รีวิวการเข้าร่วม AWSome Day Online Conference : Module 1

บทความรายงานการเข้าร่วมอบรมของ AWSome Day Online Conference ในส่วนของหลักสูตรที่ 1 ซึ่งก็คือการแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ AWS Cloud โดยครอบคลุมถึงความสำคัญของระบบคลาวด์และประโยชน์จากการใช้งาน AWS Cloud

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้นุ่นจะมาเล่าประสบการณ์การเข้าร่วมอบรม AWSome Day Online Conference ที่เพิ่งผ่านมาค่ะ โดยงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งจะมีให้เลือกช่วงเวลาในการเข้าร่วมได้ถึง 2 ช่วงคือ 9:00-12:00 และ 13:00-16:00 ตามเวลาประเทศไทย เนื้อหาของทั้ง 2 ช่วงจะเหมือนกันเลย ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เข้าร่วม เพราะสามารถเลือกได้เองเลยค่ะ

ในกำหนดการอบรมนี้จะมีทั้งหมด 5 หลักสูตรด้วยกัน ประกอบด้วย
หลักสูตร 1 : แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ AWS Cloud
หลักสูตร 2 : เริ่มต้นใช้งานบน AWS Cloud
หลักสูตร 3 : การสร้างบน AWS Cloud
หลักสูตร 4 : การรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ของคุณ
หลักสูตร 5 : ราคา AWS Support และการสร้างสถาปัตยกรรมบน AWS

ในบทความนี้นุ่นจะมาเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความประทับใจและประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมในครั้งนี้ โดยจะมาพูดถึงหลักสูตรที่ 1 ก่อนค่ะ ซึ่งหากใครสนใจใน AWSome Day Online Conference ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้จากลิงก์นี้เลยค่ะ AWSome Day Online Conference

หลักสูตร 1 : แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ AWS Cloud

ในส่วนนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ AWS Cloud, ประโยชน์ของ AWS Cloud และ AWS Global Infrastructure

คลาวด์คืออะไร?

คลาวด์คือระบบคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานของผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์หรือบริการแอปพลิเคชันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบอะไรเลย

ประโยชน์จากการใช้งานคลาวด์

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจ่ายค่าบริการตามจำนวนที่ใช้จริงเท่านั้น
2. ประหยัดต่อขนาดเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมาก
3. ความยืดหยุ่น โดยจัดเตรียมจำนวนทรัพยากรตามที่ใช้จริง
4. ความคล่องตัว เนื่องจากลดระยะเวลาในการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์
5. ปรับใช้ได้ทั่วโลกในเวลาอันสั้น
6. มีความปลอดภัยสูง โดยข้อมูลจะถูกป้องกันอย่างแน่นหนา

โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ในระดับโลก

Region เป็นที่ตั้งทางภูมิศาตร์ โดยแต่ละรีเจี้ยนจะอยู่แยกออกจากกันเพื่อให้เกิดความเสถียรมากที่สุด ครอบคลุมทั้งหมด 22 รีเจี้ยนตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์รอบโลก

Availability Zones (AZ) ในแต่ละรีเจี้ยนจะต้องมีอย่างน้อย 2 AZ ซึ่งแต่ละโซนจะถูกออกแบบให้อยู่แยกออกจากกันและเชื่อมต่อผ่านกันแบบ Low Latency (เวลาแฝงต่ำ) ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือการเชื่อมต่อบกพร่อง ผลกระทบเหล่านั้นจะไม่ส่งผลต่ออีก AZ หนึ่งในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่าง รีเจี้ยนนี้ประกอบไปด้วย 3 โซนที่ต่างกัน การวาง AZ หลายตัวในแต่ละรีเจี้ยน ถ้าเกิดมีการทำงาน 2 โซนจาก 3 โซนเป็นอย่างต่ำ ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ในหลายกรณี โดยที่ AZ อื่นที่เหลือยังคงสามารถทำงานได้อยู่

ความประทับใจในการเข้าร่วม

จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ นุ่นก็ได้ความรู้เกี่ยวกับ AWS เพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ นุ่นแนะนำสำหรับใครก็ตามที่สนใจเกี่ยวกับ AWS โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน AWS เนื่องจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการให้บริการ AWS อย่างเป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญ

ถึงแม้ว่าจะมีคำศัพท์ทางเทคนิคอยู่ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากค่ะ เพราะเมื่อจบการอบรมแล้ว สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายและดูวิดีโอย้อนหลังได้ อีกทั้งยังมีแบบทดสอบความรู้หลังการอบรมให้ได้ลองทำด้วยค่ะ

ในบทความนี้ก็จะขอพูดถึง AWS เพียงเท่านี้ก่อนค่ะ รอติดตามบทความต่อไปของนุ่นด้วยนะคะ