รีวิวการเข้าร่วม AWSome Day Online Conference : Module 5

ในบทความของงาน AWSome Day Online Conference หลักสูตรที่ 5 จะเกี่ยวกับ AWS Pricing(ราคา) หรือ การชำระค่าบริการต่างๆที่ AWS คิดและออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งาน ได้รับประโยชน์สูงสุด และ มีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลต่อใช้งานจริง โดยหลักๆ จะเป็นหัวข้อ How do you pay for AWS ? และ AWS Pricing concept (Reserved instances, free tier, cost explorer)
2020.11.11

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

ต่อกันที่บทความใน Module ที่ 5 ของงาน AWSome Day ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ 2563 จากก่อนหน้านี้ ที่ผมได้ทำการสรุปและรีวิวเนื้อหาใน Module ที่ 4 เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของ AWS ซึ่งในบล็อกนี้เราจะมาต่อกันที่ Module 5 เป็นหัวข้อเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน AWS สำหรับผู้เริ่มต้นที่อยากจะศึกษาข้อมูล และ รายละเอียด การชำระค่าบริการ โดยหวังอย่างยิ่งว่าบล็อกนี้จะมีส่วนช่วยประกอบการตัดสินใจในการใช้งาน AWS ในอนาคตนะครับ

ในกำหนดการอบรมนี้จะมีทั้งหมด 5 หลักสูตรด้วยกัน ประกอบด้วย
หลักสูตร 1 : แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ AWS Cloud
หลักสูตร 2 : เริ่มต้นใช้งานบน AWS Cloud
หลักสูตร 3 : การสร้างบน AWS Cloud
หลักสูตร 4 : การรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ของคุณ
หลักสูตร 5 : ราคา AWS Support และการสร้างสถาปัตยกรรมบน AWS

How do you pay for AWS ?

พื้นฐานการคิดราคาของ AWS จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้คือ

  • Pay as you go (จ่ายเท่าที่ใช้)
  • Save when you reserve (ประหยัดขึ้นเมื่อจอง)
  • Use more, Pay less (ยิ่งใช้เยอะยิ่งจ่ายน้อย)

Pay as you go (จ่ายเท่าที่ใช้)

  • concept จ่ายตามที่ใช้ ถ้าเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ปกติเราจ่ายค่าเครื่องมาใช้งาน แต่กรณีที่เราปิดเครื่องไม่มีการใช้งาน สุดท้ายยังไงเราก็ต้องเสียค่าเครื่องเต็มจำนวนอยู่ดี
  • แต่ถ้าเป็นเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ของ AWS ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น (เหมือนจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ไม่มีการคิดราคาล่วงหน้า แต่จะคำนวนการจ่ายตามการใช้งานจริง)
  • บน cloud เวลาที่เราต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ เราสามารถเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่ได้ตามที่เราต้องการ เราใช้งานพื้นที่มากเท่าไหร่ ก็เสียเฉพาะที่เราใช้งานเท่านั้น
  • อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับ service อื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น S3

Save when you reserve: Reserved instances(ประหยัดขึ้นเมื่อจอง)

  • กรณีถ้าเรารู้ล่วงหน้าได้ ว่าช่วงไหนที่เราต้องการใช้งานอินสแตนซ์มาก เราสามารถแจ้งกับทาง AWS เพื่อทำการจองการใช้งานล่วงหน้าได้ โดยที่ AWS จะมีส่วนลดให้ในกรณีที่มีการแจ้งการใช้งานล่วงหน้า

สามารถแบ่งประเภทของ Reserved instances ได้ 3 ประเภท

  • No upfront payments (NURI) กรณีที่เราแจ้งขอใช้งานเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยยังคงเสียค่ารายเดือนตามปกติ (ได้ส่วนลดประมาณ 30%)
  • Parial up-front (PURI) กรณีที่รู้ว่าอนาคตเราต้องใช้งานเซิร์ฟเวอร์นี้เป็นเวลานานอยู่แล้ว และอยากจะขอจ่ายเงินล่วงหน้าบางส่วน ก็จะได้ส่วนลดมากกว่า NURI
  • All up-front (AURI) กรณีที่ต้องการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ในระยะยาว และมีทุนพร้อมที่จะชำระและจ่ายเงินล่วงหน้าทั้งหมดเลย ช่องทางนี้ AWS ก็ให้ส่วนลดสูงสุด มากสุดคือ 75% ตามที่กล่าวมาข้างต้น

Use more, Pay less(ยิ่งใช้เยอะยิ่งจ่ายน้อย)

  • ยิ่งใช้เยอะ ยิ่งจ่ายน้อย ยกตัวอย่างการใช้งาน S3 เมื่อเราใช้งานพื้นที่เพิ่มมากขึ้น จนถึงระดับที่ AWS กำหนดก็จะมีส่วนลดมาให้ตามการใช้งาน

Pricing concept (การคิดราคาตามประเภทการใช้งาน)

  • Compute การตั้งค่าความเร็วต่างๆ ใช้ CPU เท่าไหร่
  • Storage ใช้งานข้อมูลและพื้นที่มากน้อยแค่ไหน
  • Data transfer การส่งข้อมูลต่างๆ แต่ละรอบ โดยทั่วไปจะไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายขาเข้า ยกเว้นอย่างกรณีที่มีการใช้งานที่มี bandwidth ขาออกเยอะ เช่น การสตรีมมิ่ง จะเก็บค่าใช้จ่าย ขาออกเป็น per/GB และขาเข้าต่าง ๆ

สรุปโดยรวมค่าใช้จ่ายหลักทั้งหมดที่ผู้ใช้งานจะเสียให้กับบริการ AWS นั้นก็คือเรื่อง Compute และ Storage โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 80%

Different services area priced differently

  • Amazon EC2 คิดราคาตามขนาดของอินสแตนซ์ เช่น จำนวน CPU หรือ memory ต่างๆ
  • Amazon EBS คำนวณราคาจาก การจัดสรรพื้นที่ และ ประเภทของ EBS
  • Amazon S3 คิดราคาพื้นฐาน ตามข้อมูลที่อัพโหลดเข้ามา และ ปริมาณการเข้าถึงข้อมูล
  • AWS CloudFormation คิดตามจำนวนการรับส่งข้อมูลที่เข้ามา และ รีเควสต่างๆ

Cost estimating tools (เครื่องมือที่ใช้ประเมินค่าใช้จ่ายใน AWS)

AWS free tier

  • สามารถเริ่มต้นทดลองใช้งานได้ในทุกๆ เซอร์วิสซึ่งแต่ละบริการจะมีการทดลองใช้งานที่แตกต่างกัน
  • เราสามารถค้นหา free tier ของ service นั้นๆ ได้ว่า ตอนนี้มีให้ทดลองใช้แบบไหนอยู่
  • สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนค่าใช้จ่าย เมื่อมีการใช้งานเกินจำนวนที่กำหนด
  • เป็นโอกาสที่ให้เราได้ทดลองใช้ว่า เครื่องมือนี้ตอบโจทย์การใช้งานของเราจริงๆ หรือไม่ ?

AWS simple monthly calculator

  • เป็นเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาข้อมูลเครื่องมือที่เราอยากใช้งานได้และกำหนดขนาดกับพื้นที่ต่างๆและตัวระบบจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดว่าต้องใช้จ่ายเท่าไหร่

Analyzing with AWS cost explorer

  • สามารถวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ว่าเครื่องมือ หรือ เซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวในอีกไม่กี่วัน หรือ อนาคตจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และแสดงออกมาเป็นกราฟสามารถนำข้อมูลออกมานำเสนอได้

Trusted Advisor

  • เป็นบริการที่คอยแจ้งเตือนว่า เครื่องมือตัวไหนบ้างที่มีการใช้งานต่ำกว่าที่ควรจะเป็นก็สามารถปรับลดขนาดพื้นที่ข้อมูลได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือในกณีที่มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นจนเกินกว่าพื้นที่ที่มีอยู่ ก็จะมีการแจ้งเตือนให้ปรับเปลี่ยนการใช้งานตามการใช้งานจริงของลูกค้า
  • สามารถตั้งลิมิตการทำงานของระบบได้ ว่าให้ใช้งานได้เท่าไหร่ และ ถ้าเกินกว่านั้นจะมีการแจ้งเตือนให้ทราบ

AWS Well-architected framework ?

  • เป็นเหมือนไกด์ลิสต์ที่ฝึกใช้งานเซอร์วิสต่างๆใน AWS และสามารถตรวจสอบระบบ หรือ เครื่องมือต่างๆ ที่เราต้องการจะใช้งาน สามารถช่วยให้เราเข้าใจการทำงานและจัดการพื้นที่ข้อมูลต่างๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้น

Five pillars of the framework

คือโครงสร้างพื้นฐานของ AWS framework เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีทั้งหมด 5 ส่วน คือ

  • Operation excellence ระบบการทำงาน การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ
  • Security ความปลอดภัย ทำให้ระบบมีมาตรฐาน
  • Reliability การทำทดสอบ และ การแบ็คอัพข้อมูล
  • Performance efficiency ตรวจสอบและติดตามการทำงานของระบบว่า ต้องการทรัพยากรเพิ่มไหม
  • Cost optimization คอยช่วยเหลือ และ คำนวณพื้นที่ต่างๆ ในอนาคต และจะคำนวณค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าที่สุด

สำหรับใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมสัมมนา AWSome Day นี้ ทาง AWS ได้อนุญาตให้สามารถดูสัมมนาย้อนหลังได้ และ เปิดให้ดาวน์โหลดสไลด์ที่ใช้ประกอบการเรียนรู้ในสัมมนาอีกด้วย สามารถศึกษาข้อมูลและเข้าดูได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะครับ

- AWSOME DAY ONLINE CONFERENCE | ON-DEMAND - THAI

- AWSOME DAY ONLINE CONFERENCE | SLIDE PDF