ประเภทการเทรนนิ่งของวิศวกร และ ข้อดีข้อเสียของแต่ละประเภท

ประเภทการเทรนนิ่งของวิศวกร และ ข้อดีข้อเสียของแต่ละประเภท

นี่เป็นบทความที่มีเนื้อหาดัดแปลงมาจากบทความภาษาญี่ปุ่นของ Classmethod, Inc. ในหัวข้อ エンジニア研修3つの種類とメリット・デメリット หากผู้อ่านสนใจอ่านเนื้อหาต้นฉบับสามารถอ่านได้ที่ลิ้งค์ "บทความต้นฉบับ" ด้านล่าง เนื้อหาในบทความนี้มีการอัพเดทเนื้อหาบางอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นทำให้แตกต่างจากต้นฉบับในบางจุด

ในปัจจุบันมีคำศัพท์ต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (DX) ได้กลายเป็นที่แพร่หลาย และความสำคัญของการใช้ไอทีในธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนวิศวกรยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่ โดยเฉพาะการสรรหาวิศวกรที่มีความสามารถเป็นพิเศษกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น
แน่นอนว่าคุณจะปล่อยให้งานไอทีเป็นหน้าที่ของไอทีเวนเดอร์หรือบริษัทพัฒนาระบบก็ได้ แต่คนที่รู้เกี่ยวกับธุรกิจและการดำเนินงานของบริษัทของคุณมากที่สุดก็คือพนักงานของคุณ เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล่าสุดเข้ากับธุรกิจด้วยความรวดเร็ว บริษัทจำนวนมากขึ้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเทรนนิ่งวิศวกรภายในองค์กร ดังนั้นการเทรนนิ่งวิศวกรเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในบทความนี้จะอธิบายรายละเอียดว่ามีวิธีการใดบ้าง

สารบัญ
★วิธีการเทรนนิ่งวิศวกร 3 วิธี
★หากจะเทรนวิศวกรในขณะนี้ ต้อง "Cloud Training"
★จะศึกษา Cloud ของเจ้าไหน วิธีการเรียนรู้บริการ AWS ผู้ให้บริการชั้นนำ

วิธีการเทรนนิ่งวิศวกร 3 วิธี

3 วิธีในการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นของวิศวกร

เรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-Training)

วิธีแรกคือการให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อเริ่มเรียนรู้ หลายคนอาจมีข้อกังวลเช่น "ฉันไม่รู้ว่าจะเรียนรู้อะไร" หรือ "ฉันไม่รู้ว่าจะเรียนรู้อย่างไร" อย่างไรก็ตาม มี certificate ที่เกี่ยวข้องกับไอทีมากมาย ดังนั้นการเรียนรู้เนื้อหาสำคัญเพื่อนำไปสอบ certification ก่อนถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

แม้ว่าการพัฒนาทักษะของพนักงานจะดำเนินไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนนิ่ง แต่ข้อเสียก็คือบริษัทไม่สามารถควบคุมผลสัมฤทธิ์ได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับความกระตือรือร้นของตัวพนักงาน เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้ บริษัทบางแห่งจึงจัดให้มีสิ่งจูงใจเพื่อให้พนักงานเรียนรู้ เช่น การขึ้นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพิเศษสำหรับผู้ที่มี certificate

เทรนนิ่งภายในบริษัท (Internal Training)

ทางเลือกที่สองคือการจัดให้พนักงานที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ เมื่อปฏิบัติตามโปรแกรมเทรนนิ่ง คุณสามารถรับประกันผลลัพธ์ได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องพึ่งความกระตือรือร้นของพนักงานเพียงอย่างเดียว และ ข้อดีอีกประการหนึ่งคือสามารถลดต้นทุนเมื่อเทียบกับการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากข้างนอกมาเทรนให้ นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดค่าเนื้อหาและหลักสูตรเทรนนิ่งได้อย่างยืดหยุ่นตามธุรกิจและความต้องการของบริษัทของคุณ

ข้อเสียคือสามารถสร้างภาระหนักให้กับพนักงานที่ทำหน้าที่เทรนเนอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเทรนนิ่งวิศวกร หากวิศวกรถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ เวลาทำงานของวิศวกรคนนั้นจะถูกใช้ไปกับการเตรียมและดำเนินการเทรนนิ่ง แทนที่จะได้โฟกัสในส่วนงานวิศวกรของตัวเอง อีกทั้งการเทรนนิ่งแบบที่ควรจะเป็น ผู้เรียนควรที่จะสามารถอัปเดทความรู้ล่าสุดได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในปัจจุบันความรู้ทางด้านไอทีพัฒนาอย่างรวดเร็ว การอัปเดทข้อมูลความรู้ไอทีล่าสุดจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตัวเทรนเนอร์ในการเตรียมเทรนนิ่งได้เช่นกัน

นอกจากนี้การเป็นวิศวกรที่มีความสามารถไม่ได้แปลว่าจะสามารถสอนคนได้เก่งเสมอไป คุณภาพของการเทรนนิ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ทำหน้าที่สอน

เทรนนิ่งโดยจ้างผู้เชี่ยวชาญจากข้างนอก

สุดท้ายนี้ มีตัวเลือกในการจ้างผู้เชี่ยวชาญจากข้างนอก เช่น บริษัทที่รับเทรนนิ่งวิศวกร ประโยชน์สำคัญของการมอบหมายการเทรนนิ่งให้กับมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านเทรนนิ่งก็คือ คุณสามารถเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ วิศวกรจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะที่หลากหลาย การเทรนนิ่งที่ดำเนินไปโดยการเชื่อมโยงแต่ละองค์ประกอบตามลำดับเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำให้พนักงานสามารถได้รับความรู้และทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียได้แก่ มีค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่ง และ เนื่องจากเทรนนิ่งส่วนใหญ่เป็นเทรนนิ่งเนื้อหาความรู้ทั่วไปกว้างๆ ทำให้ยากที่จะสามารถจัดการเรียนรู้เนื้อหาเฉพาะสำหรับธุรกิจของบริษัทของคุณ

หากจะเทรนวิศวกรในตอนนี้ ต้อง "Cloud Training"

หากคุณจะเริ่มเทรนนิ่งวิศวกรภายในบริษัทของคุณ หัวข้อหนึ่งที่คุณควรเรียนรู้คือระบบคลาวด์ คลาวด์ได้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมาสู่โลกไอทีและกลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ คลาวด์มีประโยชน์มากมาย หนึ่งในนั้นคือความรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการจัดซื้อ ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนการใช้เวลา 2-3 เดือนในการจัดหาฮาร์ดแวร์เพื่อสร้างระบบใหม่เป็นเรื่องปกติ การพิจารณา sizing ล่วงหน้ายังเป็นสิ่งสำคัญโดยพิจารณาจาก "ข้อกำหนดของอุปกรณ์ที่จำเป็น" และสิ่งนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆหลังจากเซ็ตอัพระบบ

อย่างไรก็ตาม การถือกำเนิดของคลาวด์ทำให้เราได้เข้าสู่ยุคที่สามารถจัดหาฮาร์ดแวร์ได้ทันทีจากเว็บเบราว์เซอร์ ไม่จำเป็นต้องกำหนดขนาดล่วงหน้า และคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายดายหลังจากสร้างระบบ เช่น "ฉันต้องการเพิ่มสเปคเนื่องจากมีผู้ใช้มากกว่าที่ฉันคาดไว้” อย่างที่ทุกคนทราบว่าการเกิดขึ้นของคลาวด์นำไปสู่การเพิ่มความรวดเร็วของธุรกิจทั่วโลกอย่างท่วมท้น

ในการใช้บริการคลาวด์ คุณสามารถจ้างเวนเดอร์ที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลให้คุณทั้งหมดได้เช่นกัน แต่หากคุณมอบหมายทั้งหมดให้เวนเดอร์แปลว่าคุณจะต้องรีเควสไปหาให้เวนเดอร์ทำงานให้ทุกครั้ง และต้องใช้เวลาในการสร้างหนึ่งเซิร์ฟเวอร์บนคลาาวด์ ทำให้คุณไม่สามารถใช้ประโยชน์เรื่องความรวดเร็ดของคลาวด์ได้เต็มที่

เพื่อที่คุณจะสามารถใช้งานระบบคลาวด์ได้ "อย่างต่อเนื่อง" "อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง" และ "ลดต้นทุน" การเรียนรู้เกี่ยวกับคลาวด์จึงเป็นเรื่องที่ควรค่าก็ว่าได้

นอกจากนี้ พนักงานในองค์กรคือผู้ที่เข้าใจธุรกิจและประเด็นปัญหามากที่สุดเมื่อคุณจะต้อง พิจารณาการใช้คลาวด์สำหรับธุรกิจ และ วิธีแก้ปัญหาของบริษัท จึงเป็นเรื่องสำคัญที่วิศวกรภายในองค์กรจะต้องเข้าใจและสามารถใช้ระบบคลาวด์ได้อย่างคล่องแคล่ว

จะศึกษา Cloud ของเจ้าไหน วิธีการเรียนรู้บริการ "AWS" ผู้ให้บริการชั้นนำ

เมื่อพูดถึงบริการคลาวด์ มีบริการที่หลากหลาย แต่ AWS เป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากมีประวัติอันยาวนานและมีบริษัทหลายแห่งใช้งาน AWS นอกจากนี้เริ่มมีบทความที่ให้ความรู้มากขึ้น มีคอมมิวนิตี้ของผู้เรียนที่กระตือรือร้น จึงทำให้มีอุปสรรคในการเรียนต่ำ

ดังนั้น แม้ว่าคุณจะสามารถศึกษาด้วยตนเองโดยอ้างอิงเนื้อหาต่างๆได้ แต่สำหรับ AWS เราขอแนะนำให้ใช้บริการเทรนนิ่งที่จัดทำโดย AWS พาร์ทเนอร์ที่ได้รับการรับรอง และเนื่องจาก AWS มีบริการมากกว่า 200 รายการ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เริ่มต้น โดยเฉพาะในการตัดสินใจว่าจะเรียนรู้ที่ไหน อย่างไร แต่การเทรนนิ่งจะช่วยให้คุณเรียนรู้ข้อมูลที่คุณต้องการได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ AWS มีการเปลี่ยนแปลงและเปิดตัวบริการและฟีทเจอร์ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง บทความและข้อมูลเก่าๆต่างๆอาจจะยังหลงเหลืออยู่บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการเข้าร่วมเทรนนิ่งจะให้ทำเราสามารถติดตามข้อมูลอัปเดทได้อย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้องกับการเทรนนิ่งวิศวกร

การฝึกอบรม AWS (จ่ายเพียงแค่ค่าใช้บริการจาก AWS)
Free webinar กับ Classmethod Thailand
รวมบทความเกี่ยวกับการใช้งาน AWS

บทความต้นฉบับ

エンジニア研修3つの種類とメリット・デメリット

この記事をシェアする

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.