้อมูลลงใน Posts ตามต้องการ จากนั้นคลิกPublish
wp-30

คลิกPublishอีกครั้ง
wp-31-fix

คลิกView Post
wp-32-fix

จะเห็นว่าเราสามารถเขียน Post ในหน้า WordPress ของเราได้แล้ว
wp-33

สรุป

การใช้งาน WordPress สามารถติดตั้งใน Amazon Linux 2 และเชื่อมต่อกับ EC2 Instance ได้ ซึ่งเราสามารถกำหนดการใช้งานด้วย Command Line ได้ตามต้องการ