BI คืออะไร? QuickSight คืออะไร?

BI คืออะไร? QuickSight คืออะไร?

Clock Icon2022.03.11 08:42

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

BI คืออะไร

เชื่อว่าช่วงหลายปีมานี้ เราได้ยินคำว่า “data driving” ปรากฎขึ้นบ่อยครั้งบนอินเทอร์เน็ตและแวดวงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Data Driven Organization , Data Driven Marketing ฯลฯ

“data driving” ก็คือใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ บริหารจัดการ ดำเนินธุรกิจ หรือทำการตลาด ซึ่งแน่นอนการจะให้องค์กรสามารถทำแบบนั้นได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ จึงได้มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้น

1 ในนั้นก็คือ BI หรือ Business Intelligence ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ และแสดงผลออกมาเป็นภาพ กราฟ หรือ แดชบอร์ด เพื่อให้เราสามารถเข้าใจข้อมูลได้มากขึ้น และ ง่ายขึ้น

คอนเซปต์การทำงานของ BI

BI มีจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยลดภาระงานให้เรา ทำให้เราสามารถโฟกัสที่ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ (Insight Data) โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการจัดการข้อมูลเยอะ ๆ อย่างที่เคยเป็น ทำให้งานมีความเป็น Automation มากขึ้น

BI ช่วยให้ผู้บริหาร หรือผู้จัดการสามารถเข้าใจข้อมูลได้ด้วยตนเอง นำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการด้วยตนเองได้

การเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือ BI อาจมีความยุ่งยาก แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนศึกษาหาข้อมูลและตั้งค่าการใช้งาน เพราะหากตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะช่วยประหยัดเวลาเราได้มหาศาล

QuickSight คืออะไร

QuickSight คือ เครื่องมือ BI ราคาประหยัดจากค่าย AWS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาว์ชื่อดัง ที่เปิดตัวใช้งานตั้งแต่ปี 2016 และแน่นอนว่าเครื่องมือ BI นี้ก็ให้บริการในรูปแบบคลาวด์ และคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงตามคอนเซปต์หลักของ AWS แปลว่าเราไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา จะอยู่ที่ไหนบนโลก ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าใช้งานได้

ข้อดีการใช้งานเครื่องมือ BI ของค่าย AWS

สำหรับท่านที่คุ้นเคยเรื่องคลาวด์อยู่บ้างก็คงพอจะทราบว่า AWS เป็นผู้นำในตลาดคลาวด์มาโดยตลอด เป็นคลาวด์อันดับหนึ่งที่ถูกใช้งานทั่วโลก มีส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด การใช้งานเครื่องมือ BI ของค่าย AWS จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ

เชื่อมต่อแหล่งข้อมูลได้หลากหลาย

สืบเนื่องจากความแข็งแกร่งในการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางไอที (infrastructure) ของ AWS QuickSight จึงมีจุดเด่นเรื่องการเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลได้หลากหลายประเภท เราสามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมที่ใช้ภายในบริษัท เช่น Salesforce เพื่อให้นำเข้าข้อมูลมายัง QuickSight โดยอัตโนมัติ

หรือจะนำเข้าข้อมูลด้วยตัวเอง QuickSight ก็รองรับการใช้งานไฟล์สกุล CSV / TSV, ELF / CLF, JSON, XLSX

หรือจะใช้งานร่วมกับเครื่องมือ AWS อื่น ๆ ก็ยิ่งปัง เราสามารถใช้งานร่วมกับ infrastructure (โครงสร้างระบบ) ของ AWS เพื่อวางโครงสร้างระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของบริษัทของเรา (Personalization) ได้ เพราะเครื่องมือคลาวด์ของ AWS มีให้บริการกว่า 200 เครื่องมือ ซึ่งเยอะที่สุดในตลาด และมีเครื่องมือใหม่ ๆ ออกมาทุก ๆ ปี จะใช้ QuickSight ร่วมกับการทำ Data Warehouse หรือ Datalake ก็ทำได้ สบาย ๆ?

เช็กรายละเอียดแหล่งข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อกับ QuickSight ได้ที่ ลิงก์นี้

บริการ serverless จ่ายตามการใช้งาน

เมื่อมีปริมาณงานจำนวนมากหรือมีผู้เข้าใช้งานหลายคน QuickSight จะปรับขนาดอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดฐานข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมทั้งคิดค่าบริการตามปริมาณพื้นที่ประมวลผลที่ใช้งาน (SPICE) โดย QuickSight จะมี 3 รูปแบบให้เลือกใช้คือ Standard ,Enterprise และ Enterprise + Q ไว้ในบทความหน้าจะมาเล่าความแตกต่างของแต่ละรูปแบบนะคะ

อธิบายความแตกต่าง 3 รูปแบบ
Standard = แบบพื้นฐาน แยกผู้ใช้งานเป็น User เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก – กลาง
Enterprise = แยกผู้ใช้งานเป็น Author (ผู้สร้าง&ปรับตั้งค่า) และ Reader (ผู้เข้าชม) และเพิ่มฟังก์ชันความปลอดภัย การรายงานข้อมูลทางอีเมล และ ML Insight
Enterprise + Q = เหมือนกับ Enterprise แต่เพิ่มฟังก์ชันการรับรู้เสียงธรรมชาติของมนุษย์ ปัจจุบัน(มีนาคม 65) ยังมีแค่ภาษาอังกฤษ

จุดเด่น 3 : BI บนคลาวด์ ใช้งานผ่านเบราว์เซอร์

เราสามารถใช้งาน QuickSight ได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และใช้งานทุกฟังก์ชันได้ครบถ้วนโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมลงบนคอมพิวเตอร์ เพิ่มความสะดวกสบายให้กับยุค WFH

สรุป

คิดว่าทุกคนน่าจะได้รู้จักกับ QuickSight โดยคร่าว ๆ กันแล้ว จิ๋วคิดว่าเป็นตัวเลือกการใช้งาน BI ในราคาที่สมเหตุสมผล เริ่มต้นใช้งานได้ง่าย อาจใช้ร่วมกับระบบที่มี หรือขยับขยายต่อยอดเพิ่มเติมร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ได้หลากหลาย

อ่านบทความเรื่อง QuickSight เพิ่มเติมได้ที่
การสมัครบัญชี QuickSight ใน AWS

วิธีการสร้าง Dataset จาก CSV ใน QuickSight

วิธีการ JOIN ใน Dataset ของ QuickSight

การสร้างกราฟ Donut ใน Analytics บน QuickSight

แหล่งอ้างอิง
- What is Amazon QuickSight?
- Amazon QuickSight
- Supported data sources

この記事をシェアする

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.