การสร้าง Microsoft Windows Server 2025 Base ใน Amazon EC2

การสร้าง Microsoft Windows Server 2025 Base ใน Amazon EC2

Windows Server 2025 บน AWS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรันแอปพลิเคชันองค์กรและระบบฐานข้อมูล ด้วยความเสถียร ความปลอดภัย และฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด รองรับการใช้งาน Hybrid Cloud อย่างไร้รอยต่อ พร้อมการจัดการที่ง่ายดายผ่านเครื่องมือของ Microsoft และ AWS เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นและความน่าเชื่อถือในระบบคลาวด์

สวัสดีครับ POP จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ

ครั้งนี้จะมาแนะนำการใช้งาน Microsoft Windows Server 2025 บน Amazon EC2 ซึ่งเป็น AMI ล่าสุดของ Windows ที่เปิดตัวในปี 2024 ที่ผ่านมา

Windows Server 2025 บน AWS เป็นโซลูชันที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับองค์กรที่ต้องการความเสถียร ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงในระบบคลาวด์ ด้วยฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดจาก Microsoft ที่รองรับการทำงานแบบ Hybrid Cloud และการจัดการที่ง่ายดายผ่านเครื่องมือของ AWS ช่วยให้ธุรกิจสามารถรันแอปพลิเคชันและระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและความน่าเชื่อถือให้กับระบบไอทีขององค์กร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
AWS ประกาศเปิดตัวความพร้อมใช้งานของภาพ Microsoft Windows Server 2025 บน Amazon EC2 - AWS

การสร้าง Key Pairs

ก่อนอื่นให้ Login เข้ามาที่หน้า AWS Management Console แล้วค้นหาและเลือก EC2
service_ec2-search-202501-th

เลือก Key Pairs จากเมนูด้านซ้าย
service_ec2-kp_menu-202501-th

คลิก Create key pair
service_ec2-create_kp_button-202501-th

ป้อนชื่อที่ต้องการในช่อง Name เช่น tinnakorn-windows2025 แล้วเลือก .pem และคลิก Create key pair
create_kp_202501-1

หลังจากสร้าง Key Pair เสร็จแล้ว จะมีลักษณะดังนี้
・มีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาว่า "Successfully created key pair"
・ไฟล์ .pem จะถูกดาวน์โหลดมาที่คอมพิวเตอร์และชื่อไฟล์จะถูกกำหนดตามที่เราได้ตั้งชื่อไว้โดยอัตโนมัติ
create_kp_202501-2

การสร้าง Windows Instance

เข้ามาที่ Service EC2 แล้วสร้าง Windows Instance ดังนี้

เลือก Instance จากเมนูด้านซ้าย
service_ec2-instance-202501-th

คลิก Launch instances
service_ec2-create_instance-202501-th

มาที่หัวข้อ Name and tags
แล้วป้อนชื่อที่ต้องการในช่อง Name เช่น tinnakorn-windows2025
tinnakorn-windows2025-1

หัวข้อถัดมา Application and OS Images (Amazon Machine Image) นี้คือ Instance จะมีเซิร์ฟเวอร์ให้เลือกใช้มากมาย เช่น macOS, Red Hat, SUSE Linux, Ubuntu, Microsoft Windows, Debian เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะใช้ Microsoft Windows Server 2025 Base ในการติดตั้ง

คลิก Windows แล้วเลือก Amazon Machine Image (AMI) ที่ต้องการ โดยตัวอย่างนี้จะใช้เป็นค่าเริ่มต้นคือ Microsoft Windows Server 2025 Base
tinnakorn-windows2025-2

ถัดมาหัวข้อ Instance type นี้คือ เราสามารถเลือก Type CPU Memory ที่จะนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ ไม่ว่าเว็บไซต์จะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถเลือกขนาดความจุของ CPU Memory ได้ตามความเหมาะสม

ค้นหาและเลือก t3a.medium
ก็จะได้สเปค Family: t3a | 2 vCPU | 4 GiB Memory ตามนี้ (สเปคนี้เป็นแค่ตัวอย่างแนะนำการใช้งาน)
tinnakorn-windows2025-3

ถัดมาหัวข้อ Key pair (login)
เลือก Key pair name - required ที่สร้างไว้เมื่อสักครู่นี้
tinnakorn-windows2025-4

ถัดมาหัวข้อ Network settings
คลิก Edit
tinnakorn-windows2025-5

แล้วมาที่หัวข้อ Firewall (security groups)
จากนั้นเปลี่ยนชื่อ Security group name และ Description เป็นชื่ออะไรก็ได้ เช่น tinnakorn-windows2025

ถัดมาหัวข้อ Inbound security groups rules นี้คือ การตั้งค่า My IP เพื่อจำกัดการเชื่อมต่อ rdp จากทุกตำแหน่ง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้สามารถเชื่อมต่อ rdp จาก My IP (ที่อยู่ IP ปัจจุบันของคุณ) ได้เท่านั้น
・เปลี่ยน Source type ของ rdp ให้เป็น Source type: My IP
tinnakorn-windows2025-6

ถัดมาหัวข้อ Configure storage นี้คือ เราสามารถเพิ่ม Storage ในส่วนของ Size (GiB) ได้ โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น 30 GB โดยตัวอย่างนี้จะใช้เป็นค่าเริ่มต้น ก็จะไม่ทำการตั้งค่าใดๆ
tinnakorn-windows2025-7

มาที่หัวข้อ Summary ด้านขวา แล้วตรวจสอบรายละเอียด แล้วคลิก Launch instance
tinnakorn-windows2025-8

คลิก View all instances ด้านล่าง
tinnakorn-windows2025-9

หลังจากสร้าง Instance เสร็จแล้ว ให้สังเกตคำว่า Status Checks จะเห็นว่ามีสถานะเป็น Initializing คือ Instance กำลังทำการสตาร์ทระบบขึ้นมานั่นเอง
tinnakorn-windows2025-10

เมื่อ Instance เริ่มต้นระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีสถานะเป็น ✅ 3/3 checks passed
tinnakorn-windows2025-11

การเชื่อมต่อกับ Instance เพื่อเข้าใช้งาน Windows ผ่านไฟล์ RDP

คลิก Instance ID ของเรา
connect_to_instance_win2025-1

คลิก Connect
connect_to_instance_win2025-2

ในส่วนของ Connect to instance จะเป็นการ Download remote desktop file และ Get password
・เลือกหัวข้อ RDP client
・คลิก Download remote desktop file แล้วตัวไฟล์จะถูกดาวน์โหลดมาที่คอมพิวเตอร์และเป็นชื่อตาม Instance ของเราโดยอัตโนมัติ
・คลิก Get password
connect_to_instance_win2025-3

ถ้าคลิก Get password แล้วแสดงหน้าจอแบบนี้ ต้องรอประมาณ 4 นาทีจนกว่าการเริ่มต้นระบบของ Windows จะเสร็จสมบูรณ์ จึงจะสามารถทำการ auto-generated password ได้
connect_to_instance_win2025-4

ถ้าคลิก Get password หลังจากเริ่มต้นระบบเสร็จแล้ว จะแสดงหน้าจอแบบนี้
แล้วคลิก Browse (เป็นการเพิ่มไฟล์ .pem เข้ามายัง Instance เพื่อ Generate Password ขึ้นมา)
connect_to_instance_win2025-5

มาที่ไฟล์ .pem ที่สร้างใน Key pair ตอนแรก (ครั้งนี้คือชื่อ tinnakorn-windows2025.pem) จากนั้นคลิก Open
connect_to_instance_win2025-6

คลิก Decrypt Password
connect_to_instance_win2025-7

แล้วดูที่ Password ด้านล่าง จะเห็นว่า Password ถูก Generate ออกมา ให้คัดลอกเตรียมไว้เพื่อ Login เข้าไปยัง Windows ในขั้นตอนถัดไป
connect_to_instance_win2025-8

กลับมาที่ไฟล์ remote desktop ที่ดาวน์โหลดมาจาก Instance ของเรา (ครั้งนี้คือชื่อ tinnakorn-windows2025.rdp) แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ได้เลย
connect_to_instance_win2025-9

คลิก Connect
connect_to_instance_win2025-10

แล้วใส่ Password ที่คัดลอกมาเมื่อสักครู่นี้เพื่อ Login เข้าไปยัง Windows Server
connect_to_instance_win2025-11

คลิก Yes
connect_to_instance_win2025-12

เมื่อ Login สำเร็จจะแสดงหน้าจอเป็น Windows Server ตามรูปภาพด้านล่าง
connect_to_instance_win2025-13

การ Terminate Instances และ Delete Security Groups กับ Key Pairs

ดูวิธีการลบ Resource ต่างๆ ที่สร้างขึ้นใน EC2 ตามลิงก์ด้านล่างนี้
https://dev.classmethod.jp/articles/terminate-instances-delete-key-pairs-and-delete-security-groups-in-ec2/

สรุป

เราสามารถเลือกใช้งาน EC2 Instance ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Amazon Linux มาเพื่อแสดงเว็บไซต์ หรือจะเป็นการสร้าง Windows Server ที่เป็น Visual Windows ก็สามารถทำได้เช่นกัน และการทำงานของ EC2 Instance นั้น ก็มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากๆ

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้นะครับ

POP (Tinnakorn Maneewong) จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ !

บทความที่เกี่ยวข้อง

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.