รู้จักผู้ให้บริการ Public cloud อันดับ 1 ในตลาด : AWS 101

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมาจิ๋วได้เข้าร่วม AWS Summit Online Japan มาค่ะ ซึ่งในนั้นก็มีเซสชั่นนึงที่แนะนำเกี่ยวกับ AWS เบื้องต้น จิ๋วเลยจะมาแปลเนื้อหานั้นเป็นภาษาไทย ให้เพื่อนๆชาวไทยได้เรียนรู้ AWS ไปพร้อมๆกันค่ะ

เนื่องจากเนื้อหาในเซสชั่นนั้นค่อนข้างยาว จิ๋วเลยตั้งใจจะเขียนเป็นมินิบล็อกเล็กๆ และวันนี้เราจะคุยกันเรื่อง “กว่าจะมาเป็นคลาวด์ AWS” กันค่ะ

AWS ผู้พัฒนาคลาวด์เจ้าแรกในตลาดคลาวด์

AWS หรือ Amazon Web Services ได้ออกบริการมาให้ใช้ในเดือนมีนาคม ปี 2006 ซึ่งก่อนหน้านั้นนิยามคำว่า “คลาวด์” ยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั่วโลก แม้กลุ่มคนที่อยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งทำงานด้านไอทีอาจจะรู้จักคำนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นคำที่แพร่หลายทั่วโลกขนาดปัจจุบัน

Amazon ได้ให้บริการ Compute resource (ทรัพยากรเพื่อทำงานประมวลผล) ผ่านทาง internet ในรูปแบบ tool service (บริการเครื่องมือต่าง ๆ) เช่น หากต้องการใช้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผล ก็สามารถซื้อบริการ EC2 ที่เป็นบริการเครื่องมือประมวลผลบนคลาวด์ได้

ก่อนหน้านี้การใช้งาน resource จะให้บริการแบบที่ต้องกำหนดความต้องการใช้งานล่วงหน้า AWS จึงมีความต้องการเปลี่ยนให้เป็นในรูปแบบของบริการตามความต้องการ (On-demand Service) ไม่ต้องมีค่าเริ่มต้นใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนแผนราคาที่ต้องการใช้งานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องทำสัญญาระยะยาว ทุกอย่างจ่ายเท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น

พวกเราในฐานะผู้ใช้งานก็จะได้ประโยชน์คือ
1. ไม่จำเป็นต้องประเมินการใช้งานล่วงหน้า → ลดความเสี่ยงจากการประเมินความต้องการทรัพยากรไอทีผิดพลาดได้
2. ไม่เสียค่าเริ่มต้นลงทุน → เริ่มต้นใช้งานด้วยต้นทุนต่ำ ทดลองได้มากขึ้น
3. ไม่ต้องทำสัญญาระยะยาว → หยุดใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่าย

บริการคลาวด์ No penalty หยุดใช้ไม่ขาดทุน หยุดได้สบายใจ

แน่นอนว่าพอพูดถึงเรื่อง Cloud คนก็จะนึกถึงเรื่องของการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นจุดที่คลาวด์ค่อนข้างโดดเด่น แต่นอกจากเรื่องนี้ จุดที่ AWS ให้ความสำคัญอีกอย่างคือ การที่วิศวกร IT สามารถสร้าง หรือปรับเปลี่ยนแผนโครงสร้างได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือกระทั่งหยุดการใช้งานเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานให้เรียบร้อยก่อน ค่อยเริ่มงานอีกรอบก็สามารถทำได้ คอนเซปต์ที่ว่านี้ก็คือ “No penalty”

“No penalty” คือ จะไม่มีความเสียหายหรือการขาดทุนใดเกิดกับคุณ ถ้าหากคุณไม่ใช้งาน คุณจึงพัฒนาระบบให้เหมาะสมตามความเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุน

AWS สร้าง Private network ให้ทุกบัญชีที่คุณสร้าง

ในช่วงแรกที่ AWS ได้มีการให้บริการคลาวด์ ถ้าสร้าง Server ที่ AWS ตัว Server นั้นก็จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ

ซึ่ง infrastructure (ทรัพยากรหรือโครงสร้างพื้นฐานทางไอที) นี้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต คือเข้าใช้งานผ่าน website จึงเรียกอีกอย่างว่า Web service นั่นเอง

แต่ในปัจจุบันรูปแบบ network หรือโครงข่ายการเชื่อมต่อข้อมูลของ AWS ได้เปลี่ยนไปแล้ว ในตอนนี้ถ้าทุกคนสร้างบัญชีกับ AWS จะได้รับ private network ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มจำนวนเน็ตเวิร์คสำหรับแต่ละโปรเจคต์ในภายหลังได้ด้วย

infrastructure resource ที่ใช้งานในเน็ตเวิร์คนั้น เช่น Storage, Server, Database ก็จะส่งข้อมูลสื่อสารกับอินเตอร์เน็ต และเชื่อมต่อไปยังสำนักงาน หรือ VPN ที่ตั้งค่าไว้เพื่อการเชื่อมต่อนี้โดยเฉพาะเท่านั้นได้

เราสามารถตั้งค่าความปลอดภัย และบริหารจัดการ resource เหล่านี้ได้ผ่าน Console ด้วยตัวเอง เช่น เพิ่มปริมาณหน่วยประมวลผลของ server

AWS มีพื้นที่ให้บริการคลาวด์มากที่สุด

จนถึงปัจจุบันนี้ AWS มีลูกค้าที่ใช้งานทั่วโลกมากกว่าล้านบริษัท ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดย AWS มี region (พื้นที่ให้บริการศูนย์ข้อมูลของ AWS) มากที่สุดในตลาดผู้ให้บริการ public cloud และมีแผนพิจารณาการเปิด region อยู่ตลอด เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับการจัดอันดับจาก Gartner Research ให้เป็น Leaders Quadrant ของ new 2021 Magic Quadrant ในกลุ่มของ Cloud Infrastructure & Platform Services (CIPS)

 Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services

Gartner Names AWS a 2021 Magic Quadrant Leader

บล็อกแรกของสรุปเนื้อหาเซสชั่น AWS ในงาน AWS Summit Online Japan ก็จะประมาณนี้ ในพาร์ทถัดๆไป เราก็จะพูดคุยมากขึ้นเรื่องของคุณสมบัติของคลาวด์ AWS อย่าลืมติดตามบล็อกถัดไปด้วยนะคะ


แหล่งอ้างอิง
AWS 101 ฉบับเรียนด้วยตัวเอง : AWS คืออะไร
AWS คืออะไร
はじめての AWS(AWS-EVA)