วิธีเข้า BIOS ง่ายๆ บน Computer & Notebook ใน Windows 10 และการกดคีย์ลัดทุกรุ่น
BIOS คืออะไร ?
BIOS (Basic Input / Output System) คือ โปรแกรมที่อยู่ใน Mainboard ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งทุกครั้งที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น BIOS จะทำหน้าที่เป็นอันดับแรก ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์ต่างๆ และทำการ Boot หรือเรียกข้อมูลจาก SSD หรือ HDD ที่มีระบบปฏิบัติการที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะให้ใช้งาน Windwos ได้
BIOS สามารถทำอะไรได้บ้าง ?
สามารถเข้าไปปรับแต่งฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ใน BIOS ให้ใช้งานกับโปรแกรมในวินโดว์ที่เราต้องการได้ เช่น ช่างซ่อมคอมส่วนใหญ่จะใช้ในการบูตเพื่อลงวินโดว์, ปรับโหมด Function ของปุ่มลัดต่างๆ, เช็กการทำงาน CPU RAM หรือความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์, เช็กอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และการ Overclock CPU จะเป็นที่นิยมในกลุ่มโปรแกรมมิ่ง ก็คือการทำให้ประสิทธิภาพของ CPU ใช้งานได้เกินประสิทธิภาพตามที่โรงงานได้ตั้งใว้ เพื่อที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเร็วขึ้น แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่เสี่ยงและอันตราย จะทำให้มีผลเสียตามมาคือความร้อนสะสมและเกิดการเสื่อมสภาพ CPU ที่เร็วขึ้น ที่สำคัญต้องมีความรู้เรื่องนี้มากพอสมควร ถึงจะทำการ Overclock CPU ได้ !ถ้าจำเป็นที่จะต้องเข้าไปปรับแต่ง BIOS จริงๆ แนะนำว่าควรศึกษาให้เข้าใจก่อน แล้วค่อยเข้าไปปรับค่าใน BIOS ตามต้องการ เพราะว่า BIOS เป็นส่วนสำคัญในการ Boot Windows อย่างมาก และถ้าเกิดการตั้งค่า BIOS มีความผิดพลาดจะทำให้คอมพิวเตอร์เสียหายได้ครับ
UEFI คืออะไร ?
UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) เป็นซอฟต์แวร์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับเฟิร์มแวร์มาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของ BIOS รุ่นเก่า เช่น มีความปลอดภัยที่ดีขึ้นโดยการช่วยปกป้องกระบวนการก่อนเริ่มต้นระบบหรือพรีบูตจากการโจมตีที่ bootkit, การรองรับไดรฟ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.2 TB, การรองรับโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เฟิร์มแวร์แบบ 64 บิตรุ่นใหม่ ที่ระบบสามารถใช้จัดการหน่วยความจำขนาดสูงกว่า 17.2 พันล้านกิกะไบต์ (GB) ระหว่างเริ่มต้นระบบได้, สามารถใช้ BIOS กับฮาร์ดแวร์ UEFI ได้ และในส่วนของการแบ่งพาร์ทิชันนั้น จะแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ที่เป็น UEFI การแบ่งพาร์ทิชันรูปแบบเก่าจะเป็น MBR (Master Boot Recode) จะรองรับขนาดของพาร์ทิชันไม่เกิน 2TB และการแบ่งพาร์ทิชันรูปแบบใหม่หรือ UEFI จะเป็น GPT (GUID Partition Table) จะรองรับขนาดพาร์ทิชันไม่จำกัด, การรองรับในเรื่องของการควบคุมไบออสได้โดยตรง เช่น ใช้เมาส์คลิกเพื่อทำการตั้งค่าไบออสได้ และมี Graphic interface หรือ หน้าจอไบออสที่สวยและทันสมัย จึงทำให้การตั้งค่าและการควบคุมอุปกรณ์ที่แสดงผลภายในหน้าไบออสนั้นมีความง่ายต่อการใช้งาน
วิธีเข้า BIOS ในระบบ Windows 10 (UEFI)
สำหรับ Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการที่อำนวยความสะดวกด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงวิธีการเข้า BIOS ที่ไม่ยุ่งยาก และผมเชื่อว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่เริ่มมาใช้ UEFI กันแล้ว
วิธีการเข้า BIOS ในระบบ Windows 10 มีดังนี้
1. ให้กดปุ่มไอคอน Windows ตรงแป้นพิมพ์ หรือจะใช้เมาส์คลิกที่ไอคอน Windows ตรงแถบเมนูก็ได้ แล้วจะมี pop-up เด้งขึ้นมา จากนั้นเลือก Settings
2. เลือก Update & Security
3. เลือก Recovery
>> Restart now
4. ในส่วนของ Choose an option เลือกที่ Troubleshoot
5. ในส่วนของ Troubleshoot เลือกที่ Advanced options
6. ในส่วนของ Advanced options เลือกที่ UEFI Firmware Setting
7. ในส่วนของ UEFI Firmware Settings คลิกที่ Restart
8. แล้วก็จะสามารถเข้ามาหน้า BIOS ตามรูปด้านล่างนี้ได้ครับ
วิธีเข้า BIOS ใน Computer & Notebook
วิธีการนี้ เป็นการกดปุ่มคีย์บอร์ดของแต่ละยี่ห้อ เพื่อที่จะเข้าไปหน้า BIOS
สำหรับ Notebook
Notebook | BIOS | Boost |
---|---|---|
Acer | F2 | F12 |
ASUS | F2 | Esc |
Compage | F10 | F9 |
Dell | F2 | F12 |
Gigabyte | F2 | F12 |
HP | F10 | F9 |
Lenovo | F2 | F12 |
MSI | Del | F11 |
Samsung | F2 | Esc |
Sony | F2 | - |
Toshiba | F2 | F12 |
สำหรับ Computer PC
Computer PC | BIOS | Boost |
---|---|---|
Asus | Del | F8 |
ASROCK | Del, F2 | F11 |
Acer | Del | F12 |
Gigabyte | F2 | F12 |
HP | F1 | Esc |
IBM | F1 | F12 |
คอมประกอบ | Del | F12 |
ขอขอบคุณที่มา : JIB