OneNote: Mind mapping ไม่มีสะดุด

OneNote: Mind mapping ไม่มีสะดุด

บทความนี้จะแนะนำการใช้งานโปรแกรม OneNote เพื่อการวาด mind map โดยเฉพาะ ตั้งแต่ทำไมถึงควรวาด mind map ไปจนถึงเหตุผลที่ควรเลือกใช้ OneNote ในการวาด รวมทั้งคำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้งานจากประสบการณ์การใช้งานของจิ๋วเองค่ะ
Clock Icon2020.05.26

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีค่ะทุกคน เมื่อครั้งก่อนจิ๋วคุยถึงเรื่องการใช้ OneNote ระดมสมองไปใช่ไหมคะ วันนี้อยากจะมาเจาะลึกเรื่องของการใช้โปรแกรม OneNote เขียน Mind map โดยเฉพาะเลยค่ะ ว่ามีความสามารถใดที่น่าสนใจบ้าง สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้าเกี่ยวกับ OneNote : โปรแกรมสมุดโน้ตดิจิทัลที่ช่วยให้คุณ brainstorm ได้ง่ายขึ้น สามารถเข้าไปอ่านก่อนได้เลยค่ะ

รู้จักMind map

Mind map หรือ แผนผังความคิดเป็นรูปแบบการจดบันทึกที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่ใช้การเชื่อมโยงข้อมูลหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถแตกแขนงความคิดออกไปได้อย่างอิสระ รวมถึงมองเห็นความเชื่อมโยงและภาพรวมของความสัมพันธ์ของข้อมูล

Tony Buzan ผู้คิดค้นการเขียน Mind map เคยกล่าวถึงความสำคัญของการใช้ mind map ไว้ในรายการ TEDxTalks ว่า "มีสิ่งที่สำคัญกว่าการจัดการองค์ความรู้ สิ่งนั้นก็คือการจัดการกับผู้จัดระเบียบองค์ความรู้" ซึ่งหมายถึง สมองของเรานั้นมีความสามารถมากมายอยู่แล้ว หากเรามีเครื่องมือที่จะช่วยให้สมองแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เราก็จะสามารถจัดการข้อมูลหรือปัญหาได้ดีขึ้น และ mind map ก็คือ เครื่องมือที่ว่านั้นค่ะ

There is something far more important to manage than to manage knowledge.You have  to manage the manager of knowledge.

This is EXCELLENT & worth reading in its entirety. It explains with the help of illustrations what global warming is, the consequences for our planet & its ecosystems & the potential threat to the human population. Most important, it says how each & everyone of us can help slow it down.

solving global warming mind map by Bala's blog

 เรามักจะเห็นการใช้ mind map ในขั้นตอนการระดมสมองเพื่อให้ได้ไอเดียใหม่ ๆ แต่จริง ๆแล้ว mind map สามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านั้นอีกค่ะ เช่น

1.ใช้จัดระบบข้อมูลให้เห็นภาพรวม และความสำคัญ เพื่อการนำเสนอ หรือสรุปองค์ความรู้

2.ใช้วิเคราะห์ปัญหา และ ทางแก้ไข เพื่อประกอบการตัดสินใจ

3.ใช้จัดลำดับ เพื่อการวาง story board หรือวางแผนการทำงาน

? ของ Mind map

หลักสำคัญในการเขียน Mind map คือ

1.เขียนในลักษณะของการแตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ ไม่ยึดติดกับเส้นบรรทัด หรือกฎเกณฑ์ทิศทางการวางใดๆ

2.กิ่งที่แตกออกมาจากก้านเดียวกัน ใช้สีเดียวกัน เพื่อแสดงความเชื่อมโยงของกลุ่มข้อมูล

3.เน้นใช้รูปภาพแสดงความหมาย เพราะสมองชอบจดจำข้อมูลด้วยภาพ

4.ใช้ข้อความสั้นๆ เป็น Keyword ที่ทำให้เรานึกถึงเนื้อหาโดยภาพรวมของข้อมูลออก

Mind mapping ไม่มีสะดุดด้วย OneNote

สำหรับใครที่กำลังมองหาซอฟท์แวร์เพื่อวาด Mind map อยู่ จิ๋วขอเชียร์โปรแกรม OneNote มากๆเลยค่ะ เพราะโปรแกรมนี้มีฟังก์ชันที่ช่วยให้เราสามารถเขียนไอเดียได้อย่างอิสระ ดึงศักยภาพของสมองออกมาได้อย่างเต็มที่ นอกเหนือจากฟังก์ชันที่จิ๋วเคยได้แนะนำไปในบล็อกที่แล้ว ฟังก์ชันหลักๆที่จิ๋วอยากจะแนะนำให้รู้จักในวันนี้ก็คือ

1.Infinite paper หน้ากระดาษขยายได้ไม่สิ้นสุด ทำให้เราไม่ต้องกังวลว่าจะมีพื้นที่ใส่ข้อมูลไม่พอ

2.Lasso tool เครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราสามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลที่เราได้วงกลมเลือกเอาไว้ไปไว้ที่ไหนบนหน้ากระดาษก็ได้ค่ะ หมดปัญหาการถูกปิดกั้นความคิดจากกิ่งก้านสาขาต่างๆที่เราได้ขีดเขียนไปก่อนหน้านี้ ถึงจะขีดเขียนเอาไว้ผิดพลาดยังไง หรือเกิดเปลี่ยนใจทีหลังก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ทันทีค่ะ 

3.color pen เราสามารถตั้งค่าปากกาทั้งขนาดและสีที่ชอบเก็บเอาไว้ได้ค่ะ เป็นฟังก์ชันเล็กๆ ที่ช่วยให้สามารถเขียน mind map  ได้ลื่นไหลมากขึ้นค่ะ

แน่นอนว่าการจะใช้ฟังก์ชันด้านบนได้อย่างราบลื่นก็ควรจะมี gadget ที่เป็นปากกาสำหรับเขียนนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเม้าส์ปากกา apple pencil หรือปากกาอื่นๆที่ใช้ร่วมกัน  อย่างไรก็ดี จิ๋วคิดว่าการวาด mind map โดยใช้ OneNote เหมาะกับการระดมสมองเพื่อเน้นการหาไอเดีย หรือใช้ประกอบการตัดสินใจมากกว่าการใช้นำเสนอที่เน้นความละเอียดสวยงาม เพราะปัญหาอย่างหนึ่งของOneNote คือความแม่นยำในการเจาะจงพื้นที่ใช้งาน เช่นฟังก์ชันยางลบ หากเป็นพื้นที่ที่ใกล้กันมาก ๆก็จะโดนลบไปด้วย จึงไม่เหมาะกับงานวาดเขียนที่ละเอียดมาก ๆ

สรุป

สำหรับใครที่ชอบการขีดเขียน mind map ด้วยปากกา จิ๋วก็ขอแนะนำให้ลองโปรแกรม OneNote ดูนะคะ เพราะว่ามีฟังก์ชันที่สนับสนุนให้เราสามารถใส่ความคิดลงไปได้อย่างอิสระและสะดวกสบาย ทันใจเรามากๆค่ะ ใครที่เคยระดมสมองด้วยวิธีต่างๆและรู้สึกว่าไม่สามารถดึงไอเดียออกมาได้อย่างเต็มที่ ถ้าลองเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือสักนิด เราอาจได้ผลลัพธ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมมากๆเลยก็ได้นะคะ

Thank you to...

Share this article

facebook logohatena logotwitter logo

© Classmethod, Inc. All rights reserved.