การสร้างตารางใน Analytics บน QuickSight
ครั้งนี้ ผมจะมาแนะนำวิธีการสร้างตารางใน Analytics บน QuickSight ต่อจากบทความ วิธีการ JOIN ใน Dataset ของ QuickSight
สิ่งที่ต้องมี
ต้องทำการ JOIN ใน Dataset ก่อน จึงจะสามารถสร้างตารางใน Analytic ได้ สามารถดูวิธีการทำได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลย
- วิธีการ JOIN ใน Dataset ของ QuickSight
เมื่อทำการ JOIN ใน Dataset เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดข้ามไปที่หัวข้อ การสร้างตารางใน Analytic ได้เลย
※ สำหรับผู้ที่มี Datasets อยู่แล้ว และต้องการใช้ Datasets ที่มีอยู่ สามารถทำตามขั้นตอน การสร้าง Analyses ด้วย Datasets ที่มีอยู่ ในหัวข้อถัดไปได้เลย
การสร้าง Analyses ด้วย Datasets ที่มีอยู่
คลิกAnalyses
ตามด้วยคลิกNew Analysis
เลือก Datasets ของเรา ตัวอย่างนี้คือDemo1
คลิกCreate analysis
เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะได้หน้าตาแบบนี้
การสร้างตารางใน Analytic
เปลี่ยนชื่อ Analysis ตามต้องการโดยคลิกที่ช่องนี้ได้เลย เช่นผมจะสร้างตาราง ก็จะใช้เป็นชื่อTable
เป็นต้น
และในส่วนของ Sheet สามารถเปลี่ยนชื่อได้ 2 วิธีดังนี้
① ดับเบิ้ลคลิกที่ Sheet 1 สองครั้ง ตามด้วยใส่ชื่อที่ต้องการ
② คลิกที่สัญลักษณ์⌵
และเลือกRename
จากนั้นใส่ชื่อที่ต้องการลงไปได้เลย
ปรับขนาด Visual ได้ตามต้องการ (ในช่องสีแดงนี้จะเรียกว่า Visual)
ซึ่งในตัวอย่างนี้จะใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะ เพราะว่าต้องการเพิ่มข้อมูลต่างๆ ลง Visual ในรูปแบบ Table จำนวน 6 คอลัมน์
เมื่อได้ขนาดที่ต้องการแล้ว เราจะมาสร้างตารางโดยคลิกที่Table:
คลิกที่created_at
ค้างไว้ แล้วลากไปวางที่ช่อง Value
เมื่อ create_at อยู่ในช่อง Value ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงในช่อง Visual จะเห็นว่ามีข้อมูลวันที่แสดงออกมาในรูปแบบตาราง
ในขั้นตอนนี้ก็ให้ทำเหมือนกันกับ created_at เมื่อสักครู่นี้ โดยเลือกและคลิก Fields ที่เราต้องการใช้งานค้างไว้ แล้วลากไปวางที่ช่อง Value
Fields ที่จะใช้ในตัวอย่างนี้มีทั้งหมด 6 Fields ดังนี้ (Fields ทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่าง)
- created_at
- company_name
- country
- item_name
- price
- quantity
ระหว่างที่ทำการเพิ่ม Fields ไปยัง Value ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของตารางด้วย
เมื่อ Fields ที่ต้องการใช้งานอยู่ในช่อง Value ทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่ามีข้อมูลต่างๆ แสดงออกมาในรูปแบบตาราง เช่น วันที่ ชื่อบริษัท ที่อยู่ รหัสสินค้า ราคา และจำนวน เป็นต้น
มาดูที่ข้างใน Visual ในส่วนที่มาร์คไว้คือชื่อ Title ของ Visual ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนชื่อ Title ได้ตามต้องการโดยคลิกตรงข้อความที่มาร์คไว้ จากนั้นลบและใส่ชื่อ Title ได้เลย
ตัวอย่างนี้จะใช้ชื่อ Title เป็นDetail list
แต่ถ้าเราไม่ต้องการแสดงชื่อ Title ให้คลิกที่⚙ ตั้งค่า
ได้เลย
จากนั้นมาที่เมนูด้านซ้ายมือ คลิกที่Title
แล้วดูที่✅Show title
ถ้าเราทำการ ✅Checkbox ไว้แบบนี้ ก็จะสามารถแสดง Title ได้
แต่ถ้าไม่ต้องการให้ Title แสดง ก็ให้ทำการ ☐ Uncheckblox แล้ว Title ก็จะไม่แสดง
เมื่อทำการเพิ่มข้อมูลที่ต้องการเสร็จแล้ว สามารถปรับแต่งขนาดคอลัมน์ของตารางและขนาดของ Visual ได้ตามต้องการ
เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้าง Table ที่แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบตารางได้แล้ว
การใช้ Group by
ในกรณีที่ใช้ Group by จะเป็นการรวมข้อมูลในตารางทั้งหมดมาจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะซ้ำกัน เพื่อใช้ในการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในตารางได้
มาที่เมนูด้านซ้ายบน คลิก+ Add
ตามด้วยเลือกAdd visual
เมื่อได้ Visual มาแล้ว คลิกTable:
คลิกที่ item_name ค้างไว้ แล้วลากมาวางที่ Group by และคลิกที่ price ค้างไว้ แล้วลากมาวางที่ Value
จากนั้นสังเกตที่ตาราง จะเห็นว่ามีการจัดรียงและรวมข้อมูลของราคาในคอลัมน์ price ทั้งหมดมาเป็นกลุ่มเดียวกัน
สังเกตที่คอลัมน์ price (Sum)
SUM จะบวกค่าต่างๆ เช่น item_name:AAA01 จะมีค่า price ทั้งหมด 142,040,000 (ราคา)
เปลี่ยนจาก Sum เป็น Average ได้ดังนี้
» คลิกที่ price (Sum)⌵
» เลือกAggregate: Sum ﹥
» เลือกAverage
สังเกตที่คอลัมน์ price (Average)
Average จะหาค่าเฉลี่ยต่างๆ เช่น item_name:AAA01 จะมีค่า price ทั้งหมด 50,494.1343 (ค่าเฉลี่ย)
เปลี่ยนจาก Average เป็น Count ได้ดังนี้
» คลิกที่ price (Average)⌵
» เลือกAggregate: Average ﹥
» เลือกCount
สังเกตที่คอลัมน์ price (Count)
COUNT จะนับจํานวน Value ที่มีตัวเลขทั้งหมดในคอลัมน์ price เช่น item_name:AAA01 จะมีข้อมูล price ทั้งหมด 2,813 Value เป็นต้น
สรุป
การสร้างตารางใน Analytics สามารถเลือก Fields ที่ต้องการมาแสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบตารางได้ รวมไปถึงการปรับแต่ง Option ต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ ได้อีกด้วย