รีวิวการเข้าร่วม AWSome Day Online Conference : Module 3

บทความรายงานการเข้าร่วมอบรมของ AWSome Day Online Conference ในส่วนของหลักสูตรที่ 3 ซึ่งหลักสูตรนี้ครอบคลุมบริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการสร้างในระบบคลาวด์ตั้งแต่การมีแอปพลิเคชันที่ปรับขนาดได้ การตรวจสอบทรัพยากรของคุณ การดำเนินการให้การติดตั้งใช้จริงเป็นไปโดยอัตโนมัติ การเชื่อมต่อและการแบ่งปันข้อมูลและการส่งจัดส่งเนื้อหา (CDN) RDS, Aurora, DynamoDB, CloudFormation, Route 53, Lambda, CloudFront

この記事は公開されてから1年以上経過しています。情報が古い可能性がありますので、ご注意ください。

สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้นุ่นจะมาเล่าประสบการณ์การเข้าร่วมอบรม AWSome Day Online Conference ที่เพิ่งผ่านมาค่ะ โดยงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งจะมีให้เลือกช่วงเวลาในการเข้าร่วมได้ถึง 2 ช่วงคือ 9:00-12:00 น. และ 13:00-16:00 น. ตามเวลาประเทศไทย เนื้อหาของทั้ง 2 ช่วงจะเหมือนกันเลย ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เข้าร่วม เพราะสามารถเลือกได้เองเลยค่ะ

ในกำหนดการอบรมนี้จะมีทั้งหมด 5 หลักสูตรด้วยกัน ประกอบด้วย
หลักสูตร 1 : แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับ AWS Cloud
หลักสูตร 2 : เริ่มต้นใช้งานบน AWS Cloud
หลักสูตร 3 : การสร้างบน AWS Cloud
หลักสูตร 4 : การรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ของคุณ
หลักสูตร 5 : ราคา AWS Support และการสร้างสถาปัตยกรรมบน AWS

ในบทความนี้นุ่นจะมาเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ความประทับใจและประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมในครั้งนี้ โดยจะมาพูดถึงหลักสูตรที่ 3 ค่ะ ซึ่งหากใครสนใจใน AWSome Day Online Conference ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้จากลิงก์นี้เลยค่ะ AWSome Day Online Conference

หลักสูตร 3 : การสร้างระบบบน AWS Cloud

ในส่วนนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโมเดลการรักษาความปลอดภัยของ AWS และตัวอย่างการสร้างระบบโดยใช้เซอร์วิสต่างๆ บน AWS Cloud

การออกแบบระบบให้อยู่บนคลาวด์นัันต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของ 3 ข้อนี้เป็นหลัก ประกอบด้วย

1. ความรวดเร็วหรือความคล่องตัว
2. สามารถปรับขนาดได้ตามการเติบโตของข้อมูล
3. ราคาที่สมเหตุสมผล

DIY (Do It Yourself) vs AWS Database

เราสามารถเลือกที่จะปรับใช้เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของเราได้เอง โดย AWS Database Services ช่วยให้เราสามารถติดตั้ง จัดการหรือบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลได้ง่ายกว่าการลงฐานข้อมูลเอง เนื่องจากมีความยุ่งยากที่มากกว่า

Amazon Aurora

เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่สามารถใช้งานร่วมกับ MySQL หรือ PostgreSQL ได้ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับระบบคลาวด์ที่รวมประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของฐานข้อมูลองค์กรแบบดั้งเดิมเข้ากับความเรียบง่ายและการประหยัดค่าใช้จ่ายของฐานข้อมูลแบบโอเพนซอร์ส โดยทำงานได้เร็วกว่า MySQL แบบเดิมถึง 5 เท่าและเร็วกว่า PostgreSQL ถึง 3 เท่า

Amazon DynamoDB

เป็นบริการฐานข้อมูลเชิงไม่สัมพันธ์ที่รวดเร็วและมีความยืดหยุ่น ช่วยให้สามารถลดภาระในการดำเนินการและการปรับฐานข้อมูลแบบกระจายไปยัง AWS โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดเตรียมฮาร์ดแวร์ การตั้งค่าและการกำหนดค่า

AWS CloudFormation

เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้เราสามารถสร้างบริการต่างๆ ผ่านเทมเพลตในการออกแบบโดยที่เราสามารถเขียนเทมเพลตขึ้นมาเองหรือสามารถเลือกใช้จากที่ AWS เตรียมไว้ให้ก็ได้

Amazon Route 53

เป็นเว็บเซอร์วิส Domain Name System (DNS) บนระบบคลาวด์ที่มีความพร้อมใช้งานสูงและสามารถปรับขยายได้สูงสุด ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้แอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ตได้

AWS Lambda

เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเรียกใช้โค้ดได้แบบ Serverless (ไม่พึ่งเซิร์ฟเวอร์) และจ่ายค่าบริการเฉพาะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลเท่านั้น โดยรองรับโค้ด เช่น Java, Go, PowerShell, Node.js, C#, Python และ Ruby

Amazon CloudFront

เป็นผู้ให้บริการ Content Delivery เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาจากที่ต่างๆ ได้เร็วขึ้น เช่น การที่เราสามารถดาวน์โหลดไฟล์จากพื้นที่ที่ใกล้เรามากที่สุด ซึ่งอาจจะเร็วกว่าการดาวน์โหลดจากเซิร์ฟเวอร์ในอเมริกาโดยตรง

ความประทับใจในการเข้าร่วม

จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ นุ่นก็ได้ความรู้เกี่ยวกับ AWS เพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ นุ่นแนะนำสำหรับใครก็ตามที่สนใจเกี่ยวกับ AWS โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน AWS เนื่องจากจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการให้บริการ AWS อย่างเป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญ

ถึงแม้ว่าจะมีคำศัพท์ทางเทคนิคอยู่ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากค่ะ เพราะเมื่อจบการอบรมแล้ว สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายและดูวิดีโอย้อนหลังได้ อีกทั้งยังมีแบบทดสอบความรู้หลังการอบรมให้ได้ลองทำด้วยค่ะ

ในบทความนี้ก็จะขอพูดถึง AWS เพียงเท่านี้ค่ะ นี่ก็เป็นบทความสุดท้ายในการรีวิวการเข้าร่วม AWSome Day Online Conference รอติดตามบทความต่อไปของนุ่นด้วยนะคะ