[Update] การใช้ Schedule ตั้งค่า Job ใน CData Sync

[Update] การใช้ Schedule ตั้งค่า Job ใน CData Sync

CData Sync มีฟังก์ชัน Scheduler เพื่อใช้ควบคุมความถี่ในการรัน Job โดยหลังจากเปิดหน้า Job ขึ้นมา ที่แถบ Overview ให้ทำการตั้งค่าให้ Job ทำการรันแบบอัตโนมัติโดยการกำหนด Scheduler จากเมนู Schedule category บริเวณแถบด้านขวา ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบายวิธีการเหล่านี้พร้อมกับปฏิบัติจริง
Clock Icon2023.12.26

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีครับ POP จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ

CData Sync มีฟังก์ชัน Scheduler เพื่อใช้ควบคุมความถี่ในการ Run Job ได้ ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกอีกตัวนึงที่มีประโยชน์มากๆ ดังนั้นครั้งนี้ผมจะมาแนะนำการใช้ Schedule ตั้งค่า Job ใน CData Sync นี้ครับ

สิ่งที่ต้องมี

เกี่ยวกับ CData Sync

※มี CData Sync และ RDS (MySQL) ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันแล้ว
※เชื่อมต่อ CData Sync กับ Google Sheet และสร้าง Job ใน CData Sync แล้ว

ดูตัวอย่างได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

เมื่อเชื่อมต่อ CData Sync กับ Google Sheet และสร้าง Job ใน CData Sync แล้ว ก็จะแสดงหน้าจอแบบนี้ในเว็บเบราว์เซอร์ที่เราใช้งาน

เปลี่ยน Timezone ใน Ubuntu

ดูตัวอย่างได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

หมายเหตุ : ควรอ่านข้อมูลในหัวข้อ สิ่งที่ต้องมี อย่างละเอียด รวมถึงบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างการดำเนินการครับ

การตั้งค่า Job

การตั้งค่า Job นี้จะใช้ฟังก์ชัน Schedule ควบคุมการ Run Job

เข้ามาที่หน้าจอ Job ของเรา เลือก Overview และคลิก Configure ในหัวข้อ Schedule

ตั้งค่า Interval และ Time of Day ตามตั้งการ เช่น
・Interval: Daily
・Time of Day *: 16:50
・คลิก Save

เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วจะเห็นว่า Schedule เปิดใช้งานแล้ว โดยแสดงข้อมูลตามที่เราตั้งค่าไว้ครับ

ต่อไปเราจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการ Run Job
เลือกแท็บ Task แล้วคลิกไอคอน Refresh Table เมื่อถึงเวลาที่ตั้งค่าไว้แล้ว ดูที่ LAST RUN จะเห็นว่ามีสถานะการ Run เป็นเวลาตามที่เราตั้งค่าไว้ครับ

นอกจากนี้เรายังสามารถตรวจสอบสถานะการ Run Job ได้โดยเลือกแท็บ Job History แล้วดูที่ RUN DATE จะเห็นว่าประวัติการ Run Job ก่อนหน้านี้ถูกบันทึกไว้ที่นี่ครับ

สรุป

การกำหนดเวลา Job ใน CData Sync ช่วยให้เราสามารถจัดการและติดตามการโอนย้ายข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องควบคุมให้ Job ทำงานทุกครั้งด้วยตัวเอง หรือต้องเข้าถึงโปรแกรมในทุกๆ ครั้งที่ต้องการ Run Job ครับ

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้นะครับ

POP (Tinnakorn Maneewong) จากบริษัท Classmethod (Thailand) ครับ !

บทความที่เกี่ยวข้อง

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.