ทดลองสร้าง Windows Server 2022 โดยใช้ VMware Workstation 17 Player
สำหรับในบทความนี้ ก็ตามหัวข้อเลยครับ คือผมจะมาทดลองสร้าง Windows Server 2022 โดยใช้ VMware Workstation 17 Player กัน สำหรับทุกท่านที่อยากจะลองทำตาม สามารถใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ
เตรียมตัวก่อนเริ่ม
สำหรับในการทดลองใช้งานครั้งนี้ ผมจะใช้อุปกรณ์ที่มีรายละเอียดตามด้านล่างนี้
- Edition : Windows 11 Home
- Version : 22H2 (OS Build 22621.1992)
- Experience : Windows Feature Experience Pack 1000.22644.1000.0
- VMware : VMware Workstation 17 Player
สำหรับท่านใดที่ยังไม่มีโปรแกรม VMware Workstation 17 Player สามารถดูวิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งได้ที่บทความด้านล่างนี้ครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอแนบภาพที่อธิบายถึงโครงสร้างคร่าว ๆ ของการทดลองในครั้งนี้ เผื่อจะช่วยให้เข้าใจภาพรวมของการทดลองครั้งนี้ได้มากขึ้นครับ
เริ่มทดลองสร้าง Windows Server 2022
ดาวน์โหลด Windows Server 2022 ISO
ก่อนอื่นเราจะเริ่มจากการดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของ Windows Server 2022 มาก่อนครับ สำหรับคนที่สงสัยว่ามันคืออะไร ลองนึกถึงตอนที่เราลง Windows สมัยก่อน ตัวไฟล์ Windows จะอยู่ในรูปของแผ่น CD/DVD ใช่ไหมครับ จะบอกว่า file ISO เป็นเหมือน CD/DVD เวอร์ชันดิจิตอลก็ไม่ผิดนัก และในครั้งนี้ Windows Server 2022 ISO ก็จะเปรียบเสมือนแผ่น CD/DVD ที่เราจะใช้สำหรับติดตั้ง Windows Server 2022 ลงบน virtual machine ของเราครับ
สามารถดาวน์โหลด Windows Server 2022 ISO ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
เมื่อเข้าไปที่ลิงก์ดังกล่าวแล้ว จะเจอกับเว็บไซต์หน้าตาแบบรูปด้านล่าง ให้คลิกที่ Download free trial ของ Windows Server 2022
Windows Server 2022 ISO นี้เป็นแบบ free trial ซึ่งสามารถใช้งานได้นาน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่เปิดใช้งาน ถ้าคิดจะใช้งานในระยะยาวขอให้ระวังจุดนี้ไว้ด้วยนะครับ
จากนั้นคลิกที่ Download the ISO
ตรงบริเวณหัวข้อ Get started for free ด้านล่าง
ที่บริเวณด้านขวา กรอกข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก Download now
เลือก ISO downloads 64-bit edition ในภาษาที่ต้องการ (ภาษาที่ Windows Server ใช้สำหรับแสดงผล) ซึ่งในที่นี้ผมจะเลือกภาษาอังกฤษ
สร้าง Windows Server 2022
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เรียบร้อย ให้เปิดโปรแกรม VMware Workstation 17 Player ขึ้นมา แล้วเลือกเมนู Create a New Virtual Machine
เลือก I will install the operating system later
- Guest operating system : Microsoft Windows
- Version : Windows Server 2022 (ในกรณีที่ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ตัวอื่นที่ไม่ใช่ Windows Server 2022 มา ให้เลือก Version ที่สอดคล้องกับไฟล์ ISO นั้น)
- Virtual machine name : ตั้งชื่อ virtual machine ตามต้องการ
- Location : เลือกสถานที่ที่ต้องการเก็บ virtual machine นี้ไว้
ในส่วนของ Specify Disk Capacity ผมจะเลือกใช้เป็นค่า default (60 GB) และเนื่องจากครั้งนี้ผมไม่มีแผนจะย้าย virtual machine ไปที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ผมจึงเลือกที่จะเก็บ virtual disk ไว้รวมกันเป็นไฟล์เดียวครับ
เช็คการตั้งค่าให้เรียบร้อย จากนั้นคลิก Finish
จากนั้นเราจะเห็น virtual machine ของเรา ให้เลือก Edit virtual machine settings
ที่เมนู CD/DVD (SATA) ให้ตั้งค่าตามนี้
- Device status : Connect at power on
- Connection : Use ISO image file
- คลิก Browse แล้วเลือกไฟล์ Windows Server 2022 ISO ที่ดาวน์โหลดมาก่อนหน้านี้
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้คลิก OK
คลิก Play virtual machine
จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มทำการรัน virtual machine ซึ่งเมื่อหน้าจอดังรูปด้านล่างปรากฎขึ้น ให้เรากดปุ่มอะไรก็ได้เพื่อสั่งให้ระบบทำการ boot โดยใช้ CD/DVD (ซึ่งก็คือไฟล์ ISO ที่เราดาวน์โหลดมา)
ในกรณีที่เราไม่กดปุ่มอะไรเลยแล้วปล่อยทิ้งไว้ซักพัก จะเกิด timeout ขึ้นครับ
ในกรณีแบบนี้ให้รอซักครู่จนกว่าหน้าจอ Boot Manager จะปรากฎขึ้นมา จากนั้นให้เลือก EFI VMware Virtual SATA CDROM Drive (1.0)
เมื่อเลือกแล้ว หน้าจอเมื่อครู่จะปรากฎขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้ให้กดปุ่มอะไรก็ได้เพื่อสั่งให้ระบบทำการ boot โดยใช้ CD/DVD (ถ้าปล่อยทิ้งไว้อีกก็จะเกิด timeout เหมือนเมื่อครู่อีก)
ถ้าระบบ boot สำเร็จ จะปรากฎหน้าจอตามด้านล่างนี้ ให้เลือกภาษาที่ต้องการ แล้วคลิก Next
คลิก Install now
เลือก Windows Server 2022 Standard Evaluation (Desktop Experience)
แล้วคลิก Next
กดยอมรับข้อตกลง แล้วคลิก Next
เลือก Custom: Install Microsoft Server Operating System only (advanced)
เลือก Drive 0
แล้วคลิก Next
จากนั้นรอระบบติดตั้ง OS ซักครู่
เมื่อระบบติดตั้ง OS เรียบร้อยแล้ว จะมีหน้าจอให้ตั้งค่ารหัสผ่านขึ้นมา ให้ตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับ admin user ตามต้องการ
เมื่อเจอหน้าจอดังรูปด้านล่าง ระบบจะบอกให้เรากด Ctrl + Alt + Delete เพื่อปลดล็อกหน้าจอ ให้ทำการคลิกที่ Player
บริเวณมุมบนขวา แล้วเลือก Send Ctrl+Alt+Del
จากนั้นใส่รหัสผ่านที่ตั้งค่าไว้เมื่อครู่
หากเข้าสู่ระบบครั้งแรก จะมีหน้าจอตั้งค่า Networks กับโปรแกรม Server Manager เปิดขึ้นมา
- ในส่วนของ Networks สามารถเลือก Yes หรือ No ก็ได้ตามต้องการ เพราะเราสามารถเปลี่ยนการตั้งค่านี้ในภายหลังได้
- โปรแกรม Server Manager ก็เช่นกัน สามารถเปิดใช้ในภายหลังได้ ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในตอนนี้สามารถปิดไปก่อนได้
เพียงเท่านี้เราก็ได้ Windows Server 2022 ที่รันบน virtual machine มาไว้ในครอบครอง (เป็นเวลา 180 วัน) แล้วครับ
สุดท้ายนี้ โดยปกติเวลาเราลง Windows เราก็จะใส่แผ่น CD/DVD เข้าไปแค่ครั้งแรกครั้งเดียวใช่ไหมครับ หลังจากที่ลง Windows เรียบร้อย เราก็ไม่จำเป็นจะต้องใส่แผ่น CD/DVD นั้นเข้าไปเพื่อใช้งาน Windows อีก เพราะฉะนั้น หลังจากที่ลง Windows Server 2022 เรียบร้อยแล้ว ผมแนะนำให้เราทำการตั้งค่านำไฟล์ ISO ออกจาก CD/DVD (SATA) ด้วยครับ
สำหรับการนำไฟล์ ISO ออกจาก CD/DVD (SATA) ให้เปิดโปรแกรม VMware Workstation 17 Player แล้วเลือก virtual machine ของเรา จากนั้นคลิกที่ Edit virtual machine settings
ที่เมนู CD/DVD (SATA) ให้ตั้งค่าตามนี้
- Device status : ให้ทำการ uncheck
Connect at power on
- Connection : Use physical drive
จากนั้นกด OK
ก็เป็นอันเสร็จสิ้นครับ