วิธีการเชื่อมต่อ Aurora Serverless จาก Query Editor

เราสามารถเชื่อมต่อเข้าไปยัง Aurora Serverless จาก Query Editor และทำการรันคำสั่งต่างๆ ได้ เช่น การสร้าง Database, การเพิ่มข้อมูล, การเรียกดูข้อมูลใน table เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะมาแนะนำการเชื่อมต่อและรันคำสั่งใน Aurora Serverless ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงแค่ไม่กี่คลิก

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

ครั้งนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมต่อ Aurora Serverless จาก Query Editor

สิ่งที่ต้องมี

ต้องทำการสร้าง Aurora Serverless ก่อน โดยทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้

เมื่อสร้าง Aurora Serverless เสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้หน้าตาแบบนี้
cre_aurora-9

จากนั้นเริ่มทำการเชื่อมต่อ Aurora Serverless จาก Query Editor ได้เลย

การเชื่อมต่อ Aurora Serverless จาก Query Editor

ตรวจสอบว่า ACU เป็น 0 หรือ 1 ACU หรือมากกว่านั้น

ตอนเริ่มต้นระบบจาก 0 ACU จะใช้เวลาประมาณ 10 วินาที ดังนั้นตอนที่ทำการเชื่อมต่อจะมี Error 1 ครั้ง จากนั้นรอจนครบ 10 วินาทีจนถึงค่า ACU ที่เราได้ตั้งค่าไว้ ก็จะไม่มี Error (ซึ่งในตัวอย่างนี้ได้ตั้งค่าไว้ที่ 1 ACU)
see_monitoring-3

มาที่เมนูด้านซ้าย เลือกQuery Editor
cre_aurora-10

มาที่หัวข้อ Connect to database แล้วตั้งค่าตามนี้
» Database instance or cluster:tinnakorn-aurora ▼(เลือก Database ของเรา)
» Database username:Add new database credentials ▼
» Enter database username:admin(ใส่ Username ของเรา)
» Enter database password:********(ใส่ Password ของเรา)
» คลิกConnect to database
cre_aurora-11

เมื่อขึ้น Error แบบนี้รอประมาณ 10 วินาทีแล้วคลิกConnect to databaseอีกครั้ง
cre_aurora-12

เมื่อมาหน้านี้แล้ว ก็ทำให้สามารถใช้คำสั่งที่เราต้องการได้ เช่น ทำการตรวจสอบ สร้าง และแสดง Database หรือ Table เป็นต้น
cre_aurora-13

การรันคำสั่งใน Aurora Serverless

Copy คำสั่งนี้วางในช่อง Editor เพื่อเรียกดู Databases
จากนั้นคลิกRun

show databases;

aurora_command-1

เลื่อนลงมาด้านล่างที่หัวข้อ Result set 1 รายการ Database ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะแสดงขึ้นมา
aurora_command-2

Copy คำสั่งนี้วางในช่อง Editor เพื่อสร้าง Database
จากนั้นคลิกRun

create database tinnakorn;

aurora_command-3

เลื่อนลงมาด้านล่างที่หัวข้อ Output จะเห็นว่าสามารถเพิ่ม Database ชื่อtinnakornได้แล้ว
aurora_command-4


ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการทำเกี่ยวกับการสร้าง table, เพิ่มข้อมูล, หรือเรียกดูข้อมูลใน Database
หมายเหตุ : ในกรณีที่จะทำการสร้าง table, เพิ่มข้อมูล, หรือเรียกดูข้อมูลใน Database ต้องใช้คำสั่งuseก่อนเสมอ เช่นuse tinnakorn;และตามด้วยคำสั่งที่ต้องการ สามารถดูตามขั้นตอนถัดไปได้เลย

Copy คำสั่งนี้วางในช่อง Editor เพื่อสร้าง table
จากนั้นคลิกRun

use tinnakorn;
create table test (id int, message varchar(255));

aurora_command-5

เลื่อนลงมาด้านล่างที่หัวข้อ Output จะเห็นว่าสามารถสร้าง table ที่ชื่อว่าtestได้แล้ว
aurora_command-6

Copy คำสั่งนี้วางในช่อง Editor เพื่อเพิ่มข้อมูลลง table
จากนั้นคลิกRun

use tinnakorn;
insert into test (id, message) values(1, 'test');

aurora_command-7

เลื่อนลงมาด้านล่างที่หัวข้อ Output จะเห็นว่าสามารถInsertข้อมูลลงในตาราง test ได้แล้ว
aurora_command-8

Copy คำสั่งนี้วางในช่อง Editor เพื่อเรียกดูข้อมูลใน table
จากนั้นคลิกRun

use tinnakorn;
select * from test;

aurora_command-9

เลื่อนลงมาด้านล่างที่หัวข้อ Output จะเห็นว่าสามารถแสดงเนื้อหาของตารางtestได้แล้ว
aurora_command-10

สรุป

การสาธิตนี้ก็คือการเชื่อมต่อ Aurora Serverless จาก Query Editor รวมไปถึงการรันคำสั่งใน Aurora Serverless สำหรับผู้ใช้งานที่พึ่งเริ่มศึกษา Aurora Serverless โดยเราสามารถรันคำสั่งที่ต้องการได้ เช่น การสร้าง Database, การเพิ่มข้อมูล, การเรียกดูข้อมูลใน table เป็นต้น

เมื่อใช้ Query Editor ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ Aurora ได้โดยไม่ต้องใช้ EC2 เพียงแค่ใช้ Management Console ก็เชื่อมต่อกับ Aurora ได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง