How To Static Website EP3: เปลี่ยนชื่อ Domain Name (ชื่อเว็บไซต์) ง่าย ๆ ด้วย Amazon Route 53 และ AWS Certificate Manager พร้อมสอนการสร้าง SSL

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกับพิชชาอีกแล้วนะคะ วันนี้พิชชาก็มาพร้อมกับบทความต่อจาก How To Static Website EP2: การเก็บข้อมูลเว็บไซต์ลงบน Amazon S3 เพื่อให้ไปแสดงผลผ่าน Amazon CloudFront

ในบทความนี้พิชชาจะมาพูดถึงเจ้าตัว Amazon Route 53 กันค่ะ ใครที่อยากจะเปลี่ยนชื่อ Domain Name หรือตั้งชื่อเว็บไซต์ของตัวเองนะคะ พิชชาจะมาเล่าถึงขั้นตอนและวิธีการให้ทุกท่านได้เช้าใจง่าย ๆ ค่ะ ถ้าทุกคนพร้อมแล้วก็ไปติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

Amazon Route53 คืออะไร?

Amazon Route53 คือ บริการ DNS (Domain Name System) ที่สามารถกระจายไปทั่วโลกเนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับบริการ อื่น ๆ ของ AWS ได้ อีกทั้งในกรณีที่ทำการสร้าง Domain Server จากที่อื่น คุณก็ยังสามารถใช้งาน Amazon Route53 ในการเปลี่ยนชื่อ Domain Name ได้เช่นเดียวกัน (ค่าธรรมเนียมเพียงแค่ประมาณ 16 บาท / 1 Domain / เดือน)

สิ่งที่จำเป็นต้องมี

จำเป็นที่จะต้องสร้าง Distribution บน Amazon CloudFront ก่อน ซึ่งสามารถดูขั้นตอนได้ที่ How To Static Website EP2: การเก็บข้อมูลเว็บไซต์ลงบน Amazon S3 เพื่อให้ไปแสดงผลผ่าน Amazon CloudFront

ขั้นตอนในการเปลี่ยนชื่อ Domain Name

1. สร้าง Hosted Zone

เข้าไปที่ Route 53

เข้าไปที่ Hosted zones

จากนั้นเลือก Create hosted zone

กรอกชื่อของ Domain name เช่น "cmth.work2" จากนั้นสามารถกด Create hosted zone ได้เลย

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะขึ้นหน้าตาแบบนี้

ถ้าหากมีการจดทะเบียนเว็บไซต์หรือ Domain name กับที่อื่น ก็สามารถใช้ Domain name นั้นแทนได้เลย

2. ตั้งชื่อ Domain name

ให้ทำการกด Create record

จากนั้นใส่ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการใน Record name เลือก Alias to CloudFront distribution จากนั้นใส่ชื่อ Domain name ที่ได้ทำการ Generate เอาไว้ และกด Create records ได้เลย

เมื่อสร้าง Record เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีหน้าตาแบบนี้

เมื่อลองมาทดสอบกับ Web browser แล้วก็จะเห็นว่ายังไม่สามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้ เพราะต้องมีการขอ SSL จาก AWS Certificate Manager ก่อน

AWS Certificate Manager คืออะไร?

AWS Certificate Manager คือ บริการที่ช่วยให้คุณสามารถเตรียมใช้งาน จัดการ และปรับใช้ใบรับรอง Secure Sockets Layer/Transport Layer Security (SSL/TLS) แบบสาธารณะหรือแบบส่วนตัวเพื่อใช้กับบริการของ AWS อีกทั้งค่าธรรมเนียมในการใช้งานฟรี และมีการอัปเดตอัตโนมัติ ทำให้การจัดการง่ายขึ้น

วิธีการสร้าง SSL ให้กับเว็บไซต์

เข้าไปที่ Certificate manager

ให้ไปที่มุมขวาบนแล้วเลือก Region เป็น US East (North Virginia) us-east-1 จากนั้นกดที่ Request a certificate
เนื่องจากขั้นตอนในการสร้าง Certificate หรือ SSL จำเป็นต้องใช้ Region ที่อยู่ในฝั่งของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ไม่สามารถใช้ Region ที่อยู่ทางฝั่งเอเชียได้

จากนั้นกดที่ Create a certificate

ให้ใส่ Domain name ที่ได้สร้างจาก S3 Bucket เช่น s3-cf-chawish-web.cmth.work จากนั้นสามารถกด Next ไปจนถึง Step 5: Validation ได้เลย

จากนั้นกด Create record in Route 53

จะขึ้นหน้าต่างแบบนี้ ให้กด Create และสามารถกด Continue ในหน้าต่อไปได้เลย

รอสถานะการ Validation เมื่อเรียบร้อยแล้วจะขึ้นหน้าตาแบบนี้

จากนั้นให้ไปที่หน้าของ CloudFront และหา Distribution ที่เป็นของเรา

ไปที่หัวข้อ General และกด Edit

ในส่วนของ Alternate domain name ให้กดที่ Add item และใส่ Domain name ที่เราสร้างจาก Route 53 เช่น s3-cf-chawish-web.cmth.work
และในส่วนของ Custom SSL certificate ให้เราเลือก Certificate ที่เราได้สร้างไว้ จากนั้นกด Save changes ได้เลย

จากนั้นลองกลับมาที่หน้าเว็บไซต์ของเรา

เมื่อเราทำการ Refresh ก็จะเห็นว่าเว็บไซต์สามารถเข้าได้แล้ว โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง http และ https
เท่านี้เราก็สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้ตามปกติแล้วค่ะ


นี่ก็เป็นขั้นตอนในการเปลี่ยนชื่อ Domain Name หรือการตั้งชื่อเว็บไซต์โดยใช้ Amazon Route 53 พร้อมกับวิธีในการสร้าง SSL ขั้นตอนไม่ซับซ้อนเลยใช่ไหมคะ และถ้าหากท่านใดที่ยังมีข้อสงสัย หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Classmethod Thailand ได้เลยนะคะ ส่วนในวันนี้พิชชาก็ขอตัวลาไปก่อนนะคะ แล้วเจอกันใหม่ในบทความตอนต่อไปค่ะ

ทุกท่านสามารถอ่านบทความของซีรี่ส์ก่อนหน้าได้ที่
How To Static Website EP1: แนะนำก่อนเริ่มต้นใช้งาน
How To Static Website EP2: การเก็บข้อมูลเว็บไซต์ลงบน Amazon S3 เพื่อให้ไปแสดงผลผ่าน Amazon CloudFront

ข้อมูลในบทความนี้ที่พิชชานำมาเล่าให้ทุกท่านได้อ่านนะคะ ก็มาจากงานสัมมนา "งานสัมมนาออนไลน์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้ AWS วิธีสร้างเว็บเพจ Static ในราคาที่แสนถูกด้วย S3+CloudFront" ของทาง Classmethod Thailand ที่ได้จัดขึ้น หากท่านใดที่สนใจงานสัมมนาอื่น ๆ ของทาง Classmethod Thailand ที่จะจัดขึ้นในอนาคต ทุกท่านสามารถเข้ามาดูในส่วนของตารางกิจกรรมได้ที่ Classmethod Thailand เลยค่ะ แล้วอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง