การสร้าง S3 เพื่อนำมาวิเคราะห์ใน QuickSight

สวัสดีครับ ในหัวบล็อกครั้งนี้ผมจะมาแสดงตัวอย่างวิธีการใช้งาน S3 โดยกำหนดให้เป็น Datasource และนำมาวิเคราะห์เพื่อแสดงผลผ่าน QuickSight ครับผม
2022.08.03

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีครับ ในหัวบล็อกครั้งนี้ผมจะมาแสดงตัวอย่างวิธีการใช้งาน S3 โดยกำหนดให้เป็น Datasource และนำมาวิเคราะห์เพื่อแสดงผลผ่าน QuickSight ครับผม

สิ่งที่ต้องมี

ให้เราทำการสร้าง Bucket ขึ้นมาใน S3 ซึ่งเราสามารถทำตามวิธีการในลิ้งค์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

ขั้นตอนอาจจะซับซ้อนนิดนึง แนะนำให้เพื่อนๆ ลองอ่านรายละเอียดให้ดีก่อนลงมือทำในแต่ละขั้นตอน เพื่อป้องกันความผิดพลาดนะครับ

ขั้นแรกให้สร้าง S3 ขึ้นมา จากนั้นสร้าง EC2 ที่เชื่อมต่อกับ Role และสามารถเข้าถึง S3 ได้เตรียมไว้ โดยผมจะระบุรายละเอียดขั้นตอนการสร้างและแปะลิงก์ที่ด้านล่างนี้ครับ

S3 Buckets ที่สร้างเสร็จแล้ว

  • การสร้าง Buckets ใน Amazon S3
  • โดยใยตัวอย่างที่ผมทำจะเป็นฟอร์มการตั้งชื่อแบบนี้นะครับ
    Bucket name: [name]-test-[date]
    EC2 ที่เชื่อมต่อกับ Role และสามารถเข้าถึง S3 ได้

  • การสร้าง Role ใน IAM
  • การ Create Key Pair
  • การ Launch Instance
  • การ Connect to EC2 by PuTTY
  • เมื่อติดตั้ง S3 และ EC2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทดสอบการเข้าถึง S3 โดยการดูข้อมูลใน S3 ผ่านคำสั่ง AWS CLI และเปลี่ยน Time Zone EC2 ดังนี้ครับ

  • ทดสอบการดูข้อมูลใน S3 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ตรวจสอบข้อมูล S3 ใน Server Amazon Linux 2
  • รันคำสั่งของ AWS CLI S3 เพื่อดูข้อมูลใน S3 โดยใช้คำสั่งaws s3 ls s3://+bucket_nameของคุณ

    aws s3 ls s3://chawish-test-20220726

    Output↓↓↓ ถ้าไม่ขึ้น Error และแสดงหน้าจอเหมือนด้านล่างนี้ก็ทำขั้นตอนถัดไปได้เลยครับ

  • เปลี่ยน Time Zone EC2 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: วิธีตั้งค่า Time Zone ใน Amazon Linux 2 ของ EC2
  • รันคำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบเวลาปัจจุบัน

    date

    รันคำสั่งนี้เพื่อเปลี่ยนเวลาจาก UTC ให้เป็น Asia/Bangkok (+07)

    ln -sf /usr/share/zoneinfo/Asia/Bangkok /etc/localtime

    และรันคำสั่ง

    date

    เพื่อตรวจสอบเวลาอีกครั้ง ก็จะเห็นว่าเวลาปัจจุบันเป็น Asia/Bangkok (+07) เรียบร้อยแล้วครับ

    ตั้งค่าการสร้างและอัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3 ทุกๆ 1 นาทีโดยอัตโนมัติ

    การสร้างไฟล์ Python

    ขั้นตอนนี้เป็นการสร้าง Python โดยให้ไฟล์ที่จะสร้างนี้อัปโหลดไปยัง S3 ตามเวลาที่เรากำหนดโดยอัตโนมัติ ! เมื่อพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยครับ

    รันคำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบเวอร์ชัน Python ที่อยู่ใน EC2

    python3 --version

    โดยปกติแล้ว python จะมีอยู่ใน EC2 ให้อยู่แล้วครับ

    สำหรับผู้ใช้งานที่ตรวจสอบเวอร์ชันแล้ว กรณีที่ไม่มี python ตามที่กล่าวไว้ ให้รันคำสั่งด้านล่างนี้เพื่อติดตั้งได้เลยครับ
    (ผู้ใช้งานที่มีอยู่แล้ว ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ)

    yum install python3 -y

    รันคำสั่งนี้เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Python

    wget https://raw.githubusercontent.com/classmethod-thailand/cmth_seminar/develop/s3_athena_material/create_sample_json_upload_s3.py

    เมื่อทำการ wget มาแล้ว ให้เพิ่ม path/json/เข้าไปเหมือนกับ Code ด้านล่างนี้
    โดยเพิ่มเข้าไประหว่าง 【 {s3_bucket_name} กับ {s3_path} 】 ก็จะเป็น{s3_bucket_name}/json/{s3_path}

    subprocess.run(["/usr/bin/aws", "s3", "cp", file_name, f"s3://{s3_bucket_name}/json/{s3_path}/"])

    รันคำสั่งนี้เพื่อเข้ามาที่ไฟล์ create_sample_json_upload_s3.py และเปลี่ยนชื่อ s3_bucket_name ในขั้นตอนถัดไป

    vi create_sample_json_upload_s3.py

    เมื่อเข้ามาที่ตัวไฟล์แล้วทำการเปลี่ยนชื่อ s3_bucket_name ให้เป็นชื่อ Bucket ของเรา
    ดูตัวอย่าง Code ที่นี่: create_sample_json_upload_s3.py

    • วิธีเปลี่ยนชื่อ s3_bucket_name
      • กดปุ่มiที่แป้นพิมพ์ ให้"create_sample_json_upload_s3.py" 26L, 669Bที่อยู่ด้านล่างซ้ายเปลี่ยนเป็น--INSERT--
      • หาคำว่าs3_bucket_nameแล้วคัดลอก Bucket ของเราที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้มาใส่แทนชื่อเก่า เช่น ในบทความนี้คือชื่อchawish-test-20220726เป็นต้น
    • เมื่อเปลี่ยนชื่อ s3_bucket_name เสร็จแล้วทำการ Save ตามนี้
      • กดปุ่มEscให้--INSERT--หายไป
      • จากนั้นพิมพ์:xหรือ:wq+ Enter

    รันคำสั่งนี้เพื่ออัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3

    python3 create_sample_json_upload_s3.py

    Output↓↓↓
    เมื่อรันคำสั่งนี้ไปแล้ว ตัวไฟล์ JSON จะถูกอัปโหลดขึ้นไปที่ S3 ครับ

    root@ip-172-31-30-143:~

    [root@ip-172-31-30-143 ~]# python3 create_sample_json_upload_s3.py
    upload: ./20220614_140411.json to s3://chawish-test-20220726/json/20220726/20220726_123000.json
    [root@ip-172-31-30-143 ~]#

    เข้ามาที่ S3 Bucket ของเรา แล้วทำการ Reload จะเห็นว่ามีไฟล์เพิ่มขึ้นมา คลิกเข้ามาที่โฟลเดอร์ตามวันที่ปัจจุบัน
    ทีนี้ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ JSON โดยติ๊กไฟล์ที่ต้องการดาวน์โหลด แล้วกดปุ่มDownloadได้เลยครับ

    เปิดดูไฟล์ด้วยโปรแกรม Notepad ของ Windows ได้เลย ซึ่งข้อมูลจะแสดงตามรูปภาพด้านล่างครับ

    รันคำสั่งนี้เพื่ออัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3 อีกครั้ง

    python3 create_sample_json_upload_s3.py

    Output↓↓↓
    เมื่อรันคำสั่งนี้ไปแล้ว ตัวไฟล์ Python จะสร้างและอัปโหลดไฟล์ JSON ขึ้นไปที่ S3 ครับ

    root@ip-172-31-30-143:~

    [root@ip-172-31-30-143 ~]# python3 create_sample_json_upload_s3.py
    upload: ./20220614_140605.json to s3://chawish-test-20220726/json/20220726/20220726_135000.json
    [root@ip-172-31-30-143 ~]#

    เปิดดูไฟล์ด้วยโปรแกรม Notepad ของ Windows อีกครั้ง ทีนี้ลองเปิดเทียบกันดู จะเห็นว่าเวลาจะต่างกันตามระยะเวลาที่เราทำการอัปโหลดไป

    ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการแก้ไขไฟล์ crontab เพื่อที่จะทำให้สามารถอัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3 ได้โดยอัตโนมัติ

    รันคำสั่งนี้เพื่อเข้ามาที่ไฟล์ crontab และทำการเพิ่ม Code ในขั้นตอนถัดไป

    vi /etc/crontab

    ทีนี้เรามาแก้ไขไฟล์ crontab โดยการเพิ่ม Code ตามนี้
    » กดปุ่มiให้คำว่า"/etc/crontab" 15L, 451Bที่อยู่ด้านล่างซ้ายเปลี่ยนเป็น-- INSERT --
    » Copy Code ด้านล่างนี้ และนำไปวางที่บรรทัดถัดไปของ# * * * * * user-name command to be executed

    * * * * * root /usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py

    root@ip-172-31-30-143:~

    SHELL=/bin/bash
    PATH=/sbin:/bin:/usr/sbin:/usr/bin
    MAILTO=root
    
    # For details see man 4 crontabs
    
    # Example of job definition:
    # .---------------- minute (0 - 59)
    # |  .------------- hour (0 - 23)
    # |  |  .---------- day of month (1 - 31)
    # |  |  |  .------- month (1 - 12) OR jan,feb,mar,apr ...
    # |  |  |  |  .---- day of week (0 - 6) (Sunday=0 or 7) OR sun,mon,tue,wed,thu,fri,sat
    # |  |  |  |  |
    # *  *  *  *  * user-name  command to be executed
    * * * * * root /usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py    // วาง Code ที่นี่
    ~
    ~
    ~
    ~
    ~
    -- INSERT --                                                                      15,70         All

    เมื่อเพิ่ม Code เสร็จแล้วทำการ Save ตามนี้
    » กดปุ่มEscให้คำว่า-- INSERT --ที่อยู่ด้านล่างซ้ายหายไป
    » พิมพ์:xหรือ:wq+ Enter

    root@ip-172-31-30-143:~

    SHELL=/bin/bash
    PATH=/sbin:/bin:/usr/sbin:/usr/bin
    MAILTO=root
    
    # For details see man 4 crontabs
    
    # Example of job definition:
    # .---------------- minute (0 - 59)
    # |  .------------- hour (0 - 23)
    # |  |  .---------- day of month (1 - 31)
    # |  |  |  .------- month (1 - 12) OR jan,feb,mar,apr ...
    # |  |  |  |  .---- day of week (0 - 6) (Sunday=0 or 7) OR sun,mon,tue,wed,thu,fri,sat
    # |  |  |  |  |
    # *  *  *  *  * user-name  command to be executed
    * * * * * root /usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py
    ~
    ~
    ~
    ~
    ~
    :x

    เมื่อเสร็จสิ้นจากการเพิ่ม Code แล้ว หลังจากนี้ตัวไฟล์ Python จะทำการสร้างและอัปโหลดไฟล์ JSON ขึ้นไปที่ S3 โดยอัตโนมัติทุกๆ 1 นาทีครับ

    ต่อไปรันคำสั่งนี้ทันทีเพื่อตรวจสอบการทำงานของไฟล์ crontab

    tail -f /var/log/cron

    Output↓↓↓
    เมื่อได้หน้าจอแบบนี้แล้วรอ 1 นาที

    root@ip-172-31-30-143:~

    [root@ip-172-31-30-143 ~]# tail -f /var/log/cron
    Jun 14 14:01:01 ip-172-31-30-143 run-parts(/etc/cron.hourly)[5372]: finished 0anacron
    Jun 14 14:10:01 ip-172-31-30-143 CROND[5411]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 CROND[5430]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:19:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:20:01 ip-172-31-30-143 CROND[5451]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 CROND[5464]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:24:01 ip-172-31-30-143 CROND[5481]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:25:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)

    เมื่อครบ 1 นาทีแล้ว จะเปลี่ยนเป็นแบบนี้โดยให้สังเกตเวลาปัจจุบัน เช่นJun 14 14:29:01

    root@ip-172-31-30-143:~

    [root@ip-172-31-30-143 ~]# tail -f /var/log/cron
    Jun 14 14:01:01 ip-172-31-30-143 run-parts(/etc/cron.hourly)[5372]: finished 0anacron
    Jun 14 14:10:01 ip-172-31-30-143 CROND[5411]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 CROND[5430]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:19:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:20:01 ip-172-31-30-143 CROND[5451]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 CROND[5464]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:24:01 ip-172-31-30-143 CROND[5481]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:25:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:29:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:29:01 ip-172-31-30-143 CROND[5554]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)

    เข้ามาที่ S3 Bucket จะเห็นว่ามีไฟล์ JSON อันที่ 3 เพิ่มขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

    และหลังจากนี้ไฟล์ JSON ก็จะถูกสร้างและอัปโหลดไปที่ S3 เรื่อยๆ ทุกๆ 1 นาที สมมุติเวลาผ่านไปแล้ว 5 นาที ไฟล์ก็จะถูกอัปโหลดไป 5 ไฟล์ตามเวลาตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ

    Jun 14 16:39:03
    Jun 14 16:38:03
    Jun 26 16:37:03
    Jun 26 16:36:03
    Jun 26 16:35:03

    root@ip-172-31-30-143:~

    [root@ip-172-31-30-143 ~]# tail -f /var/log/cron
    Jun 14 14:01:01 ip-172-31-30-143 run-parts(/etc/cron.hourly)[5372]: finished 0anacron
    Jun 14 14:10:01 ip-172-31-30-143 CROND[5411]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:18:01 ip-172-31-30-143 CROND[5430]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:19:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:20:01 ip-172-31-30-143 CROND[5451]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:23:01 ip-172-31-30-143 CROND[5464]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:24:01 ip-172-31-30-143 CROND[5481]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:25:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:29:01 ip-172-31-30-143 crond[2254]: (*system*) RELOAD (/etc/crontab)
    Jun 14 14:29:01 ip-172-31-30-143 CROND[5554]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:30:01 ip-172-31-30-143 CROND[5574]: (root) CMD (/usr/lib64/sa/sa1 1 1)
    Jun 14 14:30:01 ip-172-31-30-143 CROND[5575]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:31:01 ip-172-31-30-143 CROND[5594]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:32:01 ip-172-31-30-143 CROND[5608]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:33:01 ip-172-31-30-143 CROND[5622]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)
    Jun 14 14:34:01 ip-172-31-30-143 CROND[5636]: (root) CMD (/usr/bin/python3 /root/create_sample_json_upload_s3.py)

    เข้ามาที่ S3 Bucket อีกครั้ง จะเห็นว่ามีไฟล์ JSON เพิ่มขึ้นมาใหม่ 5 ไฟล์โดยอัตโนมัติ

    ในส่วนของหัวข้อ 1. ตั้งค่าการสร้างและอัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3 ทุกๆ 1 นาทีโดยอัตโนมัติ นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมจะทบทวนสิ่งที่ได้ทำมาจนถึงตอนนี้อีกครั้งครับ

    เมื่อเข้าใจวิธีการจัดการไฟล์ Python เพื่อสร้างและอัปโหลดไฟล์ JSON ไปยัง S3 โดยอัตโนมัติแล้ว ให้เริ่มทำหัวข้อถัดไปได้เลยครับ

    ตั้งค่าไฟล์ Upload ให้เป็นนามสกุล .json

    อันดับแรกให้เราเปิด Notepad ขึ้นมาก่อนและใส่ข้อมูลข้างล่างนี้ลงไปครับ

    {
      "fileLocations": [
        {
          "URIPrefixes": [
            "s3://chawish-test-20220726/json/"
          ]
        }
      ],
      "globalUploadSettings": {
       "format": "JSON"
      }
    }

    และในส่วนของ s3: ให้เราใส่ชื่อ S3 Bucket ที่เราสร้างลงไปนะครับ ตามด้วย file path ที่เราใช้งานโดยในตัวอย่างผมจะใช้ /json/ นะครับในการเก็บข้อมูล จากนั้นให้เรา Save file เป็นชื่อ my_manifest นามสกุล .JSON และชื่อ ตามรูปภาพด้านล่างได้เลยครับ

    ต่อไปให้ทำการ Upload ไฟล์ my_manifest.json ลงไปยัง Bucket S3 นะครับ
    เมื่อเราลากไฟล์ลงไปใน Bucket ก็จะแสดงข้อมูลแบบนี้ให้เรารู้ว่าตอนนี้ไฟล์ถูกวางไว้ที่ไหน
    เมื่อเช็คความถูกต้องของไฟล์และตำแหน่งแล้วก็ทำการกดปุ่ม Upload ได้เลยครับ
    และนี้คือผลลัพธ์หลังจาก Upload ไฟล์เสร็จเรียบร้อยครับ

    Amazon QuickSight

    ในส่วนนีจะเป็นการเริ่มต้นใช้งาน QuickSight นะครับ โดยเราจะเริ่มจากการสร้าง Account เพื่อใช้งาน QuickSight กันครับซึ่งสามารถทำตามขั้นตอน

    การสมัครบัญชี QuickSight ใน AWS

    Description: Amazon QuickSight เป็นบริการ Business Intelligence (BI) ที่ปรับขนาดได้สำหรับระบบคลาวด์ สำหรับผู้เริ่มที่ต้องการใช้งาน สามารถสมัครบัญชีเพื่อเข้าใช้งาน QuickSight ได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้อีเมล

    ครั้งนี้ ผมจะมาแนะนำวิธีการสมัครบัญชี QuickSight ใน AWS

    การสมัครบัญชี QuickSight

    ค้นหา ?︎QuickSight» เลือกQuickSight

    คลิกSign up for QuiskSight

    ครั้งนี้ผมจะสร้างบัญชีโดยใช้ Standard Edition
    » คลิกStandard

    ทำในส่วนของ Create your QuickSight account ตามนี้
    » เลือก Select a region:Asia Pacific (Singapore)
    » ใส่ชื่อบัญชีของเราตามต้องการ เช่น QuickSight account name:cmth-chawish
    » ใส่อีเมลที่ต้องการสมัครบัญชี เช่น Notification email address:chawish.tilakul@classmethod.co.th

    เลื่อนลงมาด้านล่างสุด คลิกFinish
    QuickSight access to AWS services จะใช้เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งในการใช้งานนี้ให้เราติ้กเลือกใช้งาน S3 ด้วย
    จากนั้นเลือก Bucket ที่เราต้องการจะใช้งานซึ่งในตัวอย่างของผมคือ chawish-test-20220726 นะครับ
    หลังจากนั้นกดปุ่ม Finish เพื่อยืนยันการตั้งค่าครับ

    คลิกGo to Amazon QuickSight

    หน้า Popup Welcome to QuickSight ให้คลิกกากบาทหรือคลิกNextเพื่อดูรายละเอียดการทำงานเบื้องต้นได้

    เมื่อสร้างบัญชี QuickSight เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้หน้าตาแบบนี้

    การสร้าง Dataset

    ให้เราเลือกเมนูหัวข้อ Dataset นะครับแล้วกดปุ่ม New Datasets ได้เลยครับ
    เลือกใช้งานเป็น S3 นะครับผม
    จากนั้นระบบจะให้เราเลือก Data source จาก S3 Bucket นะครับ และก็ Upload ข้อมูลต่างๆ โดยใช้งานไฟล์ my_manifest.json ที่อยู่ใน S3 Bucket โดยให้เราเลือกเป็น URL นะครับ

    ในส่วนของ URL เราสามารถหาได้จากการเข้าไปที่หน้า S3 Bucket ของเราและเลือกไฟล์ ตามด้วยกดปุ่ม Copy URL ครับดังที่เห็นตามรูปเลย
    เมื่อกรอกข้อมูลทั้งหมดเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Connect ได้เลยครับ หลังจากนั้นระบบแสดง Pop up นี้ขึ้นมาเพื่อยืนยันว่าสร้าง Dataset สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราคลิ้กที่ปุ่ม Edit/Preview data เพื่อทดสอบการใช้งานตามรูปครับ

    การทดสอบใช้งาน QuickSight

    อันดับแรกให้เราทดสอบคิวรี่ข้อมูลว่า มีข้อมูลตรงกันกับไฟล์ที่อยู่ใน S3 หรือตามภาพ

    ถ้ามีข้อมูลตรงกันแสดงว่าทำขั้นตอนทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนครับ หลังจากนี้เราก็สามารถนำข้อมูลใน S3 มาใช้งานใน QuickSight ได้แล้วครับตามตัวอย่างในภาพเลย

    สรุป

    และนี้คือเนื้อหาการใช้งาน Amazon S3 ควบคู่กับ Amazon QuickSight ที่ผมอยากจะมาเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ หวังว่าเนื้อหาในบล็อกนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้และความเข้าใจในการใช้งาน AWS มากขึ้นนะครับและขอขอบคุณ
    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีการใช้ S3 จาก EC2 และการใช้ AWS CLI S3
  • การสมัครบัญชี QuickSight ใน AWS
  • การลบบัญชี QuickSight ใน AWS
  • การรัน SQL ไปยังไฟล์ใน S3 ด้วย Glue กับ Athena