การเปิดใช้งาน WordPress ด้วย Amazon Lightsail

การเปิดใช้งาน WordPress ด้วย Amazon Lightsail

Amazon Lightsail สร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในไม่กี่คลิก กำหนดค่าระบบเครือข่าย การเข้าถึง และสภาพแวดล้อมการรักษาความปลอดภัยโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ Amazon Lightsail ยังมี Free Tier ให้เลือกใช้ฟรี 3 เดือนแรกที่เริ่มต้นใช้งาน ในบทความนี้จะมาแนะนำการเปิดใช้งาน WordPress และวิธีการตั้งค่าต่างๆ จนสามารถใช้งาน WordPress ได้
Clock Icon2023.01.25

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีครับ POP จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ

ครั้งนี้ผมจะมาแนะนำการเปิดใช้งาน WordPress ด้วย Amazon Lightsail

Amazon Lightsail คืออะไร

Amazon Lightsail มอบอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน (VPS) ที่ใช้งานง่าย คอนเทนเนอร์ ที่จัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล และอื่นๆ อีกมากมายในราคาต่อเดือนที่คุ้มค่า

คุณสมบัติของ Amazon Lightsail

Amazon Lightsail มีทรัพยากรระบบคลาวด์ที่ใช้งานง่ายเพื่อให้เว็บแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของคุณทำงานได้ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง Lightsail นำเสนอบริการที่เรียบง่ายขึ้น เช่น อินสแตนซ์ คอนเทนเนอร์ ฐานข้อมูล พื้นที่จัดเก็บ และอื่นๆ Lightsail ช่วยให้คุณสามารถเริ่มสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดายโดยใช้พิมพ์เขียวที่กำหนดค่าไว้ล่วงหน้า เช่น WordPress, Prestashop หรือ LAMP คุณสามารถใช้คุณสมบัติของ Lightsail เพื่อโฮสต์เนื้อหาแบบคงที่ เชื่อมโยงเนื้อหาของคุณกับผู้ชมทั่วโลก หรือทำให้เซิร์ฟเวอร์ Windows Business ของคุณเริ่มทำงานได้ Lightsail Console จะแนะนำคุณตลอดขั้นตอนการกำหนดค่า และมีการกำหนดค่าส่วนประกอบไว้แล้วในหลายกรณี

การเปิดใช้งาน WordPress ด้วย Amazon Lightsail

ก่อนอื่นให้ Login เข้ามาที่ AWS Management Console แล้วเลือกรีเจี้ยน Singapore

ค้นหา LightSail แล้วเลือก LightSail

สำหรับการเข้าใช้งานครั้งแรก จะมีหน้าจอ "Welcome to Lightsail!" ที่เป็นป็อปอัพแสดงขึ้นมา ให้คลิก Let's get started แล้วจะเข้ามาที่หน้า "+ Create an instance" แบบนี้ เนื่องจากเป็นการเข้าใช้งานครั้งแรก และยังไม่มี Instance ถ้าต้องการไปหน้า Home ให้คลิก Home ที่แท็บด้านบนซ้าย

เมื่อมาหน้า Home แล้วเราจะมาเริ่มตั้งค่าเปิดใช้งาน WordPress โดยคลิกปุ่ม Create instance

หัวข้อ Instance location: เราสามารถเลือก Region และ Availability Zones ที่ต้องการใช้งานได้ โดยหลักการเลือก Region ให้เราเลือก Region ที่อยู๋ใกล้ประเทศที่เราอาศัยอยู่มากที่ และ Availability Zone ส่วนใหญ่จะใช้เป็นค่าเริ่มต้น

» ให้คลิก Change AWS Region and Availability Zone
» Select a Region: Singapore
» สำหรับ Availability Zones จะใช้เป็นค่าเริ่มต้น

ถัดมาหัวข้อ Pick your instance image: เราสามารถเลือกใช้ Platform แบบ Linux/Unix และ Windows Server ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกแอปพลิเคชันที่พร้อมใช้งานบน OS หรือแค่ OS อย่างเดียวก็ได้

» Select a platform: Linux/Unix
» Select a blueprint: Apps + OS และ WordPress

หัวข้อ Choose your instance plan: เราสามารถเลือกสเปค "Price per month, Memory, Processing, Storage, Transfer" ที่ต้องการใช้งานได้ และสำหรับราคา "$3.5 USD, $5 USD, $10 USD" จะใช้งานได้ฟรีใน 3 เดือนแรก

» Sort by: Price per month
» เลือก $3.5 USD/512 MB/1 vCPU/20 GB SSD/1 TB(Transfer) (เลือกราคาและสเปคที่ต้องการใช้งาน)

หัวข้อ Identify your instance: เราสามารถกำหนดชื่อและเลือกจำนวน Instance ที่ต้องการสร้างได้

» Identify your instance: tinnakorn-wordpress x 1 (ป้อนชื่อและจำนวน Instance ที่ต้องการ)
» คลิกปุ่ม Create instance แล้วรอ Pending สักครู่

เมื่อเปิดใช้งานเสร็จแล้วจะแสดง Instance ที่มีแอปพลิเคชัน WordPress แบบนี้

การกำหนด Static IP

เราจะกำหนด IP แบบคงที่ให้กับ Instance ที่สร้างเมื่อสักครู่นี้เพื่อไม่ให้ IP มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการ Stop/Start Instance

เลือกแท็บ Networking แล้วคลิก Create static IP ที่ Static IP

การตั้งค่า Create a static IP address นี้คือ
» Static IP location: ตรวจสอบรีเจี้ยนที่เราต้องการใช้งาน ถ้าไม่ใช่รีเจี้ยนที่เราต้องการ ให้เปลี่ยนรีเจี้ยนโดยคลิก Change region โดยครั้งนี้เป็น Singapore ให้อยู่แล้วก็จะไม่ทำการตั้งค่าใดๆ
» Attach to an instance: tinnakorn-wordpress (เลือก Instance ที่สร้างเมื่อสักครู่นี้)
» Identify your static IP: tinnakorn-wordpress-ip (ป้อนชื่อ Static IP ที่ต้องการ)
» คลิก Create

เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะแสดง Public static IP address(Static IP) แบบนี้

ทีนี้เราลองไปตรวจสอบ Static IP ใน Instance กันบ้าง
ให้คลิกแท็บ Home ด้านบนซ้าย แล้วเลือกแท็บ Instances แล้วคลิกเข้ามาที่ Instances ของเรา ก็จะเห็น Static IP แสดงอยู่ด้านบนขวา

การเข้าถึง Console ใน Instance

หลังจากตรวจสอบ Static IP แล้วจะยังคงอยู่ในหน้า Instance

ให้เลือกแท็บ Connect แล้วมาที่หัวข้อ Connect to your instance แล้วคลิก Connect using SSH

เมื่อเปิด Terminal ได้แล้วจะแสดงหน้าจอแบบนี้ (สำหรับการเปิดใช้งาน Instance ครั้งแรก ต้องรอจนกว่าระบบเริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ จึงจะสามารถเข้ามา Terminal นี้ได้โดยไม่เกิด Error)


เราสามารถตรวจสอบรหัสผ่าน WordPress ได้โดยรันคำสั่งนี้
แล้วคัดลอกรหัสผ่านเตรียมไว้เพื่อใช้ Login เข้าไปยังหน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress

cat /home/bitnami/bitnami_application_password


เมื่อเปิดใช้งาน WordPress แล้ว ตำแหน่งของ WordPress จะเป็นดังนี้

ls -al /opt/bitnami/wordpress

การเข้าถึง WordPress จากเบราว์เซอร์

การเข้าถึงหน้าจอผู้ใช้งาน WordPress

เราจะทำการเข้าถึง IP Address(Static IP) ที่สร้างขึ้นโดยเปิด URL ของ Static IP ตามด้านล่างนี้ในเบราว์เซอร์ที่เราใช้งาน

http://[Static IP]/

เมื่อเปิด Static IP สำเร็จ ก็จะแสดงหน้าจอแบบนี้ หน้าจอนี้คือหน้าจอผู้ใช้งาน WordPress

การเข้าถึงหน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress

ต่อไปเราจะเข้าไปที่หน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress โดยเปิด URL ตามด้านล่างนี้

http://[Static IP]/wp-admin/

แล้วใส่ Username และ Password ดังนี้
» Username: user
» Password: ป้อนรหัสผ่านที่คัดลอกใน Terminal จากขั้นตอนที่แล้ว
» คลิก Log in

เมื่อ Login สำเร็จ ก็จะแสดงหน้าจอแบบนี้ หน้าจอนี้คือหน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress

การทดสอบการเขียน Post

เลือก Posts จากเมนูด้านซ้าย แล้วคลิก Hello world!

ป้อนข้อความอะไรก้ได้ เช่น Test Post for WordPress แล้วคลิก Update ด้านบนขวา

แล้วคลิก Preview และเลือก Preview in new tab

แล้วจะเห็นว่าจะมีข้อความ "Test Post for WordPress" ที่เราป้อนเพิ่มขึ้นมาแบบนี้

ต่อไปลองเปิด URL ของ Static IP เพื่อดูผลลัพธ์ในหน้าจอผู้ใช้งานอีกครั้ง

http://[Static IP]/

จะเห็นว่ามีข้อความ "Test Post for WordPress" ตรงที่มาร์คไว้แสดงอยู่ใน Post ของ Hello world! แบบนี้

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเข้าใช้งานทั้ง หน้าจอผู้ใช้งาน WordPress และ หน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress ด้วย URL ของ Static IP ได้อย่างง่ายดาย

สรุป

การสาธิตนี้เป็นการเปิดใช้งาน WordPress และกำหนด Static IP ให้กับ Instance ที่มี WordPress เพียงเท่านี้ก็สามารถเปิด URL ของ Static IP เพื่อเข้าไปยังหน้าจอผู้ใช้งาน WordPress ได้ทันที

สำหรับการเข้าใช้งานหน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress ต้องเชื่อมต่อเข้าไปยัง Console ใน Instance แล้วตรวจสอบรหัสผ่าน แล้วเปิด URL ของ Static IP/wp-admin เพื่อทำการ Login ก็จะสามารถเข้าใช้งานหน้าจอผู้ดูแลระบบ WordPress ได้

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้นะครับ

POP จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ !

Link อ้างอิง

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.